วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เพลงเด็ก ชุด สังคมศึกษา

เพลงนาฬิกา
นาฬิกามีไว้เพื่อบอกเวลา เด็กเด็กหัดดูนาฬิกา
เพื่อรู้เวลาชั่วโมงนาที เข็มสั้นชี้บอกชั่วโมง
เข็มสั้นก็ตรงบอกนาที เสียงนาฬิกา เต่ง เต่ง เต่ง

เพลงสะบานลอย
สะพานลอยใช้ข้ามแทนทางม้าลาย สะพานลอยเราข้ามสะดวกสบาย
สะพานลอยข้ามไปมาปลอดภัย ถนนรถกวัดไกวโปรดใช้สะพานลอย

เพลงกรุงเทพมหานคร
เมืองหลวงของไทยของไทยในวันนี้ คือพระนครธนบุรีธนบุรีเข้าด้วยกัน
ตั้งชื่อใหม่เรียกตามเรียกตามสมญานั้น เป็นมิ่งขวัญว่ากรุงเทพกรุงเทพมหานคร

เพลงคนเทศบาล
คนของเทศบาลทำงานเก็บกวาดถนน เราทุกคนต้องช่วยเหลือคนของเทศบาล
ทิ้งผงลงถังขยะอย่าให้เกลื่อนกลาดถนน เราทุกคนต้องช่วยเหลือคนของเทศบาล

เพลงทหารของชาติ
ทหารคือรั้วของชาติองอาจและกล้าหาญ สู้ศัตรูที่มารุกรานป้องกันผืนแผ่นดินไทย
ทหารบกเรืออากาศพลีชีพเพื่อชาติไม่หวั่นไหว เพื่อดำรงความเป็นไทยให้คงไว้ชั่วนิรัน

เพลงตำรวจ
ตำรวจอยู่ไหนเราปลอดภัยที่นั่น ตำรวจป้องกันปราบโจรผู้ร้าย
ตำรวจชายแดนป้องกันพื้นแผ่นดินไทย ตำรวจกู้ภัย ตำรวจดับเพลิง และจราจร

เพลงชาวนา
หมู่ชาวนาพากันไถนา หว่านข้าวกล้าเต็มในทุ่งนา
หมู่ชาวนาพากันดำนา ต้นข้าวกล้าขึ้นเขียวขจี
ข้าวออกรวงสุกเป็นสีทอง ทรัพย์เนืองนองเต็มในทุ่งนา
หมู่ชาวนาพากันทำนา ได้ข้าวมาขายเป็นเงินทอง

เพลงลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เอาไว้ใช่ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมาเลี้ยงแมว ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
หมาก็เห่าบ๊อกบ๊อกแมวก็ร้องเหมียวเหมียว ลุงมาไถนาวัวร้องมอมอ

เพลงในทุ่งนา
ดูซิดูเห็นนกเอี้ยงยืนอยู่บนหลังควาย มองมองไปแนะกบไล่โดดกินแมลง
ฝนตกน้ำนองเจิ่งนาฝูงปลาพากันแหวกว่าย ฝูงปลาก็พากันไซร้ปีกขนหางอยู่กลางทุ่งนา

เพลงเที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไปผ่านตามท้องไรท้องนา เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยวเพลินเพลินฉันเดินพบอีกฝูงวัว นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10 ตัว

เพลงป่า
ป่าใหญ่ต้นไม้แน่นหนา ทั้งมีสัตว์ป่าอาศัย
หมีเสือเก้งกวางลิงช้างมากมาย กระต่ายนกนานาพันธ์
ไก่ป่าขันเสียงเจื่อยแจ้ว แว้วแว้วชะนีเรียกหา
ฝูงผึ้งเป็นหมู่ทั้งงูเลื้อยคลาน ตามหาอาหารทั่วไป

เพลงทะเล
โน่นทะเลแสนงาม น้ำเขียวครามสดใส
แลเห็นเรือใบ แล่นในทองทะเล
หาดทรายงามเห็นปู ดูซิดูหมู่ปลา
กุ้งหอยนานา อยู่ในท้องทะเล

เพลงสวัสดี
สวัสดี สวัสดี ยินดีที่พบกัน เธอและฉัน พบกันสวัสดี

เพลงสวัสดีปีใหม่
สวัสดีสวัสดีปีใหม่ ขออวยพรให้ท่านโชคดี
ทุกข์โศกโรคภัยอย่าได้มี สุขสดชื่นตลอดปีใหม่เทอญ

เพลงวันสงกรานต์
13 เมษาวันสงกรานต์ แต่โบราณนับเป็นวันปีใหม่
ทำบุญและสรงน้ำพระ น้อมคาราวะรดน้ำผู้ใหญ่
อวยพรให้แก่กัน ด้วยสายตาเย็นฉ่ำชื่นใจ
เบิกบานมีจิตแจ่มใส สุขใจในวันสงกรานต์

เพลงสุขสันต์วันเกิด
สุขสันต์วันเกิดแด่เธอ (ซ้ำ) ขอให้สุขกายสุขใจ ประสงค์ใดสมดังหมายปอง

เพลงถวายพระพร
5 ธันวา วันมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา องค์ราชัน ขอพระองค์เจริญพระชนม์ยืนนาน เป็นมิ่งขวัญปวงข้า ประชาชาวไทย ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ ขอพระองค์เจริญพระชนม์ยืนนาน ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ....ไชโย

เพลงในหลวง พระราชินี
ในหลวงพระราชินี ทรงสร้างความดีมากมายเหลือคณา
ปกป้องพวกเราชาวประชา เป็นสุขทั่วหน้าไม่เลือกชาติภาษาใด
เมื่อเราทุกข์ท่านทุกข์ด้วย หาทางจะช่วยด้วยความห่วงใย
เหนืออีสานภาคกลางและภาคใต้ ประชาชนไทยเทิดทูนรักและภักดี

เพลงยินดีต้อนรับ
ยินดีต้อนรับทุกท่าน เป็นเกียรติที่ได้มาเยือน
จากไปแล้วอย่าลืมเลือน คงกลับมาเยือนเราใหม่
หากมีสิ่งใดบกพร่อง ขอท่านโปรดได้อภัย
เราขออวยพรให้ เดินทางไปโดยสวัสดี

เพลงความเมตตา
ความเมตตากรุณาเป็นสิ่งดี ฝึกให้มีวินัยจนติดเป็นนิสัย
ใครตกทุกข์ได้ยากลำบากกาย ช่วยเหลือเขาให้พ้นทุกข์ภัยเอย
เพลงนี่ของฉัน
นี่คือหัวของฉันมีผมและใบหน้า มีหูมีตาคิ้วคางปากฟัน
นี่คือแก้มนวลผ่องเฉิดฉันท์ นี่จมูกของฉันคมสันไม่แพ้ใคร
นี่คือคอต่อมาคือไหล่ ถัดลงไปคือแขนทั้งสอง
นี่ลำตัวเอวสะโพกเป็นรอง และนี่ขาทั้งสองของฉันเอย

