วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นวัตกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย จาก “โครงการจัดทำหนังสือประกอบดนตรีเพื่อการสอนภาษาในเด็กปฐมวัย” Aug 2, '10 3:53 PM
สำหรับ ทุกคน
ร้อง เต้น เล่น อ่าน ...สรรค์สร้างจินตนาการสู่ภาษา
นวัต กรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย จาก “โครงการจัดทำหนังสือประกอบดนตรีเพื่อการสอนภาษาในเด็กปฐมวัย” ของ แผนงานสนับสนุนการพัฒนาเด็กปฐมวัย/มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ ในการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
โดย ภญ.ดร.พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร[1]
กรกฎาคม 2553

จากงานวิจัย การศึกษา และการเยี่ยมสังเกตการณ์ระดับชั้นอนุบาลในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหลายแห่งทั่วประเทศทั้ง 5 ภูมิภาค โดยองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา รวมทั้งการพูดคุยสัมภาษณ์ครูผู้สอนระดับปฐมวัย และพ่อแม่ผู้ปกครอง พบว่าการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้รับการส่งเสริมเต็มที่ ความรู้ความเข้าใจเพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างเด็กให้มีพัฒนาการทุกด้านอย่าง เต็มศักยภาพยังไม่ชัดเจน อาจเนื่องจากการศึกษาปฐมวัยไม่ได้เป็นการศึกษาภาคบังคับ และในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดกรอบสาระของหลักสูตรไว้กว้างๆ ถ้าผู้จัดกระบวนการการเรียนการสอนยังไม่มีความเข้าใจที่ชัดเจน การนำเสนอเนื้อหาสาระ วิธีการและกระบวนการ จึงอาจคลาดเคลื่อนไม่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริงของมนุษย์ และการพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยได้
ปัญหา การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและเพื่อการเรียนรู้ของเด็กเป็นประเด็นที่ถูก หยิบยกมาเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ค่อนข้างมาก กอปรกับผลจากการศึกษาวิจัยระดับประเทศและที่ทำร่วมกับนานาชาติ ระบุให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางด้านภาษาและกระบวนการคิดของเด็กไทยอยู่ในเกณฑ์ ต่ำ  จากผลการสำรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัยในประเทศไทย โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งประเมินโดยใช้แบบคัดกรองและทำมาทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งล่าสุดคือในปี พ.ศ. 2550 พบว่า พัฒนาการด้านภาษาของเด็กไทยมีความล่าช้ามากกว่าด้านอื่นๆ อย่างชัดเจน โดยมีตัวเลขอยู่ที่ร้อยละ 22  ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาในเด็กปฐมวัยให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น   ปัญหา นี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทาง ด้านภาษานั้น ครูและครูพี่เลี้ยงด้านปฐมวัยยังคงมุ่งที่การอ่านออกเขียนได้ ตามการเรียกร้องของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ทั้งในด้านพื้นฐานทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย และด้านวิธีการสอนเพื่อเพิ่มศักยภาพในพัฒนาการด้านต่างๆ ด้วยการเปิดโอกาสการเรียนรู้ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่น่าสนใจ และท้าทายให้เกิดการเรียนรู้ในตนเองของเด็กแต่ละคน มิใช่การมุ่งสอนที่สาระเนื้อหาวิชาการ นักวิชาการและนักวิจัยได้ศึกษาเรื่องดังกล่าวไว้มากพอสมควร แต่การเชื่อมโยงเพื่อนำงานวิจัยไปสู่การแก้ปัญหาอย่างชัดเจนนั้น มีไม่มากนัก ประเด็นปัญหาเหล่านี้จำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์อย่างละเอียดและรอบคอบ เพื่อให้ทราบถึงรากเหง้าของปัญหาในแต่ละประเด็นอย่างชัดเจน และนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมมาแก้ปัญหาให้ได้ตรงจุด ซึ่งอาจจะเป็นนวัตกรรมเพียงชิ้นเดียวหรือหลายชิ้นหลายด้านไปพร้อมกัน จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้
ภารกิจ หนึ่งของหน่วยงานทางการศึกษาต่างๆ คือ จะต้องเป็นผู้เชื่อมโยงนำผลงานวิจัยที่มีอยู่แต่เดิมมาสู่การทดลองขยายผลและ ปฏิบัติให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งจะต้องวัดผลได้ว่า จะสามารถส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพในการใช้ภาษาไทยของผู้เรียน “แผนงานสนับสนุนการพัฒนาเด็กปฐมวัย” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ ในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาและคิดค้น นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย จึงได้ทำการศึกษาค้นหาสภาพปัญหาอย่างละเอียดและรอบคอบเพื่อให้เห็นสภาพความ ซับซ้อนและซ้อนทับของปัญหาที่เกี่ยวข้องซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านต่างๆ รวมถึงทักษะความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทยหรือการรู้หนังสือของเด็ก แล้วนำมาสังเคราะห์เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาและ พัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยฐานความรู้เรื่องสมอง (Brain-Based Learning หรือ BBL) ที่เน้นให้เด็กหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรงจากการลงมือปฏิบัติจริง โดยมีผู้ใหญ่ เช่น พ่อแม่หรือครู เป็นผู้ตอบสนองความสนใจของเด็ก ช่วยสนับสนุนให้เด็กแต่ละรายได้เรียนรู้ที่จะคิดใคร่ครวญ และประมวลโครงสร้างความคิด ด้วยการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์เดิม เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจของตนเอง ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กๆ ว่า ทุกคนเติบโตมาพร้อมกับความสงสัยใฝ่รู้ ดังนั้นการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ของ เด็กๆ จึงคล้ายกับฟองน้ำที่จะดูดซึมทุกสิ่ง และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การเรียนรู้ที่ดีสำหรับเด็กนั้น จะต้องอยู่ในบรรยากาศที่สนุกสนาน และกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการ เด็กๆ ในวัยปฐมวัยจึงมีความจำเป็นต้องได้รับการปูพื้นฐานการเรียนรู้ทุกด้านอย่าง ถูกต้องและเหมาะสม มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมถึงกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละวันจะต้องมีความหลากหลาย และครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน 
การ รู้หนังสือของเด็กเริ่มต้นตั้งแต่เกิดในครรภ์มารดา โดยเริ่มจากเซลล์สมอง ซึ่งทำหน้าที่เหมือนศูนย์บัญชาการ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ สมองของมนุษย์มีการรับรู้ เรียนรู้ภาษาในการสื่อสาร ที่ทำให้มนุษย์อ่านออกเขียนได้มาตั้งแต่กำเนิด สมองส่วนหน้าสามารถรับรู้และเรียนรู้ภาษาได้โดยธรรมชาติ มนุษย์เมื่ออยู่ใกล้กับสิ่งแวดล้อมใดก็จะสื่อภาษานั้น ดังนั้นภาษาคือการอยู่รอดของมนุษย์ (Language in life) ภาษา มนุษย์แตกต่างกับภาษาสัตว์ คือ ภาษามนุษย์ไม่ได้เกิดจากสัญชาติญาณ แต่เกิดจากการเลียนแบบ ดังนั้นการที่จะสอนคนหรือเด็กให้รู้หนังสือ อ่านออก เขียนได้ จะต้องสอนในระบบนั้นๆ ให้ถูกต้องและเหมาะสม ภาษาที่สื่อออกมาจะเป็นรูปแบบที่เกิดจากการเรียนรู้หน้าที่ของสมอง
โดยธรรมชาติมนุษย์จะมีการรับรู้ (The Natural Approach) ในการเรียนภาษา ดังนี้
1.      ปัจจัยป้อน (Comprehensible Input) คือการนำเสนอ ถ้าสิ่งที่เรานำเสนอว่าอะไร อ่านอะไร โดยที่ผู้รับไม่รู้ Output เช่น ตัวหนังสือ การสื่อสารต่างๆ เขาก็จะไม่เข้าใจ หรือสื่อสารภาษาไม่ออก การสื่อสารโดยทั่วไปจะต้องมีความหมาย โดยเฉพาะในด้านการอ่าน วิธีเรียนรู้แล้วสามารถสื่อสารได้ ก็คือ ทำให้คนเกิดความสนใจ ความสำเร็จก็จะตามมา ความสนใจเริ่มจากทำให้คนเกิดความเข้าใจ รู้เรื่องสิ่งที่สื่อสาร การที่เด็กไม่ชอบอ่านหนังสือ ก็เนื่องจากไม่รู้เรื่อง การสอน (ภาษา) ที่จะให้เกิดผล ความหมายจะต้องมาเป็นอันดับแรก
2.      การพัฒนาความคิดรวบยอด (Concept Development in Language Teaching) หลัก ในการพัฒนาความคิดรวบยอดของมนุษย์ เป็นหลักการทั่วๆ ไป โดยเฉพาะการอ่าน เป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้ จึงจะส่งเสริมการอ่านได้อย่างสนุกสนาน เด็กจะเรียนภาษาได้ต้องรู้ความหมายก่อน คือการทำให้เด็กเข้าใจในการใช้สิ่งของของในชีวิตจริง ซึ่งเด็กจะเกิดความเข้าใจในระดับที่มีภาพรวมในสมองได้ สาระสำคัญ คือ คิดรวบยอด การสอนควรเอาสื่อเข้ามาช่วย เช่น นิทาน เพลง กิจกรรม ศิลปะ แผนที่ รูปภาพ การใช้สื่อทดแทนจะช่วยการอ่านของเด็กได้มาก ทั้งนี้ให้ดูว่า เราจะสร้างความหมายและช่วยอย่างไรให้เด็กได้เข้าใจ
นั่น คือ การเรียนรู้การใช้ภาษาของเด็กคือการใช้สมองส่วนลึกเป็นพื้นฐาน เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างเป็นธรรมชาติและโดยอัตโนมัติ การสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ จะเน้นสื่อที่มีความหมาย ให้เด็กสามารถใช้ประสบการณ์เดิมช่วยทำให้เข้าใจสื่อที่อ่านได้รวดเร็วขึ้น การสอนจะไม่แยกสอนส่วนย่อยของภาษาทีละส่วนแต่เน้นให้เข้าใจในภาพรวมก่อน แล้วจึงเรียนรู้ด้านโครงสร้างภาษาภายหลัง เด็กสามารถสร้างสรรค์ภาษาของตนเองอย่างอิสระ เด็กๆ จะเรียนรู้ข้อมูลโดยใช้สมองที่อยู่ในส่วนลึกเป็นกลไกในการทำความเข้าใจหลัก การใช้ภาษานั้นๆ ซึ่งสมองส่วนนี้จะทำงานอย่างเต็มที่จนเด็กมีอายุ 7 ปี และจะหยุดพัฒนาต่อทันทีเมื่อเด็กเริ่มมีอายุประมาณ 18 ปี ส่วนผู้ใหญ่จำเป็นต้องเก็บภาษาที่ได้เรียนรู้มาไว้ในส่วนอื่นของสมอง ผลที่ตามมาก็คือผู้ใหญ่มักต้องคิดก่อนที่จะพูดภาษาที่สองของตนได้ ในขณะที่เด็กจะสามารถพูดออกมาได้เลยราวกับเป็นภาษาหนึ่งของตนเอง และแม้ว่าผู้ใหญ่จะพยายามฝึกฝนในหลักสูตรอบรมต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาจนสามารถพูดได้อย่างคล่องแคล่วแล้วก็ตาม แต่สมองของเขาก็ยังคงมีหลักการทำงานที่แตกต่างจากเด็กอยู่นั่นเอง นั่นคือ การสอนภาษาให้แก่เด็กเล็ก จะต้องเป็นไปแบบธรรมชาติ สอดคล้องกับการทำงานของสมอง ต้องทำการสอนที่ดำเนินไปอย่างสนุกสนาน ถ้าหากว่าเด็กเริ่มต้นการเรียนรู้ทางภาษาด้วยความไม่ชอบ เราก็จะไม่ได้รับความสนใจจากพวกเขาอีกเลย นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า การจัดระบบการเรียนรู้ที่ดีควรจำลองรูปแบบของการเล่นเอาไว้ด้วย นอกจากนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาผ่านเนื้อหาด้วย ทั้งนี้หมายความว่า ถ้าหากเราเพียงแค่นำรูปภาพมานำเสนอให้เด็กดู ความจำที่มีต่อภาพจะไม่นานเท่ากับการได้เรียนรู้ผ่านเนื้อหาควบคู่ไปด้วย เพราะการเรียนรู้ภาษาโดยมีเนื้อหาควบคู่ไปด้วยจะช่วยทำให้บรรยากาศการเรียน สนุกและมีความหมายมากขึ้น การเรียนภาษาผ่านการทำกิจกรรมจะมีประสิทธิภาพและให้ความเพลิดเพลินแก่เด็กใน ขณะเดียวกัน การจัดกิจกรรมทางภาษานอกจากคำคล้องจอง นิทาน เล่าเรื่องจากภาพแล้ว คุณพ่อคุณแม่และคุณครูควรทำการฝึกทักษะทางภาษาด้วย โดยประโยคและข้อความที่ใช้ควรเป็นข้อความง่ายๆ ชัดเจน และพูดซ้ำหลายๆ ครั้ง ตัวอย่างของสื่อเพื่อกิจกรรมทางภาษา เช่น บัตรภาพบัตรคำ ข้อความสื่อรัก กระซิบข้างหู ฝึกพูดและเขียนจากภาพ ฯลฯ