เพลงบ้านอยู่ไหน
โอ้เธอคนดี โอ้เธอคนดี บอกทีซิบ้านอยู่ไหน
บ้านฉันนั้นอยู่ไม่ไกลมันทำด้วยไม้ไม่ไกลหรอกหนา (ซ้ำ)

เพลงอนุบาลรำลึก
ดอกนกยูงบานเด่นเดือนเมษา สะดุดตาดอกใบแผ่ไพศาล
นั่นและคือสัญลักษณ์อนุบาล ดอกแสดเด่นชูก้านเขียวขจี
เรานี้ดังพี่น้องปองรักใคร่ สามัคคีร่วมใจกันเต็มที่
รักกันไว้ด้วยน้ำใจและไมตรี จากไปแล้วก็ยังมีใจสัมพันธ์
คราใดเห็นดอกนกยูงบาน เหมือนเป็นสัญญาณเรียกขวัญ
อนุบาล อนุบาล จะรักกัน รักกันมั่นรักกันนิรันดร

เพลงลาก่อน
สวัสดีแล้วพบกันใหม่ ได้เวลาต้องขอจากไป
พบกันใหม่ในวันหน้า สวัสดีลาก่อน

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

9 สิ่งที่ควรสอนลูก ในช่วงตรุษจีน


ย่าง เข้าสู่เทศกาลตรุษจีนทีไร ครอบครัวของดิฉันจะคึกคักเป็นพิเศษ เพราะดิฉันมีเชื้อสายจีน จึงคุ้นเคยกับเทศกาลตรุษจีนมาตั้งแต่เล็ก มีภาพความทรงจำเป็นช่วงวันที่มีความสุขเพราะได้หยุดเรียน ได้พบเจอญาติพี่น้องจำนวนมาก ได้กินอาหารอร่อยๆ และที่สำคัญได้อั่งเปาอีกต่างหาก

9 สิ่งสอนลูกในช่วงตรุษจีน

แต่ถ้าถามว่าแล้วรู้ที่มาที่ไป รวมถึงความสำคัญมากน้อยแค่ไหนของเทศกาลนี้ ก็ต้องตอบว่ามาเรียนรู้เมื่อโตแล้ว ฉะนั้น เมื่อถึงวันที่มีลูกก็เลยไม่อยากปล่อยเรื่องการเรียนรู้ผ่านเทศกาลนี้ไป อย่างลอยนวลแน่ๆ เพราะพ่อแม่มีส่วนสำคัญในการปลูกฝังให้ลูกมีความทรงจำแบบไหนในช่วงเทศกาล ตรุษจีน

หนึ่ง ถือโอกาสอธิบายอย่างง่ายๆ ให้ลูกรู้ถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวจีน และเทศกาลตรุษจีนมีไว้เพื่อให้ลูกหลานได้กราบไหว้บรรพบุรุษ ได้เรียนรู้เรื่องความกตัญญูกตเวที และการที่ญาติพี่น้องได้มาพบปะกัน ก็เพื่อให้ลูกหลานได้รู้จักกันด้วย

สอง  ผู้ใหญ่ต้องเตรียมทำอาหารสำหรับไหว้เจ้า ก็ควรให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในเรื่องการจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เขาก็จะเกิดความภาคภูมิใจที่มีส่วนช่วยผู้ใหญ่ ที่สำคัญอย่าลืมคำชมลูกด้วยล่ะกัน

สาม เมื่อเตรียมวัตถุดิบเสร็จก็ชวนลูกเข้าครัว เป็นช่วงเวลาที่ดีให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำอาหารด้วย

สี่ สอนเรื่องการไหว้เจ้า แต่ละบ้านก็มีพิธีกรรมและความเชื่อที่แตกต่างกันไป บางบ้านมีการกราบไหว้ฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่ ไหว้พระพุทธรูปในบ้าน และไหว้บรรพบุรุษ ก็ต้องเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ในการบอกเล่าให้เขารู้ว่าลักษณะการไหว้แต่ละ แห่งแตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงการจุดธูปเทียนที่ต้องมีความระมัดระวัง เพราะอาจเกิดอันตรายได้

ห้า  สอนมารยาทบนโต๊ะอาหาร เพราะต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นจำนวนมาก สอนเรื่องการตักอาหารให้นึกถึงคนอื่นด้วย หรือไม่ควรพูดคุยในขณะรับประทานอาหาร และเมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว อย่าลืมให้เด็กๆ ช่วยกันเก็บถ้วยชามให้เรียบร้อยด้วยนะคะ

หก  รู้จักแบ่งปันผู้อื่น ในวันนั้นจะมีอาหารจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะกินไม่หมด เราควรจะสอนให้เขานึกถึงคนอื่นก่อนที่จะรับประทาน เช่น อาหารเรามีมากมายจะแบ่งไปให้ใครดี เพื่อให้เขานึกถึงผู้อื่นด้วย

เจ็ด ช่วงเวลาสำคัญที่รอคอย  คือการได้รับ  อั่งเปา แม้เด็กจะรู้ว่าต้องได้ทุกปี แต่ก็ต้องสอนเรื่องมารยาทว่าไม่ควรไปขออั่งเปาผู้ใหญ่ ให้ผู้ใหญ่เป็นฝ่ายให้เอง และถ้าผู้ใหญ่ให้อั่งเปาเมื่อไร ก็ต้องยกมือไหว้และกล่าวคำว่าขอบคุณด้วยทุกครั้ง รวมไปถึงการเก็บรักษาเงินด้วยความระมัดระวัง เพราะเด็กวิ่งเล่นมักเผอเรอทำหล่นหาย

แปด สอนให้ลูกวางแผนเรื่องการออมเงิน หรือการใช้เงินอย่างเหมาะสม    คุณอาจจะจูงลูกไปเปิดบัญชีธนาคารเพื่อเก็บออมเงิน แต่เด็กมักจะเรียกร้องขอซื้อของ ก็ควรสอนให้เขารู้จักการวางแผนการใช้เงินด้วย ว่ามีเงินอยู่เท่านี้ ควรเก็บออมเท่าไร และซื้อของเท่าไร

เก้า สอนเรื่องความตาย เด็กจำนวนไม่น้อยที่สงสัยเรื่องความตาย พ่อแม่อาจนำเอาพิธีกรรมในวันนั้นมาสอนเรื่องความตายให้แก่ลูกก็ได้ว่า เมื่อคนเราทำดีตายแล้วก็จะได้ไปสวรรค์ ลูกหลานที่ดีก็จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ และระลึกถึงอยู่เสมอ

ใกล้ตรุษจีนแล้ว พ่อแม่สร้างความทรงจำที่ดีและออกแบบการเรียนรู้อย่างสนุกในช่วงเทศกาลตรุษจีนได้ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ





ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการ โดย สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