นอก จากนี้ จากการศึกษามีข้อค้นพบที่น่าสนใจคือ สาเหตุของปัญหาการจัดการเรียนการสอนอ่านภาษาไทย ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับตัวครู ข้อค้นพบดังกล่าว เป็นเสมือนภาพสะท้อนว่า การสอนให้รู้หนังสือ และการเรียนรู้ต่างๆ นั้น ยังขาดการเชื่อมโยงต่อเนื่องกันเป็นระบบ ครูยังคงสอนให้ได้การอ่านเพียงเพื่อการสอบผ่านในวิชาเรียน หรือเพื่อการเข้าเรียนต่อสถาบันที่มีชื่อเสียง ซึ่งไม่ใช่เป้าประสงค์ที่จะเสริมสร้างให้เด็กได้เติบโตเต็มศักยภาพและมี คุณภาพ แม้ว่า การจัดการศึกษาปฐมวัย จะเน้นการเปิดโอกาสการเรียนรู้ โดยเฉพาะผ่านการเล่นอย่างสร้างสรรค์ เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อจะได้เติบโตต่อไป ครูปฐมวัยจึงต้องดึงศักยภาพสูงสุดของตนเอง โดยการใช้กลวิธีแยบยลในการสร้างคนยุคใหม่เพื่อรองรับกับสภาพความเปลี่ยนแปลง และวิกฤตการณ์ต่างๆ ของสังคมโลก ดังนั้น การปฏิบัติของครูจะต้องทำทั้งในเชิงรุกและรับ เลือกสรรกิจกรรม กระบวนการหรือวิธีการทั้งที่มีรูปแบบใหม่หรือเก่าที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข ให้มีคุณภาพดีขึ้น มาเป็นตัวช่วยในการยกระดับความสามารถด้านภาษาของผู้เรียน อันจะช่วยส่งเสริมให้เด็กสามารถเรียนรู้และเพิ่มพูนทักษะทางภาษาได้เร็ว เมื่อเข้าสู่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองก็ต้องเข้าใจและยอมรับศรัทธาในระบบการพัฒนาเด็กเพื่อ ดึงศักยภาพสูงสุดออกมาด้วย ไม่ใช่เร่งคุณครูเร่งโรงเรียน หรือฝึกฝนบังคับเด็กให้เร่งเรียนเร่งอ่านเขียน โดยที่เขายังไม่พร้อม
การ ออกแบบหรือพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อแก้ปัญหาการพัฒนาทักษะทางภาษา รวมถึงการสอนอ่านเขียนภาษาไทย โดยแผนงานสนับสนุนการพัฒนาเด็กปฐมวัย สสส. ร่วมกับสมาคมนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว[2] และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษา เพลง และนิทานเด็ก[3] มีเป้าหมายเพื่อวางพื้นฐานทักษะทางภาษาโดยใช้ฐานความรู้เรื่องสมอง และต้องการยกระดับความสามารถการรู้หนังสือ รวมถึงการอ่านเขียนภาษาไทยให้แก่ผู้เรียน ซึ่งในการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมนั้น ได้ตระหนักถึงความสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของผู้เรียนในลักษณะที่ยึดตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับความต้องการของครูที่จะนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน รวมทั้งสอดคล้องกับหลักสูตรการจัดการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546
เพลง และนิทานเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทำให้เซลล์สมองของเด็กสามารถเชื่อมโยงต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมจินตนาการ กระบวนการคิด และการเรียนรู้ต่อไป ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างสมดุล กล่าวได้ว่า เด็กปฐมวัยเป็นวัยของการชอบฟังเรื่องราว  เนื่องจากเป็นวัยของการพัฒนาทักษะทางภาษา  การฟังทำให้เด็กเรียนรู้ภาษามากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์  การใช้ประโยค  และการสื่อสารกับบุคคลอื่น  เด็กชอบฟังนิทาน  และขณะเดียวกันก็ชอบฟังเพลง  โดยเฉพาะเพลง เด็กจะได้รับความรู้สึกในความรัก  ความอบอุ่นและความนุ่มนวล  เพลงจัดได้ว่าเป็นสื่อการเรียนรู้ทางตรงและทางอ้อมที่เด็กสามารถซึมซับองค์ความรู้โดยไม่รู้ตัว  สิ่งที่เด็กได้จากเพลง คือ  เนื้อร้อง  ทำนอง  และจังหวะ  เด็กเรียนรู้สาระเรื่องราวจากเนื้อร้อง  ดังนั้น ถ้าเนื้อร้องดี  เด็กก็จะเรียนรู้สิ่งที่ดี  ส่วนทำนองและจังหวะ เป็นการสร้างการเรียนรู้ในตนเอง  บุคลิกแห่งตน  และสังคม สมองส่วนการได้ยิน (Auditory Area) ในสมองซีกขวา จะทำหน้าที่แปลความหมายของทำนองต่างๆ ที่ได้ยิน ในขณะที่สมองส่วนรับรู้การได้ยิน (Sensory Cortex) ในสมองซีกซ้าย จะทำหน้าที่เก็บความจำของทำนองเหล่านั้น กิจกรรมทางด้านการฟังจึงช่วยให้เด็กพัฒนาสมาธิและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ เป็นการเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะการคิดด้านนามธรรม การฟังเสียงต่างๆ ในชีวิตประจำวัน การฝึกจับจังหวะแยกเสียงจากเครื่องดนตรีต่างชนิด ฝึกจำแนกแยกแยะและฝึกจำเสียงต่างๆ จะช่วยให้เด็กมีสมาธิดี มีความตั้งใจ สนใจ และจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ตัวเองกำลังทำได้ดีขึ้น 
เด็ก เป็นวัยแห่งความสดใส ร่าเริง ทำให้ผู้อยู่ใกล้ชิดมีชีวิตชีวา รู้สึกเป็นสุข เช่นเดียวกับเพลงที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความรื่นรมย์ เพลิดเพลิน เด็กกับเพลงจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ชีวิตในวัยเด็กที่แวดล้อมไปด้วยเสียงเพลงทั้งจากคุณพ่อคุณแม่ และญาติผู้ใหญ่ เช่น คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย คุณลุงคุณป้า หรือแม้แต่พี่ๆ ที่ใกล้ชิด รวมถึงคุณครู และเสียงเพลงจากตัวเด็กเอง จะทำให้เด็กรู้สึกเป็นสุข อบอุ่น สนุกเพลิดเพลิน และเมื่อเด็กโตขึ้น ก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ทั้งด้านความคิด อารมณ์ จิตใจ รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติตัวที่ถูกต้องดีงาม ไม่ก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคม นอกจากนี้ มีหลายงานวิจัยที่บ่งชี้ว่า เพลงและดนตรีเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ดีให้แก่เด็ก เพราะเป็นสิ่งที่เร้าความสนใจของเด็ก เด็กจะเรียนด้วยความสนุก สนใจ พอใจ ไม่เบื่อหน่าย และช่วยให้เด็กเข้าใจในเรื่องราวที่คุณครูต้องการสอนได้เร็วขึ้น จำได้ง่ายขึ้น เพลงจึงเป็นสื่อสัมพันธ์และสื่อการสอนที่ดีอันดับแรกๆ ที่ไม่ควรมองข้าม
เพลงเด็กเล็ก มักจะมีรูปแบบซ้ำๆ กัน การทวนทำนอง 1 หรือ 2 ทำนอง สลับกัน การเล่นคำและการร้องทวนซ้ำไปมาในรูปแบบย้อนกลับทำให้เด็กเรียนรู้เรื่องรูป แบบของเพลงง่ายๆ ประกอบกับการฟังการออกเสียงที่ถูกต้อง ที่เสริมความสนุกเชื่อมโยงสู่ประสบการณ์เดิม จะเป็นพื้นฐานของความเข้าใจในภาษาและการสื่อสารเพื่อบอกความหมาย การร้องเพลงหรืออ่านบทกลอนคำคล้องจองให้ฟังเป็นประจำ จะทำให้เด็กสามารถแยกแยะเสียงสระ เสียงพยัญชนะ รูปแบบจังหวะ และเสียงสูงต่ำได้ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะยังพูดไม่ได้และภาษานั้นไม่ใช่ภาษาแม่ก็ตาม เสียงของคนเรา โดยเฉพาะภาษาไทยมีระดับสูงๆ ต่ำๆ คำหนึ่งคำจะมีลักษณะเสียงและความหมายเฉพาะตัว ระดับเสียงที่แตกต่างกันนี้จะส่งผลต่อคลื่นสมอง ยิ่งถ้ามีดนตรีประกอบคำคล้องจอง พร้อมการเคลื่อนไหวท่าทางหรือเชื่อมโยงภาพจากประสบการณ์เดิม สมองก็จะถูกกระตุ้นและเกิดการทำงานเชื่อมโยงระหว่างสมองซีกซ้ายและซีกขวามาก ขึ้น การออกแบบคำและทำนองที่ดี ช่วยให้เด็กมีจังหวะดี ทำให้การพูดและการอ่านของเด็กดีด้วย นอกจากนั้น การให้เด็กได้มีส่วนร่วม ด้วยการร้องรับตามจังหวะหรือท่อนเนื้อเพลง จะเป็นการเพิ่มความสนุกสนานและวางพื้นฐานความมั่นใจในการสื่อสาร เวลาที่เราฟังดนตรี  หรือ เมื่อเราได้ยินเสียงดนตรี และรู้ว่านี่คือเสียงดนตรี จะเป็นหน้าที่ของสมองซีกขวา ส่วนความซาบซึ้งในเสียงเพลง สมองทั้งซีกซ้ายและขวาจะทำงานพร้อมกัน  นั่น คือ ดนตรีมีผลต่อสมองทั้งซีกขวาและซีกซ้าย เสียงดนตรียังก่อให้เกิดการสร้างเส้นใยสมองเพิ่มขึ้น การเต้นหรือเคลื่อนไหวไปตามจังหวะ ทำนอง และเสียงเพลง นอกจากจะเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กแล้ว กิจกรรมที่นำมาเสริมต่อยอด เช่น กิจกรรม “เงา” กิจกรรม “กระจกเงา” “ลีลามือ” เป็นต้น จะเป็นการวางรากฐานด้านมิติสัมพันธ์ ทักษะทางภาษา ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อหรือการแสดงออกทางด้านอารมณ์ จิตใจ และสังคมให้เพิ่มพูนขึ้น
การ จัดระบบการเรียนรู้ที่ดีจึงควรจำลองรูปแบบของการเล่นเอาไว้ ควบคู่ไปกับการให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาผ่านเนื้อหาด้วย จังหวะ เสียงดนตรี และบทเพลง นี่เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ควรจะนำมาใช้ในการสอนภาษาให้แก่เด็ก เนื่องจากทำนองดนตรีที่เหมาะสมจะเป็นตัวกระตุ้นให้สมองตื่นตัวพร้อมเรียนรู้ นอกจากนี้คำคล้องจองในบทเพลงนั้น ช่วยให้สามารถฟังและจดจำได้ง่าย อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นความสนใจ เมื่อคำศัพท์ได้ถูกร้องและทวนซ้ำอยู่เรื่อยๆ จะเป็นการทบทวนในสิ่งที่เด็กเพิ่งได้เรียนรู้มา ทำให้การสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ใน ปัจจุบัน มีการใช้เพลงประกอบการสอนในวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นการเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสอดแทรกจังหวะ ท่วงทำนอง และร้อยเรียงเนื้อหาเป็นเรื่องราว ทำให้สนุกและเข้าใจในความหมายสัญลักษณ์ได้ดีขึ้น เสียงดนตรีช่วยจัดเรียงความคิดให้เป็นระบบมากขึ้น ดังมีรายงานวิจัยระบุว่า การเปิด ดนตรีบรรเลงคลอเบาๆ ในขณะทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด เช่น การคำนวณ การเก็บและรวบรวมข้อมูล จะเพิ่มประสิทธิภาพของสมองได้ ไอน์สไตน์ก็กล่าวไว้ว่า ดนตรีมีส่วนช่วยขยายกระบวนการความคิดของเขา ทำให้เขามีความลุ่มลึกในการแก้ปัญหาที่พลิกแพลงต่างๆ เมื่อเขาจนปัญญาคิดแก้ปัญหาอะไรไม่ได้ เขาก็จะไปเล่นดนตรีคือไวโอลิน และเขาก็จะแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ ดนตรีไม่ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับจังหวะและการเคลื่อนไหวเท่านั้น การออกแบบเพลงที่มีข้อความวลีที่น่ารักที่นำไปสู่การสร้างภาพในใจ สร้างภาวะอารมณ์ร่วม ประกอบกับท่วงจังหวะที่ชัดเจน และสื่อความหมายตรง สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมได้ จากงานวิจัยพบว่า ดนตรีที่มีท่วงทำนองง่ายๆ สอดคล้องกับจังหวะการเต้นของหัวใจ (60-70 ครั้งต่อนาที) จะง่ายต่อการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ และยังทำให้ร่างกายสงบแต่สมองยังคงตื่นตัว เป็นการรักษาแรงจูงใจในการเรียน หรือมีกิจกรรมต่างๆ  ดนตรีที่ฟังสบายๆ และช่วยในการเรียนรู้ ควรเป็นดนตรีที่มีท่วงทำนองเคาะหนึ่งจังหวะต่อหนึ่งวินาทีอย่างสม่ำเสมอ เพราะสามารถช่วยลดสารความเครียด แต่ผลิตสารอันเป็นประโยชน์ที่ช่วยให้ส่วนผสมของสารเคมีในสมองดีขึ้น จังหวะดนตรีที่สม่ำเสมอจะสอดคล้องกับจังหวะการเต้นของหัวใจขณะที่ผ่อนคลาย (60 ครั้งต่อนาที) ท่วงทำนองของดนตรีดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ปัจจุบัน