“ดนตรี” เสียงสวรรค์ สรรค์สร้างความสุข


นำเยาวชนห่างไกลอบายมุข รู้คุณค่าในตัวเอง

สำนัก งานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายดนตรีสร้างสุขทั่วประเทศ ร่วมกันสานฝันเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีใจรักในงานดนตรีกันอีกครั้งแล้ว โดยได้จัดค่ายดนตรีสร้างสุข และดนตรีสร้างสุขสัญจรขึ้น เพื่อให้ดนตรีได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเสริมสุขภาวะให้เยาวชน งานนี้มีการแถลงข่าวกันอย่างคึกครื้น เรียกได้ว่า สมชื่อ “ดนตรีสร้างสุข” อย่างแท้จริงเลยทีเดียว
เป็นที่ทราบกันว่าทาง สสส. ได้ผสานเครือข่ายดนตรีต่างๆ สร้างสรรค์กิจกรรมดนตรีเพื่อเด็กและเยาวชนมาแล้วกว่า 20 โครงการ โดยได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีเสมอมา ในปีหน้าจึงมีการขยายผลกิจกรรมค่ายดนตรีสร้างสุขและดนตรีสร้างสุขสัญจร สู่งานมหกรรมดนตรีสร้างสุขระดับภูมิภาค ที่จะมีกำหนดการจัดในทุกๆ ภาค รวมทั้งกรุงเทพมหานครด้วย ซึ่งผศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผอ.สำนักรณรงค์และสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม สสส. บอกว่า สสส. มองดนตรีเป็นช่องทางหนึ่งที่จะสื่อสารการสร้างเสริมสุขภาพสู่กลุ่มเยาวชน ซึ่งถ้านำสุนทรียะของดนตรีมาใส่เนื้อหาเชิงสาระก็จะมีคุณค่า และเป็นสื่อที่สำคัญมาก ทาง สสส. ได้สนับสนุนโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้เด็กและเยาวชนได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาเอง เพราะเชื่อว่าสื่อที่พวกเขาผลิตเองจะมีความหมายและมีประสิทธิผลในการเป็น สื่อเสริมสร้างสุขภาพมากกว่า
เช่นเดียวกับนายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกด้านสื่อและกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริม สุขภาพ สสส. ที่มองพลังของดนตรีว่า มีความสำคัญต่อเด็กและเยาวชนเป็นอย่างมากไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ในฐานะผู้ชม หรือผู้แสดงก็ตาม สสส.จึงได้ระดมความคิดจากหลายๆ ฝ่าย มาช่วยกันออกแบบให้มีดนตรีสร้างสุขขึ้นมา เพื่อให้แนวทางนี้มีการพัฒนาที่เข้มแข็งต่อไป
ความน่าทึ่งของดนตรีนอกจากจะสื่อออกมาในรูปของความไพเราะจับใจแล้ว ยังทำให้ผู้เสพมีความสุขได้อย่างน่าอัศจรรย์อีกด้วย อย่างในงานแถลงข่าวในครั้งนี้ก็ได้จัดให้มีการแสดงของเยาวชนจากค่ายดนตรี สร้างสุข ซึ่งผลงานทางดนตรีของแต่ละภูมิภาคก็ให้การรับรู้และสุนทรียะที่แตกต่างกัน ออกไป
  
ประเดิมกันด้วยการแสดงของโครงการดนตรียิ้มละไม กับการแสดงชุดปาร์ตี้ดนตรีเด็กเขาใหญ่ ซึ่งในการแสดงส่วนใหญ่ใช้เพียงเครื่องดนตรีทำมืออย่างง่าย แต่สามารถสร้างความไพเราะ และความรื่นรมย์ได้เป็นอย่างดี ถัดมาเป็นการแสดงดนตรีล้านนาร่วมสมัย งานนี้มีการนำผลงานเพลงใหม่ที่ประพันธ์โดยเยาวชนคีตะนาฏการล้านนา มาบรรเลงให้ฟังกันสดๆ เสียงพิณเปี๊ยะ เสียงซึงที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวตามแบบล้านนา สามารถสะกดผู้ฟังได้อยู่หมัดเลยทีเดียว...
ส่วนการแสดงดนตรีสร้างสุขจากเยาวชนภาคอีสาน ก็ทำเอาหลายๆ คนต้องทึ่งไปตามๆ กัน เพราะนายอำพล รักษ์มณี หรือน้องหลอด เยาวชนดนตรีวัย 17 ปี จากจังหวัดขอนแก่นผู้นี้ แม้สายตาทั้ง 2 ข้างจะมองไม่เห็น แต่ก็สามารถโชว์การแสดงเดี่ยวทั้งเล่นดนตรีและร้องเพลงได้อย่างน่าประทับใจ แถมเป็นผลงานประพันธ์สดๆ ใหม่ๆ ของตัวเองเสียด้วย การแสดงชุดนี้จึงเรียกเสียงปรบมือได้อย่างล้นหลาม
น้องหลอด บอกว่า “ดนตรี ช่วยระบายความรู้สึกได้ดี ไม่ว่าจะสนุกหรือเศร้าก็สามารถสื่อสารผ่านดนตรีได้ทั้งนั้น และยังเป็นที่มาของมิตรภาพที่สำคัญ จึงอยากให้เพื่อนๆ เยาวชนจะเก่งหรือไม่เก่งก็ตาม ขอแค่มีใจรักทางดนตรี ให้มาร่วมกันสร้างสรรค์งานดนตรีดีกว่ามัวเสียเวลากับสิ่งยั่วยุ” ได้ยินอย่างนี้แล้วอย่ารอช้า หันมาเล่นดนตรีกันเสียวันนี้เลยดีกว่า จะได้มีความสุขกันถ้วนหน้า
ปิดท้ายด้วยการแสดงของเยาวชนจากค่ายดนตรีเพาะรัก และค่ายกอดทะเลด้วยเสียงเพลง วงโฮปแฟมมิลี่ วงนี้มาโชว์เพลงเพราะความหมายดีๆ บวกกับความสดใสสมวัย เรียกได้ว่า ผู้ชมในงานแถลงข่าวได้รับความสุขจากดนตรีกันทั่วถึงเลยทีเดียว
น้องลูกศร นางสาววริฒรัตน์ ธวรรณวิวัฒนกุล หนึ่งในเยาวชนค่ายกอดทะเลด้วยเสียงเพลง บอกว่า “การทำงานดนตรีนอกจากได้รับประสบการณ์ดีๆ แล้ว ยังรู้สึกภูมิใจและรู้สึกว่าตัวเองมีค่า เพราะการเรียนดนตรีมาถ้าไม่ได้รับใช้สังคมบ้าง ดนตรีก็คงจะไม่เกิดประโยชน์ แต่นี่เราแต่งเอง จึงใช้ได้เต็มที่แล้วนำไปแลกเปลี่ยนกับคนในชุมชนได้ด้วย คิดว่าการทำแบบนี้มันเป็นความสุขที่ยังยืน”  
  