นักแต่งเพลงเด็กบางคนได้สร้างสรรค์งานดนตรีให้มีจังหวะเหมาะกับการเต้นของ หัวใจ ซึ่งช่วยทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจและสมองช้าลง เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้ หากเด็กต้องทำกิจกรรมที่ใช้กำลังกายหรือเคลื่อนไหว ควรเลือกใช้ดนตรีที่มีจังหวะเร็วขึ้น (90-110 ครั้งต่อนาที) มีเครื่องดนตรีหลายชนิดบรรเลงร่วมกัน โดย อาจจะมีกลองหรือเครื่องเคาะบรรเลงคุมจังหวะเพื่อเป็นการกระตุ้นและเร้า จังหวะของเพลงให้ดูคึกคักขึ้น นอกจากนี้ มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า เพลงของโมสาร์ท (ในจังหวะที่เร็ว มีเสียงและท่วงทำนองหลากหลาย) จะช่วยเตรียมความพร้อมให้กับเครือข่ายใยประสาทที่ใช้ในการคิด เป็นประโยชน์ต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้เด็กทำงานได้รวดเร็วและง่ายดายขึ้น เช่น การคำนวณทางคณิตศาสตร์ การเขียน การวาดภาพ การประดิษฐ์ การเก็บรวบรวม และการจัดการข้อมูล การ เรียนรู้ที่แท้จริงของเด็กนั้น เป็นการเรียนรู้ที่เป็นไปอย่างธรรมชาติ การปูพื้นฐานการรู้ภาษาอ่านออกเขียนได้ของเด็กนั้น ควรนําให้เด็กเข้าถึงความจริง ผ่านความรู้สึกและการรับรู้ทางอารมณ์ เพราะเขาจะเรียนรู้ข้อมูลโดยใช้สมองที่อยู่ในส่วนลึกเป็นกลไกในการทำความเข้าใจหลักการใช้ภาษานั้นๆ การ ฝึกเชื่อมโยงให้เขามองชีวิตและสรรพสิ่งจากภาพรวมไปสู่ส่วนย่อย เปิดโอกาสให้จินตนาการ และสร้างองค์ความรู้ในตนเองอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นการเปิดนําความสามารถของเขา เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างไม่มีขีดจํากัด ซึ่งเป็นรากฐานสําคัญในการไปสู่ขั้นสูงสุดของศักยภาพที่มนุษย์พึงจะเป็นได้
ศ.ดร.อารี สัณหฉวี ได้ให้ความรู้ว่า ภาษาธรรมชาติไม่ใช้วิธีการ ไม่ใช่ข้อกําหนดใดๆ ที่จะชี้ความสําเร็จที่มีรูปแบบตายตัว แต่เป็นเรื่องของปรัชญาแนวคิดที่จะให้เด็กๆ เรียนรู้ให้อ่านออกเขียนได้ การสอนภาษาแบบสมดุลภาษาเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาของเด็กๆ ที่พบว่าแตกต่างจากวิธีที่สอนกันอยู่แบบเดิมในโรงเรียน ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ความสําคัญของนวัตกรรมนี้เกิดมาจากการได้แนวความคิดที่ค้นพบโดยการสังเกตการ เรียนรู้ภาษาที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ตัวเล็กๆ จึงเหมาะกับพัฒนาการและความสามารถของเด็กตั้งแต่แรกเกิดไปจนโต มีความชัดเจนอยู่สองแนว คือ การที่ผู้เรียนได้อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่นเสมือนบ้าน และอาบเอิบ (Immersion) ไป ด้วยโลกของภาษาและหนังสือ คือคล้ายว่า ชุ่มฉํ่า จนซึบซับเข้าไปทุกขณะที่ได้ฟังพ่อแม่ ครู อ่านหนังสือให้ฟังทุกวันด้วยนั้นแนวหนึ่ง อีกแนวหนึ่งคือ นักวิจัยเริ่มไปศึกษาการเรียนรู้ภาษาของเด็ก สังเกต ติดตาม ดูเด็กอายุขวบกว่าๆ ถึงระดับประถม พบว่า การเรียนรู้ที่แท้จริงของเด็กนั้น เป็นการเรียนรู้ที่เป็นไปอย่างธรรมชาติ (Naturally) ซึ่งความรู้ที่พบ 2 ทางนี้ก่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา
การ สอนภาษา จึงต้องเริ่มต้นที่ความสนใจของเด็ก ผู้ใหญ่หรือผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะทางภาษาให้กับเด็กๆ จึงควรรู้ว่าสมองของเด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างไร และเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพโดยวิธีไหน การเทข้อมูลภาษาใส่ลงไปในสมองเด็กนั้น ไม่ได้ช่วยให้เด็กสนใจภาษาหรือเก่งขึ้นมา แม้เด็กจะทำแบบฝึกหัดได้ แต่ไม่ได้แปลว่าใช้ภาษาเป็น หรือใช้ประโยชน์จากภาษาได้จริงๆ การสอนภาษา ก็คือ การสอนให้เด็กพัฒนาการคิดจากขั้นรูปธรรมขึ้นสู่ขั้นนามธรรม เมื่อเด็กคิดเป็นนามธรรมได้ สมองของเขาก็ก้าวหน้าขึ้นมาก เพราะการเชื่อมโยงความคิดและจินตนาการจะขยายวงกว้างออกไป นิทานและศิลปะจึงเป็นเครื่องมือสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้เด็กๆ เกิดจินตนาการ และมีความคิดกว้างไกล
ดิว อี้ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ภาษาของเด็กก่อนการพัฒนาเข้าสู่การใช้ภาษาอย่าง ถูกต้องตามหลักภาษาว่า เกิดจากประสบการณ์ตรงโดยการลงมือกระทำด้วยตนเอง และได้สร้างทฤษฎีที่เป็นกุญแจสำคัญของความคิด เรื่องพลังของการสะท้อนความคิดต่อการสอนครู ที่ผู้เรียนต้องเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรบูรณาการด้านภาษา ให้กลมกลืนไปกับการเรียนรู้ทุกเรื่อง
เพียเจท์ ในหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดมีอิทธิพลต่อกระบวนการสอนภาษาธรรมชาติ ได้กล่าวว่า เด็กจะเรียนรู้จากกิจกรรมโดยการเคลื่อนไหวของตนเอง จากการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมและสร้างองค์ความรู้ขึ้นภายในตน กระบวนการเรียนรู้มิใช่เกิดจากการรับเข้าแต่เพียงอย่างเดียว เด็กจะเป็นผู้กระทำการเรียนรู้ในการคิดด้วยตนเอง การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมผ่านการเล่น จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทำร่วมกัน และเป็นรายบุคคล
ไว กอตสกีได้กล่าวถึงการเรียนรู้ภาษาของเด็กว่า เกิดขึ้นได้จาการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียง เช่น พ่อ แม่ เพื่อน ครู และอิทธิพลของบริบทสิ่งรอบตัวเด็ก การช่วยเหลือและลงมือทำเป็นขั้นตอน ผ่านการเล่นกิจกรรม ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ภาษาผ่านการใช้สัญลักษณ์
ฮอลลิเดย์ ได้กล่าวถึงพลังของบริบทที่แวดล้อมในสถานการณ์ที่หลากหลายมีอิทธิพลต่อการ เรียนรู้ และการใช้ภาษาของเด็กการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่เกี่ยวข้อง เด็กจะเป็นผู้ใช้ภาษาจากการเรียนรู้ทุกสิ่งผ่านภาษา และเรียนเกี่ยวกับภาษาไปพร้อมๆ กัน
กู๊ด แมนได้รับการยกย่องในฐานะผู้บุกเบิกแนวการสอนภาษาแบบองค์รวม จนมีผู้ให้ความสนใจนำความคิดไปใช้ในประเทศต่างๆ และมีผู้ให้การสนับสนุนเผยแผ่ออกไปอย่างกว้างขวางในช่วงปี พ.ศ. 2513 เป็น ต้นมา เขากล่าวว่า ภาษาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กต้องเรียนรู้ภาษา และต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ครูต้องตระหนักในความสำคัญนี้
โค มินิอุสเชื่อว่า เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆ ได้ด้วยการนำเสนอด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิตอยู่แล้ว เด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรมได้โดยการใช้ภาษาถิ่นหรือภาษาในชีวิต ประจำวันของเด็ก
นั่น คือ การปูพื้นฐานทักษะทางภาษาด้วยวิธีการที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ภายใน ตนเองตามศักยภาพของช่วงวัย จะทำให้เด็กๆ เกิดการเรียนรู้ที่แตกแขนงมากขึ้น ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาภาษาพูด ภาษาเขียน ซึ่งผู้ใหญ่จะเห็นได้ชัดเจนว่าเด็กๆ นั้นอาศัยภาษาเป็นสื่อในการแก้ปัญหาต่างๆ อย่างมีความหมายในกระบวนการเรียนรู้ทั่วๆ ไปของเด็กชีวิตประจำวันและในโรงเรียน
หนังสือชุด “ร้อง เต้น เล่น อ่าน ...สรรค์สร้างจินตนาการสู่ภาษาและ “เพลงหรรษาภาษาสนุก ชุดที่ 1[4] เป็น นวัตกรรมหรือตัวอย่างเครื่องมือเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่เน้นการผสมผสานระหว่างบทเพลงและดนตรีที่ผ่านการสร้างสรรค์จังหวะทำนองให้ เหมาะสมกับเด็ก โดยคัดสรรเพลงร้องปากเปล่าที่ถ่ายทอดต่อๆ กันมา เพลงคุ้นหูที่ใช้ร้องเล่น และมีท่าเต้นหรือลีลาเคลื่อนไหวประกอบอย่างสนุกสนาน นำมาต่อยอดสร้างสรรค์ออกมาเป็นภาพประกอบเนื้อเพลงในรูปแบบของหนังสือ เป็นการเชื่อมวงจรคำ เข้ากับสุนทรียภาพ เด็กจะได้ซึมซับความงามของดนตรีและศิลปะ พร้อมไปกับการพัฒนาพื้นฐานทางภาษา และการจดจำบรรยากาศที่งดงามนี้ไว้ นอกจากนี้ เด็กต้องใช้สมาธิในการฟัง คิดตาม และจินตนาการ เป็นการกระตุ้นเซลล์ประสาทของเด็ก ให้แตกแขนงออกได้มากมาย การที่ดึงความทรงจำออกมาต่อยอดกับภาพการเรียนรู้ใหม่ ทำให้เซลล์สมองของเด็กได้เชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น ความสามารถในการคิด และการเรียนรู้จึงพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น การตกผลึกความคิดในตนเองผ่านสื่อนี้ จะก่อเกิดเป็นวงจรความทรงจำระยะยาว เมื่อเด็กๆ โตขึ้นได้รับโอกาสพัฒนาความรู้ทางภาษาเพิ่มขึ้น เช่น การเรียนรู้โครงสร้างทางภาษาและหลักการใช้ภาษา เขาจะมีความสนใจเพิ่มขึ้น สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น ด้วยการเชื่อมโยงจากประสบการณ์ที่เคยได้รับรู้ตั้งแต่ปฐมวัย
แนวทางในการใช้หนังสือชุด ร้อง เต้น เล่น อ่าน ...สรรค์สร้างจินตนาการสู่ภาษา”   และซีดีเพลง “เพลงหรรษาภาษาสนุก ชุดที่ 1” เพื่อวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างพัฒนาการและจัดระบบประสบการณ์ให้กับเด็ก ทำให้เด็กได้มีโอกาสใช้ทักษะทางปัญญาในการฝึกทักษะการฟัง การจดจำ การแก้ปัญหา การฝึกวินัย การพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ รวมทั้งได้เรียนรู้จักดนตรีซึ่งเป็นภาษาธรรมชาติ และเป็นการปูพื้นฐานสู่สาระและทักษะต่างๆ โดยเฉพาะพื้นฐานทางภาษา คุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูทำได้โดย
1.ร้อง: เปิดเทป/ซีดีเพลงฟังไปพร้อมกับเด็ก แล้วชวนกันร้องเพลง ทำซ้ำบ่อยๆ ให้เด็กคุ้นชินและจดจำเพลงได้ การร้องเพลงเป็นการฝึกฝนวิธีการเปล่งเสียง ช่วยพัฒนาการพูดและการออกเสียงที่ชัดเจน
2.เต้น: สอนเด็กเคลื่อนไหวทำท่าประกอบเพลง มุ่งที่การใช้ประสาทสัมผัสทุกส่วน การพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็ก การเสริมสร้างสมดุลสมองสองซีก การกระตุ้นเซลล์สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่ช่วยให้เด็กได้ ปรับตัวเข้าหาสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ พร้อมไปกับการถ่ายทอดความเข้าใจในภาษา และควรมีช่วงให้เด็กคิดท่าเต้นประกอบเสียงดนตรี หรือบทเพลงตามจินตนาการของตนเองด้วย เพื่อช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และกระตุ้นให้สมองกระปรี้กระเปร่า การทำกิจกรรมดนตรี ช่วยให้เด็กได้แสดงออกถึงความรู้สึกของตัวเองได้อย่างตรงไปตรงมา เป็นพื้นฐานการจัดการอารมณ์ของตนเอง และจัดการความสัมพันธ์กับผู้อื่น
3.เล่น: ชวนเด็กทำกิจกรรมศิลปะจากเพลง ด้วยการเล่นสี ระบายสี ลากวาด ขีดเขียน ปั้น ฉีก/ตัด ปะ พับ ฯลฯ การเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนทำให้เด็กได้เรียนรู้ถึง มิตรภาพ การแบ่งปัน การวางแผน และการทำงานเป็นกลุ่ม นอกจากนี้ การเล่นอาจทำได้โดยการแตกกิจกรรมจากเพลง ด้วยการร้องโต้ตอบไปมา การสร้างสรรค์ท่าเต้นตามจังหวะเพลง การเคลื่อนไหวอย่างมีวัตถุประสงค์ การฝึกทักษะต่างๆ จากเพลง
4.อ่าน: ใช้เทคนิคการอ่านนิทาน ด้วยการอ่านให้ฟัง อ่านให้ดู อ่านด้วยกัน อ่านเป็นกลุ่ม ให้อ่านเอง เป็นต้น ในขณะที่เด็กอ่าน/มองเนื้อเพลง สมองซีกซ้ายจะทำงาน ขณะที่เด็กกำลังสนุกสนานเพลิดเพลินและสัมผัสความไพเราะของดนตรี สมองซีกขวาก็จะทำงานควบคู่กันไป