ด้านนายวินัย พันธุรักษ์ นายกสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยฯ มองว่า โจทย์ที่ต้องเร่งดำเนินการ คือจะทำอย่างไรให้เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสสัมผัสและรับรู้เรื่องดนตรีอย่าง ทั่วถึง เพราะในสังคมปัจจุบันพบว่ายังมีเด็กบางส่วนที่ยังไม่ได้รับโอกาสในส่วนนี้ เพราะฐานะไม่เอื้ออำนวย ครอบครัวไม่มีกำลังในการส่งเสริมให้ศึกษาเรียนรู้ อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด หรือไม่ได้รับการสนับสนุนจากสังคมอย่างทั่วถึง ดังนั้นค่ายดนตรีสร้างสุขที่หลายๆ ฝ่ายได้ร่วมมือกันจัดในครั้งนี้ จึงถือเป็นใบเบิกทางสู่โอกาสให้เด็กและเยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่ง ขึ้น เพราะการตระหนักว่า “ดนตรีเป็นเสียงสวรรค์ หากเด็กและเยาวชนได้เสพในส่วนนี้ ย่อมดีกว่าเข้าหายาเสพติดอย่างแน่นอน”
และงานในครั้งนี้ยังได้รับเกียติรจากนายไพจิตร ศุภวารี ประธานสมัชชาศิลปิน คุณทอด์ด ทองดี ลาเวลล์ จากโครงการดนตรีสร้างสุขภาคเหนือ “หิมพานต์คู่โลก” และคุณสุกัญญา มิเกล นักร้องและวิทยากรจากกลุ่มเยาวชนโคตรอินดี้ มาร่วมแถลงข่าวด้วย โดยมหกรรมดนตรีสร้างสุขภูมิภาค มีกำหนดการจัดงานที่จังหวัดเชียงใหม่ ในวันเสาร์ ที่ 5 มกราคม 2551 ที่กรุงเทพมหานคร ในวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 12-13 มกราคม ขอนแก่น จัดวันที่ 19 มกราคม และนครศรีธรรมราช ในวันเสาร์ ที่ 26 มกราคม โดยมีเยาวชนดนตรีในแต่ละภูมิภาค ศิลปินที่มีชื่อเสียง และศิลปินพื้นบ้านมากมายเข้าร่วมงาน
การจัดงานในส่วนภูมิภาคนี้ ถือเป็นการอุ่นเครื่อง ก่อนที่ดนตรีทั้ง 4 ภูมิภาคจะมาร่วมกันอีกครั้งในงาน “มหกรรมดนตรีสร้างสุข” ร่วมกับกรุงเทพมหานคร ในวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2551 ณ สวนลุมพินี ซึ่งทาง สสส. คาดหวังว่างานนี้จะเป็นอีกหนึ่งเทศกาลศิลปะเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ที่จะมีการจัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกๆ ปีต่อไป

 
 
ที่มา
ข้อมูลจาก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ภาพประกอบ : www.thaihealth.or.th
 

Smart Symphonies เสียงดนตรี สื่อดีๆ เพื่อเพิ่มไอคิว


PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย กัมพล   



ทำไมดนตรีจึงมีความสำคัญ?


เพราะดนตรีมีองค์ประกอบที่สมบูรณ์แบบ เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่ใช้ทั้งสมองซีกซ้าย ซึ่งเป็น
พื้นฐานของคณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การอ่าน เขียน และพูด อีกทั้งมีผลต่อการคิดวิเคราะห์ เหตุผลเชิง
ความสำคัญของสิ่งต่างๆ และใช้สมองซีกขวา ช่วยการเรียนรู้ ความรู้สึก และจินตนาการ รวมถึงกระตุ้นความ
คิดสร้างสรรค์ ศิลปะ และดนตรี

ดนตรีที่ดีสำหรับพัฒนาการของลูกน้อย เป็นดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นให้มีจังหวะ ทำนอง และความกลมกลืนของ
เสียง อย่างมีลำดับ มีส่วนช่วยในการจัดลำดับความคิดในสมองส่วน Spatial Temporal ซึ่งมีความสำคัญต่อ
การเรียนรู้ของเด็ก เช่น เพลงคลาสสิค เป็นต้น

เมื่อลูกในครรภ์อายุ 5 เดือน ระบบประสาทการรับฟังจะเริ่มทำงาน การได้ยินเริ่มต้นขึ้น และพัฒนาต่อไป
เรื่อยๆตามลำดับคลื่นเสียงที่มีโครงสร้างที่เหมาะสมจะไปกระตุ้นเครือข่ายใยประสาทที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ให้พัฒนาระบบการทำงานได้เร็วขึ้น ทำให้เมื่อลูกออกมาลืมตาดูโลกมีความสามารถในการจัดลำดับความคิด
ในสมอง รู้สึกผ่อนคลาย และจดจำสิ่งต่างๆ ได้ดี

จากการวิจัยพบว่า ลูกน้อยมีการพัฒนาความสามารถในการรับรู้เกี่ยวกับจังหวะตั้งแต่อยู่ในครรภ์ สามารถเคลื่อน
ไหว และตอบสนองตามเสียงที่มีจังหวะเร็วและช้าได้ สามารถแยกแยะเสียงที่คุ้นเคยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ รวมถึง
จดจำเสียงที่ได้ยินบ่อยๆ เช่น เสียงคุณแม่ คุณพ่อ เสียงเพลงที่เปิดให้ฟัง

ลูกในครรภ์กับพลังแห่งเสียงดนตรี

เมื่อพูดถึง “ดนตรี” กับลูกในครรภ์ คุณแม่อาจคิดภาพความเกี่ยวข้องกันไม่ออก แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้ง
สมมุติฐานว่าเด็กในครรภ์จะสามารถรับรู้จังหวะของดนตรีได้หรือไม่ และได้ทำการศึกษาจนพบความจริง
อันน่ามหัศจรรย์ว่า ลูกน้อยในท้องรับรู้จังหวะของดนตรีได้แล้ว และได้แนะนำคุณแม่ตั้งครรภ์ให้ความสำคัญ
กับการให้ลูกได้ฟังเสียงดนตรี เพราะจะส่งผลดีต่อพัฒนาการของลูกอย่างมาก