5.สรรค์สร้างจินตนาการ พัฒนากระบวนการคิด และเสริมสร้างประสบการณ์สู่ทักษะต่างๆ: เช่น
          เกมคิดแก้ไขปัญหา เช่น ถ้าเห็นลูกช้างตกน้ำ หนูจะทำอย่างไรเด็กบางคนอาจจะบอกว่า ยื่นกิ่งไม้ให้ลูกช้างใช้งวงจับหรือบางคนอาจจะบอกว่า ไปเรียกผู้ใหญ่มาช่วยลากผู้ใหญ่ ต้องไม่ใช้ตัวเองไปประเมินหรือตัดสินคำตอบของเด็กว่าผิดหรือถูก เนื่องจากเด็กจะตอบไปตามประสบการณ์ที่ตนเองเคยเห็นหรือเคยได้ยินมา ถ้าคุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูเห็นว่าคำตอบของเด็กยังไม่ชัดเจนนัก หรืออยากเพิ่มประสบการณ์แปลกใหม่ให้เด็ก ก็ควรพูดคุยและเสริมความคิดให้เขาแทนการตำหนิ
          กิจกรรม การฟัง เช่น ฟังเสียงต่างๆ รอบตัว บอกว่าเป็นเสียงอะไร ฟังจังหวะ-เสียงสูงต่ำ-ระดับเสียง-ทำนองเพลง-ชนิดเครื่องดนตรีหลากหลาย แยกแยะ/จำได้  เลียนแบบ การทำท่าลีลาประกอบจังหวะทำนองตามจินตนาการ หรือตามคำสั่ง ฯลฯ
          กิจกรรม ดนตรี-จังหวะ-เพลง เช่น ต่อเพลง ร้องเพลงตอบโต้-วน-ประสานเสียง แต่งเพลง การทำอุปกรณ์ประกอบจังหวะจากวัสดุใกล้ตัว/เครื่องดนตรีประดิษฐ์เอง การทดลองเล่นเครื่องดนตรี ฯลฯ
          กิจกรรม เพื่อพัฒนาพื้นฐานทางภาษา เช่น ออกเสียงเพื่อฝึกฐานเสียงต่างๆ ในภาษาไทย (จากคอ จากเพดานปาก จากกระพุ้งแก้ม จากปุ่มเหงือก จากริมฝีปาก กระดกลิ้น รัวลิ้น เป็นต้น) ใช้อวัยวะต่างๆ เขียนตัวอักษรในอากาศ ใช้มือหรือนิ้วลากเส้นและเขียนตัวอักษรในน้ำ/บนทราย ขีดเขียนลากวาดประกอบเพลง การจับคู่ตัวอักษรกับภาพ ฯลฯ
ดัง นั้น การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางด้านภาษาในระดับปฐมวัยนั้น ควรมุ่งที่การสนับสนุนและส่งเสริมจินตนาการของเด็ก ผ่านกิจกรรมสนุกๆ ด้วยเสียงเพลง การเคลื่อนไหว การเล่นและเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัส ส่งเสริมกระบวนการคิดและการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดภาพความคิด  เปิด โอกาสให้เด็กๆ ได้ใกล้ชิดภาษาผ่านนิทาน คุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูควรหาวิธีการที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่ เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้น ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิดหรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือ ที่เลือกมาอ่านให้ฟัง การจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ที่บ้าน/ในชั้นเรียน เพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอ เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ ซึ่งผู้ใหญ่ไม่จําเป็นต้องสอนให้เด็กอ่านออกในทันที การเขียนก็เช่นกัน เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เขียนตัวพยัญชนะ คํา ประโยค ตามที่ได้รับคำสั่ง ผู้ใหญ่ควรเข้าใจว่า เด็กจะแสดงความต้องการให้เห็นว่า เขาต้องการเขียนสิ่งที่มีความหมาย สิ่งที่เขาต้องการสื่อสารอยากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ การเขียนในระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิด ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบ จะเห็นว่าในระยะแรกเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิกคล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบาง คําได้ แต่ยังไม่ถูกต้อง ผู้ใหญ่จึงควรค่อยๆ ส่งเสริมความคิดความต้องการเขียนหนังสือของเด็ก โดยไม่ตําหนิให้เด็กแก้ไขสิ่งที่เขียนผิดในทันที แต่จะแนะให้เด็กสังเกตจากตัวอย่างต่างๆ ที่เด็กพบเห็นบ่อยๆ การสังเกตจะช่วยให้เด็กปรับการเขียนให้ถูกต้องได้ โดยไม่เกิดความรู้สึกผิดหรือถูกลงโทษ ซึ่งอาจจะมีผลทางทัศนคติของเด็กได้มาก
 
แนวแนะสำหรับเพลงและนิทานภาพเพลง “เป็ดอาบน้ำ”
          เพลง “เป็ดอาบน้ำ” เป็นเพลงร้องเล่นปากเปล่าของไทยที่ถ่ายทอดมาหลายชั่วอายุคน คุณพ่อคุณแม่จะร้องและทำท่าเล่นกับลูกๆ ตั้งแต่เป็นวัยทารกวัยเตาะแตะ นับเป็นเพลงที่มีคำคล้องจองง่ายๆ เพลงแรกๆ ของเด็กก็ว่าได้ เพลงนี้เป็นเพลงเก่าไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
          คุณพีรสันติ จวบสมัย โดยแผนงานสนับสนุนการพัฒนาเด็กปฐมวัย สสส. ได้เรียบเรียงดนตรีใหม่ ด้วยเสียงอันไพเราะของคุณอรนิดา วิมลวัฒนาภัณฑ์ (เอ๋ XYZ) และ ด.ญ.ปรัชญ์อมร  จวบ สมัย และลีลาเพลงที่ชวนให้เด็กๆ เชื่อมโยงประสบการณ์เดิม ชวนให้ร้องและออกท่าทางสนุกสนานกันอีกครั้ง เมื่อนำมาประกอบกับหนังสือภาพ ที่มีสีสันและเส้นสายสวยงาม โดยคุณสุดไผท เมืองไทย เด็กๆ ก็จะเพลิดเพลินไปกับการ “อ่านเพลง” อย่างมีความหมายและมีความสุข คำซ้ำและคำคล้องจองในเนื้อเพลง ทำให้เด็กเรียนรู้วงจรคำได้อย่างง่ายดาย
          การ ต่อยอดการเรียนรู้ คุณพ่อคุณแม่และคุณครูอาจเสริมด้วยนิทานเรื่องอื่นๆ ที่มี เป็ด ปลา ปู หอย เพื่อทวนซ้ำคำเหล่านี้อย่างเป็นธรรมชาติ รวมถึงการใช้เพลงอื่นในทำนองเดียวกัน การทำกิจกรรมศิลปะ และการเล่นเกมการศึกษา รวมถึงการบูรณาการการฝึกสังเกต เช่น “คำว่า เป็ด ปู ปลา มีอะไรที่เหมือนกัน” เป็นต้น ก็จะเป็นการเสริมวงจรการเรียนรู้ให้หนาแน่นขึ้นได้

ก้าบ ก้าบ ก้าบ เป็ดอาบน้ำในคลอง
ตาก็จ้องแลมอง เพราะในคลองมีหอย ปลา ปู
ก้าบ ก้าบ ก้าบ เป็ดอาบน้ำในคู
ตาก็จ้องแลดู เพราะในคูมีหอย ปู ปลา.