คุณแม่สามารถเปิดเพลงให้ลูกในครรภ์ฟังเมื่อลูกอายุ 5 เดือนขึ้นไป ให้ลำโพงอยู่ห่างหน้าท้อง 1 ฟุตขึ้นไป โดย
เลือกเพลงคลาสสิค หรือเพลงนุ่มๆ เปิดในระดับที่ไม่ดังเกินไป ในช่วงที่ลูกตื่น สังเกตจากลูกมีอาการดิ้น ทั้งนี้
ไม่ควรเปิดบ่อยหรือนานเกินไป ก่อนเปิดก็ชวนลูกในท้องไปด้วยว่า “ลูกจ๋า...มาฟังเพลงกันดีกว่า”
เรื่องน่ารู้ของดนตรีกับลูกน้อยในท้อง
  • จาก การศึกษาถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์จากการตรวจอัลตราซาวนด์ของ Heinz Prechtl  ที่ได้ติดตามและวิเคราะห์ภาพอัลตราซาวนด์ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ตลอดระยะเวลา 10 ปี พบว่า
    ทารกมีการพัฒนาความสามารถในการรับรู้เกี่ยวกับจังหวะตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้แล้ว และสามารถ
    เคลื่อนไหวตอบสนองตามเสียงที่มีจังหวะเร็วและช้า
  • จากการวิจัยนี้ยังพบว่า ลูกน้อยยังสามารถตอบสนองต่อเพลงที่ได้ยินจนคุ้นเคย และจะมีปฏิกิริยาต่อ
    เพลงที่โปรดปรานด้วย  รวมทั้งเพลงหรือดนตรีคลาสสิกที่คุณแม่เคยเปิดให้ฟังบ่อยๆ ขณะอยู่ในครรภ์
    หลังจากคลอดแล้ว หากเปิดเพลงนั้นอีก  ลูกน้อยจะแสดงให้รู้ว่าจำได้
  • มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่า เสียงดนตรีจะส่งผลดีต่อสมอง และพัฒนาการทางอารมณ์ของลูกน้อย
    ในครรภ์
  • Dr. Leon Thurman นักวิจัยชาวอเมริกัน ได้ทดลองเปิดเสียงดนตรีให้คุณแม่ตั้งครรภ์ฟังทุกวัน พบว่า
    เด็กที่คลอดออกมามีพัฒนาการด้านร่างกาย และสติปัญญาสูงกว่าเด็กทั่วไป  และเด็กยังเลี้ยงง่าย
    มีอารมณ์ แจ่มใส รวมทั้งมีความผูกพันกับคุณแม่เป็นอย่างมากอีกด้วย
  • Dr. Thomas R.Verny จิตแพทย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และประธานสมาคมการเสริมสร้างพัฒนา
    การเด็กในสหรัฐอเมริกา ได้เคยกล่าวไว้ว่า ในกลุ่มคุณแม่ที่ร้องเพลงกล่อมเด็กให้ลูกน้อยในครรภ์
    ฟังทุกวันอย่างสม่ำเสมอนั้น เมื่อลูกน้อยคลอดออกมาแล้ว และได้ยินเสียงเพลงนี้จากคุณแม่อีก
    ลูกน้อยมีแนวโน้มที่จะนิ่งเงียบ และแสดงอาการสนใจเพลงนั้นเป็นอย่างมาก
              ด้วยเหตุนี้ คุณแม่จึงควรให้ลูกน้อยในครรภ์ได้มีโอกาสฟังดนตรีและจังหวะบ่อยๆ

              กิจกรรมเพื่อสร้างเสริมมหัศจรรย์แห่งพัฒนาการลูกในครรภ์

              ฟังเพลงนะลูก (5 เดือนขึ้นไป)
              เปิดเพลงคลาสสิกทั้งที่เป็นเพลงไทย หรือเพลงสากล ให้ลูกน้อยฟังในช่วงเวลาเย็นๆ เพราะเป็นช่วง
              ที่ลูกตื่นตัว พร้อมฟังเสียงแล้ว
              พัฒนาการที่ได้รับการส่งเสริม
              ช่วงนี้ ประสาทการรับเสียงของลูกพัฒนาแล้ว ทำนองเพลงที่ช้าๆ เบาๆ ผสมผสานกับจังหวะที่เป็น
              ระบบจะทำให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์มีอารมณ์ดี แจ่มใส โดยเปิดวันละ 1 ครั้งๆ ละ 10-15 นาที
              เพลงนี้ร้องให้ลูกนะ (5 เดือนขึ้นไป)
              คุณแม่ร้องเพลงโปรด หรือเพลงกล่อมเด็กให้ลูกน้อยในครรภ์ฟัง
              พัฒนาการที่ได้รับการส่งเสริม
              เด็กในครรภ์จะชอบฟังเสียงแม่ และเขาจำเสียงแม่ได้  การทำกิจกรรมนี้กับลูก จะส่งผลดีต่อ
              พัฒนาการทางด้านอารมณ์และสติปัญญาของลูก
              คำนี้คล้องจองกัน (5 เดือนขึ้นไป)
              อ่านบทกลอนที่มีคำคล้องจองให้ลูกฟัง แบบทำนองเสนาะ
              พัฒนาการที่ได้รับการส่งเสริม
              กิจกรรมนี้จะช่วยให้อารมณ์ของคุณแม่และลูกน้อยประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน จนเกิดความความสงบ
              ขึ้นในจิตใจ ลูกน้อยเองก็จะรู้สึกอบอุ่นมีความสุข ขณะเดียวกันก็จะคุ้นเคย และสามารถจดจำ
              เสียงคุณแม่ได้มากขึ้นด้วย

ข้อควรปฏิบัติ

คุณแม่เปิดเพลงคลาสสิกทั้งที่เป็นเพลงสากลและเพลงไทย ด้วยจังหวะช้าๆ สบายๆ ผสมผสานกับจังหวะ
ที่เป็นระบบ ทำให้คุณแม่ และลูกในครรภ์มีอารมณ์ดี แจ่มใส
ไม่ควรเปิดเพลงเสียงดังเกินไป หรือฟังทั้งวัน เพราะเสียงที่ดังเกินไปหรือได้รับฟังนาน ก่อให้เกิดความเครียดทั้งตัวคุณแม่ และลูกในครรภ์ได้เช่นกัน
นอกจากการฟังเพลงแล้ว คุณแม่หรือคุณพ่ออาจจะเป็นผู้ร้องเพลงให้ลูกได้ฟัง ก็จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์ และสมองของลูกน้อยได้เช่นกัน
อัลบั้มเพลงสำหรับพัฒนาการเด็ก มีการผลิตและจำหน่ายเพื่อวัตถุประสงค์นี้โดยเฉพาะ ซึ่งคุณแม่คุณพ่อ
สามารถหาซื้อได้จากร้านจำหน่ายซีดีเพลงที่จำหน่ายเพลงคลาสสิค และเพลงบรรเลงทั่วไป ศิลปินที่แนะนำ
ได้แก่ ผลงานของโมสาร์ต บาค และบราห์ม เป็นต้น
[ที่มา: เว็บไซต์ Enfababy.com]

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ดนตรีบำบัด

" ความสุขที่แท้ ค้นพบได้ในเสียงดนตรี " ดนตรีบําบัด (music therapy)
เรื่อง: ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
ดนตรี (Music)
ดนตรี คือ ลักษณะของเสียงที่ได้รับการจัดเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยมีแบบแผนและโครงสร้างชัดเจน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ เพื่อความสุนทรีย์, เพื่อการบำบัดรักษา และเพื่อการศึกษา
ดนตรี มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลาย ๆ ด้าน จากการศึกษาวิจัยพบว่ามีผล ดังนี้

ผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อัตราการหายใจ, อัตราการเต้นของชีพจร, ความดันโลหิต, การตอบสนองของม่านตา, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของเลือด

ผลของดนตรีต่อจิตใจและสมอง สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อารมณ์, สติสัมปชัญญะ, จินตนาการ, การรับรู้สภาพความเป็นจริง และการสื่อสารทางอวัจนะภาษา

องค์ประกอบต่าง ๆ ของดนตรี ก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันไป เช่น
1. จังหวะหรือลีลา (Rhythm) ช่วยสร้างเสริมสมาธิ (Concentration) และช่วยในการผ่อนคลาย (Relax)
2. ระดับเสียง (Pitch) เสียงในระดับต่ำ และระดับสูงปานกลาง จะช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ
3. ความดัง (Volume / Intensity) พบว่าเสียงที่เบานุ่ม จะทำให้เกิดความสงบสุข สบายใจ ในขณะที่เสียงดัง ทำให้เกิดการเกร็ง กระตุก ของกล้ามเนื้อได้ ความดังที่เหมาะสมจะช่วยสร้างระเบียบการควบคุมตนเองได้ดี มีความสงบ และเกิดสมาธิ
4. ทำนองเพลง (Melody) ช่วยในการระบายความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจ ทำให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์และลดความวิตกกังวล
5. การประสานเสียง (Harmony) ช่วยในการวัดระดับอารมณ์ความรู้สึกได้โดยดูจากปฏิกิริยาที่แสดงออกมาเมื่อฟังเสียงประสานต่าง ๆ จากบทเพลง

ดนตรีบำบัดคืออะไร
ดนตรีบำบัด (Music Therapy) คือศาสตร์ที่ว่าด้วย การนำดนตรี หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ทางดนตรี มาประยุกต์ใช้ เพื่อปรับเปลี่ยน พัฒนา และคงรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม โดยนักดนตรีบำบัดเป็นผู้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ผ่านทางกิจกรรมทางดนตรีต่าง ๆ อย่างมีรูปแบบโครงสร้างที่ชัดเจน มีหลักเกณฑ์ และระเบียบ

วิธีทางวิทยาศาสตร์
เป้าหมายของดนตรีบำบัด ไม่ได้เน้นที่ทักษะทางดนตรี แต่เน้นในด้านพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละบุคคลที่มารับการบำบัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายบริบท เช่น ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์
ลักษณะเด่นของดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัดมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวหลายด้าน ทำให้สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับอายุ และหลากหลายปัญหา ลักษณะเด่น ได้แก่
1. ประยุกต์เข้ากับระดับความสามารถของบุคคลได้ง่าย
2. กระตุ้นการทำงานของสมองได้หลายส่วน
3. กระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน
4. ช่วยพัฒนาอารมณ์ จิตใจ
5. เสริมสร้างทักษะทางสังคม และการสื่อสาร
6. ให้การรับรู้ที่มีความหมาย และความสนุกสนาน ไปพร้อมกัน
7. ประสบความสำเร็จในการบำบัดได้ง่าย เนื่องจากประยุกต์ใช้ได้ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับความสามารถ

ประโยชน์ของดนตรีบำบัด
ดนตรีบำบัดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งในเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ตามเป้าหมาย เพื่อตอบสนองความจำเป็นที่แตกต่างกันไป ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่น ปัญหาบกพร่องของพัฒนาการ สติปัญญา และการเรียนรู้, โรคซึมเศร้า, โรคอัลไซเมอร์, ปัญหาการบาดเจ็บทางสมอง, ความพิการทางร่างกาย อาการเจ็บปวด และภาวะอื่น ๆ

สำหรับบุคคลทั่วไป ก็สามารถใช้ประโยชน์จากดนตรีบำบัดได้เช่นกัน ช่วยในการผ่อนคลายความตึงเครียด และในการออกกำลังกายเสริมสร้างสุขภาพ
ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีดังนี้
1. ปรับสภาพจิตใจ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีมุมมองในเชิงบวก
2. ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล (Anxiety / Stress Management)
3. กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ (Cognitive Skill)
4. กระตุ้นประสาทสัมผัสการรับรู้ (Perception)
5. เสริมสร้างสมาธิ (Attention Span)
6. พัฒนาทักษะสังคม (Social Skill)
7. พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา (Communication and Language Skill)
8. พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว (Motor Skill)
9. ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Muscle Tension)
10. ลดอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ (Pain Management)
11. ปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (Behavior Modification)
12. สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่าง ๆ (Therapeutic Alliance)
13. ช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่าง ๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว

โดยสรุปดนตรีบำบัด มีประโยชน์หลากหลายขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ เสริมสร้างสุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี โดยบูรณาการเข้ากับการรักษาอื่นๆ

กระบวนการและรูปแบบดนตรีบำบัด
ในการทำดนตรีบำบัด ไม่มีกระบวนการและรูปแบบที่ตายตัว แต่จะต้องออกแบบการบำบัดรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล มีการวางแผนการบำบัดรายบุคคล โดยมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
1. การประเมินผู้รับการบำบัดรักษา
- ศึกษาข้อมูลประวัติส่วนตัว และประวัติทางการแพทย์
- ประเมินปัญหา และเป้าหมายที่ต้องการบำบัด
- ประเมินสุขภาวะ ทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และทักษะการคิด
2. วางแผนการบำบัดรักษา
- ออกแบบโปรแกรมที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม โดยยึดเป้าหมายเป็นสำคัญ
- รูปแบบผสมผสาน กระบวนการต่าง ๆ ทางดนตรี เช่น ร้องเพลง แต่งเพลง ประสานเสียง จินตนาการตาม หรือลีลาประกอบ เป็นต้น
3. ดำเนินการบำบัดรักษา
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บำบัด กับผู้รับการบำบัด โดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ
- ทำดนตรีบำบัด ร่วมกับการบำบัดรักษารูปแบบอื่น ๆ แบบบูรณาการ
4. ประเมินผลการบำบัดรักษา
- ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และปรับแผนการบำบัดให้เหมาะสม

ดนตรีบำบัดในโรงพยาบาล
ในโรงพยาบาลต่าง ๆ มีการนำดนตรีบำบัดมาร่วมบูรณาการเข้ากับการบำบัดรักษาอื่น ๆ เพื่อเป้าหมายต่าง ๆ กัน ดังตัวอย่างเช่น
1. กระตุ้น และส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ
2. ช่วยเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายในการฟื้นฟูสมรรถภาพ
3. ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ก้าวร้าว รุนแรง อยู่ไม่นิ่ง ร่วมกับพฤติกรรมบำบัด และการบำบัดโดยใช้ยา
4. ช่วยให้สงบ และนอนหลับได้ ในผู้ที่มีความกลัว ความเครียด ร่วมกับการปรับสิ่งแวดล้อม และการใช้ยา
5. ปรับเปลี่ยนอารมณ์ ร่วมกับการใช้ยา และจิตบำบัดในโรคซึมเศร้า
6. เสริมในกระบวนการบำบัดต่าง ๆ ทางจิตเวช
7. ลดความเจ็บปวด ร่วมกับการใช้ยาแก้ปวดดนตรีบำบัดในโรงเรียน

ในโรงเรียนมีการนำดนตรีบำบัดมาใช้ใน 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ
1. เสริมสร้างจุดแข็งในตัวเด็ก ในทักษะด้านต่าง ๆ นอกเหนือจากทักษะทางดนตรี เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานประสานสัมพันธ์กันของร่างกาย
2. เสริมในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP - Individualized Educational Program) สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


BrainWave คลื่นสมอง
การทำงานของสมอง คือการรับส่งข้อมูลเป็นสัญญาณไฟฟ้า และการเคลื่อนไหวของพลังงานเหล่านี้ ทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ คลื่นสมอง

นักวิทยาศาสตร์ใช้เครื่องมือ Electroencephalogram (EEG) จับภาพสัญญาณไฟฟ้าบริเวณสมอง และแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้

[Image: brain-wave-1.gif]

คลื่นเบต้า Beta Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 14 – 30 Hz )
เป็นคลื่นสมองที่เร็วที่สุด สมองควบคุมจิตใต้สำนึก
เมื่อใช้สมองเปิดรับข้อมูลพร้อมระบบประสาทสัมผัสทุกด้าน เช่น การทำกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับความทรงจำระยะสั้น

[b]คลื่นอัลฟ่า Alpha Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 8 – 13.9 Hz )[/b]
เมื่อเราพักผ่อน และมีความสงบ (relaxation) แต่อยู่ในภาวะที่รู้สึกตัว สภาวะนี้จะทำให้รับข้อมูลได้ดีที่สุด สามารถเรียนรู้ได้ดี (superlearning)
เข้าถึงและเรียกความจำได้ง่ายและรวดเร็ว พบบ่อยในเด็กที่มีความสุข และผู้ใหญ่ที่มีจิตสมดุล หรือผู้ที่นั่งสมาธิเป็นประจำ
หรือในขณะร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย สภาวะก่อนหลับ
ในทางการแพทย์ คลื่นระดับนี้เหมาะกับการสะกดจิต เพื่อบำบัดโรค
ถือเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการป้อนข้อมูลให้แก่จิตใต้สำนึก สมองสามารถเปิดรับข้อมูลได้อย่างเต็มที่และเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นสภาวะที่จิตมีประสิทธิภาพสูง

คลื่นธีต้า Theta Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 4 – 7.9 Hz )
เมื่อมีการผ่อนคลายระดับลึก ความคิดสร้างสรรค์ (inspiration) คลื่นปัญญาญาณ เป็นคลื่นที่เราสามารถดึงข้อมูลจากจิตใต้สำนึกได้ (subconscious mind)
การแก้ไขปัญหาโดยไม่รู้ตัว เป็นคลื่นระดับเดียวกับสมาธิระดับลึก (meditaion) เข้าถึงและเรียกความทรงจำระยะยาวได้ดี
สภาวะนี้ จะมีความสุข ลืมความทุกข์ มีแต่ความปิติยินดี
เป็นคลื่นสมองที่สะท้อนการทำงานของจิตใต้สำนึก (Subconscious Mind)

คลื่นเดลต้า Delta Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 0.1 – 3.9 Hz )
เป็นคลื่นสมองที่ช้าที่สุด เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ สมองทำงานตามความจำเป็นเท่านั้น แต่กระบวนการของจิตใต้สำนึกจะจัดและเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
เป็นช่วงที่ร่างกายกำลังพักผ่อนอย่างเต็มที่ หลับลึกโดยไม่มีความฝัน จะรู้สึกสดชื่นเป็นพิเศษเมื่อยามตื่น

หมายเหตุ : ช่วงความถี่คลื่นแต่ละที่มาจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ( ดังภาพด้านล่าง )

[Image: brain-wave-2.gif]


ประโยชน์ของการทำให้คลื่นสมองมีความถี่ต่ำ
คลื่นสมองที่อยู่ในระดับ Alpha Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 8 – 13.9 Hz )

ทำให้เป็นคนจิตใจสงบ เยือกเย็น สุขุม มีอารมณ์ดี เบิกบาน ความคิดสร้างสรรค์สูง สมาธิสูง มีความจำดี

และมีพลังความคิดด้านบวกสูง มองโลกในแง่ดี
มักพบในนักบวช พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ที่กำลังมีความสุข ผู้ที่กำลังสวดมนต์


วิธีปรับคลื่นสมองให้มีความถี่ต่ำ Low Frequency BrainWave
สภาวะแวดล้อม ค่อนข้างเงียบสงบ
ห่างจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น เตาไมโครเวฟ สายไฟฟ้า หม้อแปลง คอมพิวเตอร์
การฟังหรือเล่นดนตรี เพลงคลาสสิค โมสาร์ต Mozart
การฝึกสมาธิ โยคะ
การอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ เช่น ภูเขา ทะเล อุทยาน สวนต้นไม้บริเวณบ้าน

คลื่นไมโครเวฟทำลายคลื่นสมอง
มีรายงานในประเทศเยอรมนี รัสเซีย และสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า
คลื่นไมโครเวฟทำให้คลื่นสมองลดลง ความยาวของคลื่นสมองสั้นลงจนทำให้สมองเสื่อม
สังเกตได้จากฉลากขวดนมสำหรับเลี้ยงทารกจะระบุอย่างชัดเจนว่า
ห้ามใช้เตาไมโครเวฟต้มน้ำให้เดือด เนื่องจากคลื่นไมโครเวฟจะไปทำลายสารอาหารที่มีประโยชน์เสียหมด

ที่มา
หนังสือ รู้เรียนเพื่อเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ … หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา
หนังสือ อัจฉริยะ…เรียนสนุก … หนูดี วนิษา เรซ
หนังสือ ฉลาด เก่ง ดี … เกียรติวรรณ อมาตยกุล
บทความ คลื่นสมองกับพลังพิเศษในตัวคุณ
… ปาริฉัตต์ ศังขะนันทน์ สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

เมื่อต้องเลือกเพลงให้ทารกฟังในครรภ์

เมื่อต้องเลือกเพลงให้ทารกฟังในครรภ์


ผมเคยฟังคุณพุฒิพงษ์ ปุณณกันต์ พูดถึงลูกชายวัย 5 ขวบของตนอย่างภาคภูมิใจว่า “ลูกเป็นเด็กร่าเริง” ฉลาดเพราะทุกเช้าก่อนไปทำงานผมต้องเปิดเพลงเบาๆ ประเภทเพลงคลาสสิคให้คุณภรรยาซึ่งกำลังตั้งครรภ์ลูกชายคนนี้ได้ฟังทุกเช้า ลูกจึงเกิดมาเป็นเด็กอารมณ์ดี และร่าเริงมีสุขภาพจิตที่ดี ผมนั่งฟังอยู่ใกล้ๆ และเห็นด้วยกับความเป็นจริงข้อนี้ เพราะเรื่องที่เป็นเรื่องจริงตามธรรมชาติ
ครั้งหนึ่งเมื่อสิบห้าปีมาแล้วเคยมี บริษัทแห่งหนึ่งในต่างประเทศผลิต “Voice Box” ออกมาจำหน่ายด้วยคำโฆษณาว่า เสียงจะช่วยให้เด็กฉลาดเพราะเสียงเป็นพลังชนิดหนึ่งจะช่วยกระตุ้นการเจริญ เติบโตของสมอง ผมตื่นเต้นมากกับข่าวอันนี้และในฐานะที่เป็นสูติแพทย์ก็รู้สึกมีความยินดี เป็นอย่างยิ่งกับวิวัฒนาการแบบใหม่ เพื่อใช้ในการกระตุ้นทารก ถึงแม้จะอยู่ในครรภ์ของแม่ ข่าว “Voice Box” ดังกล่าวมาแล้วก็หายเงียบไป ไม่แพร่หลายอย่างที่คิดเสียงที่นำมากระตุ้นสมองของทารก ซึ่งบรรจุอยู่ใน “Voice Box” เครื่องนั้นไม่มีเสียงเพลงอะไรเลยนอกจากเสียงดังเหมือนเสียงกลองคนป่า แอฟริกามันคงไม่มีความไพเราะอะไรเลย แน่นอนทารกได้ยินและเป็นการกระตุ้นสมองอย่างแน่นอน แต่ทารกชอบเสียงดังเหมือนกลองนั้นหรือเปล่า มีความสุขกับเสียงที่ได้ยินนั้นหรือเปล่า
ผมเชื่อว่า “ไม่” นั่นคงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ “Voice Box” ไม่แพร่หลายเป็นที่ต้องการของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ทั่วๆ ไป เสียงย่อมกระตุ้นครรภ์ได้แน่นอน แต่ว่าจะเป็นเสียงประเภทไหน…
คุณคิดว่าควรเป็นเสียงประเภทไหน… ใช่ครับควรเป็นเสียงเพลงที่ฟังแล้วไพเราะฟังแล้วเสนาะโสต ฟังแล้วมีความสุข ฟังแล้วเจริญหู เจริญใจ
มีครับ เพลงคลาสสิกบีโทเฟ่นนัมเบอร์ไฟว์เป็นเพลงยอดนิยมที่เกจิอาจารย์หลายท่านแนะ นำผมจึงต้องไปหาซื้อเพลงบีโทเฟ่น นัมเบอร์ไฟว์ที่ว่านี้มาฟัง ทำนองบรรเลงเพลงเป็นจังหวะจะโคน สูงๆ ต่ำๆ มีการกระแทกเป็นระยะๆ ฟังแล้วได้อารมณ์ คุณๆลองไปหามาฟังสิครับ
“เธ้ม เธ้ม เธ้ม เหธ่ม เธ้ม เธ้ม เธ้ม เหธ่ม” อะไรทำนองนี้แหละ หามาฟังกันเองเองก็แล้วกันนะครับ
พูดถึงเรื่องเพลงนี้มันมีอิทธิพลต่ออารมณ์เป็นอย่างมาก แม้ทารกจะอยู่ในท้องก็ตาม
อารมณ์ของเพลงนั้นจะมีผลต่ออารมณ์ของ แม่โดยตรง เมื่อแม่ฟังเพลงที่ชอบฟังแล้วมีความสุข ความสุขนั้นแม่ก็จะส่งไปยังทารกที่นอนอยู่ในครรภ์ ขณะเดียวกันทารกที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปแล้ว ทารกจะได้ยินเสียงเพลงนั้นผ่านท้องของแม่ได้ด้วยตัวเอง ถ้าหากเป็นเพลงที่ดี ฟังแล้วทำให้เกิดความสุขนั่นหมายความว่าถูกโฉลกกับความต้องการของทารก ผลในทางบวกก็ย่อมจะเกิดขึ้นตามมา
มีคนเคยทดลองอิทธิพลของเสียงเพลงต่อ สรรพสิ่งมีชีวิต อย่าว่าแต่มนุษย์เลยครับ เขาเคยทำการทดลองเปิดให้กับพืชด้วยซ้ำไป เพลงที่มีความหมายไพเราะ ฟังแล้วให้ความบันเทิง เมื่อพืชดอกได้ฟังอยู่เสมอ ปรากฏว่าออกดอกสวยงาม แต่ในทางตรงกันข้าม เปิดเพลงที่ไม่เป็นภาษาเพลง ฟังแล้วมีแต่ความหนวกหู ฟังแล้วสร้างความรำคาญอย่าว่าแต่ทารกในครรภ์เลยครับ แม้แต่พืชได้ฟังก็เหี่ยวเฉาครับ
ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าเสียงเพลงนั้นจะมีอิทธิพลต่อผู้ฟังเป็นอย่างมาก รวมถึงทารกในครรภ์ด้วย
ผมเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูก เกิดออกมาแล้วมีความฉลาดและฉลาดไปพร้อมๆ กัน ทั้งฉลาดทางความคิดคือ IQ และฉลาดทางอารมณ์คือ EQ ไม่ต้องการให้เด็กฉลาด สมองดี แต่เป็นเด็กเก็บกด ไม่มีความสุขในชีวิต หากจะเลือกเพลงมาฟังขณะที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ผมแนะนำว่าควรจะเลือกหาเพลงที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเพลงอมตะ ได้ฟังเมื่อไหร่ก็มีความไพเราะเมื่อนั้น เป็นเพลงที่อมตะไม่ใช่เพลงที่มีความไพเราะเพียงชั่วครั้ง ชั่วคราว ก็น่าจะใช้ได้ ลองดูนะครับ
ผมอยากเตือนคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายที่ เห่อลูกมากๆอยากให้ลูกเกิดมาแล้วเป็นเด็กอัจฉริยะ จึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้ลูกฉลาดด้วยการกระตุ้นด้วยวิธีการต่างๆ นานา ขณะที่อยู่ในครรภ์ของแม่ก็ปรากฏว่าสมองมีการพัฒนาเกินวัยสร้างความสับสนใน ตัวเด็กซึ่งสุดท้ายจะเป็นสาเหตุของโรคหนึ่งที่คุณๆ รู้จักกันดี คือโรคออทิสติกไงล่ะครับซึ่งทางการแพทย์สรุปถึงสาเหตุออกมาว่าน่าจะเกิดขึ้น เพราะสมองของเด็กมีการเจริญเติบโตพัฒนาขึ้นมาอย่างไม่เป็นระบบสร้างความ สับสนในตัวเด็ก เปรียบเสมือนสนามบินที่ใหญ่โตมโหฬารเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยที่คนใช้ ยังไม่ค่อยจะเป็น จึงเกิดความสับสนขึ้นมาเครื่องบินจะขึ้นจะลงก็ลำบากและอันตราย สู้อยู่เฉยๆ จะสนุกกว่าก็เหมือนเด็กออทิสติกนั่นแหละ
 

ที่มา.. นิตยสารบันทึกคุณแม่ No.160 November 2006

งานวิจัย

Lovely Baby Bach, Beethoven & Mozart เพลงเพื่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ จนถึงเด็กอายุ 4 ขวบ

ข่าวบันเทิง ThaiPR.net -- ศุกร์ที่ 25 เมษายน 2551 11:56:07 น.
กรุงเทพฯ--25 เม.ย.--โซนี่ บีเอ็มจี มิวสิค
Raimond Lap กับผลงานชุด The Famous Composers Series  ซึ่งประกอบด้วยผลงานชิ้นอมตะของศิลปินคลาสสิคระดับโลกอย่าง Bach, Beethoven และ Mozart
จากผลงานการวิจัยหลายๆ ชิ้น สรุปได้ว่าดนตรีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากของพัฒนาการในเด็กตั้งแต่ปีแรก
และการวิจัยนี้ยังเผยอีกว่า เพลงคลาสสิคมีส่วนในการกระตุ้นสมองของเด็กโดยช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีการ พัฒนาทางด้านอารมณ์  สติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ไปอีกขั้นในระดับที่สูงขึ้น ถึงกับมีคำกล่าวที่ว่า ‘Create a better world, starts with music at birth’