แนวแนะสำหรับเพลงและนิทานภาพเพลง “ช้าง”
เพลง “ช้าง” เป็นเพลงร้องเล่นปากเปล่าของไทย ทำนองเพลงพม่าเขว ประพันธ์เนื้อเพลงโดย คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ประจำปีพุทธศักราช 2530 ท่าน เป็นผู้ประพันธ์ทำนองและบทร้องเพลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีคุณประโยชน์ยิ่งในวงการศึกษาไทย นับตั้งแต่เด็กระดับก่อนวัยเรียนไปจนถึงระดับอุดมศึกษา
เพลง นี้เป็นเพลงที่นิยมมาหลายชั่วอายุคน คุณพ่อคุณแม่และคุณครูมักจะร้องเล่นกับเด็กๆ และทำท่าเคลื่อนไหวกันอย่างสนุกสนาน ทำนองเพลงพม่าเขวนับเป็นทำนองเพลงคลาสสิกของไทย ฟังสนุกไม่เบื่อ เป็นเพลงที่มีผู้นิยมนำมาใส่เนื้อร้องต่างๆ การเรียบเรียงดนตรีใหม่โดยคุณพีรสันติ จวบสมัย ได้เพิ่มลีลาให้ผู้ใหญ่และเด็กคือ คุณอรนิดา วิมลวัฒนาภัณฑ์ (เอ๋ XYZ) และ ด.ญ.ปรัชญ์อมร  จวบสมัย ร้องด้วยกัน แบบที่เรียกว่า “โยนเพลง” หรือ “ต่อเพลง”
หนังสือนิทานภาพเพลง “ช้าง” นี้ ทำภาพโดยคุณศุภสิทธิ์  พลอยบุษย์   ด้วยเทคนิคการตัดเย็บการต่อผ้า (Patchwork) การตัดปะผ้า (Appliqué) และการเย็บบุผ้า (Quilting) ทำให้เด็กๆ เรียนรู้คำง่ายๆ จากเนื้อเพลงอย่างสนใจ ทั้งเด็กๆ ก็จะได้เรียนรู้ทักษะการถ่ายทอดความหมายอย่างง่ายๆ ผ่านลักษณะเด่นของสิ่งนั้นๆ ตามตัวอย่างในเพลง คุณพ่อคุณแม่และคุณครูควรเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ ให้เด็กได้ฝึกการบอกเล่าองค์ประกอบของสัตว์หรือสิ่งต่างๆ อย่างอื่นเพิ่มเติมด้วย
ควรต่อยอดจากความสนุกด้วยการเรียนรู้ผ่าน “ช้าง” ไปสู่การพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ
·       ทักษะทางสังคมและการทำงานกลุ่มด้วยความคิดสร้างสรรค์ เช่น ร้องเพลงช้างแล้วจับกลุ่ม (3 – 4 - 5 หรือหลายคน) ต่อตัวเป็นช้าง เป็นต้น
·       ทักษะกระบวนการคิด เช่น การคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย “ช้างมีงาทุกตัวหรือไม่ แตกต่างอย่างไร” การคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ “ช้าง มีลักษณะอย่างไรบ้าง แล้วเสือล่ะ มีลักษณะอย่างไร”  การคิดแก้ปัญหา “จะช่วยลูกช้างที่ตกน้ำได้อย่างไร” “จะแก้ปัญหาช้างเร่ร่อนในเมือง อย่างไรดี”  การคิดแบบตั้งสมมุติฐาน “ถ้าช้างมาเดินที่ถนน จะเกิดอะไรขึ้น”   การคิดแบบเร้าคุณธรรม “เด็กๆ รู้สึกอย่างไรคะ ที่มีการล่าช้างเพื่อเอางามาทำสิ่งของ” เป็นต้น
·       พื้น ฐานทางภาษา เช่น การใช้มือหรืออวัยวะต่างๆ ขีดเขียนบนอากาศ-ทราย-น้ำ เป็นเส้น เป็นภาพ หรือเป็นตัวอักษร จนเกิดความคุ้นชิน และอยากที่จะเขียนเองบ้างบนกระดาษ
·       การทบทวนความทรงจำ เช่น “เสียงร้องของช้างเป็นอย่างไร” “ลองส่งเสียงเลียนเสียงสัตว์ต่างๆ” “มีตรงไหนของคำนี้ ของป้ายนี้ ที่มีอักษร บ้าง” เป็นต้น

ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง  ช้าง
น้องเคยเห็นช้างรึเปล่า
ช้างมันตัวโตไม่เบา
จมูกยาวยาว เรียกว่างวง
มีเขี้ยวใต้งวง เรียกว่างา
มีหูมีตา หางยาว.


แนวแนะสำหรับเพลงและนิทานภาพเพลง “แมงมุมลาย”
          เพลง “แมงมุมลาย” เป็นเพลงร้องเล่นปากเปล่าของไทยอีกเพลงหนึ่งที่นิยมรุ่นต่อรุ่น คุณพ่อคุณแม่จะร้องและทำท่าเล่นกับลูกๆ ตั้งแต่เป็นวัยเตาะแตะ และเมื่อแรกเข้าโรงเรียน คุณครูก็จะชวนเด็กๆ ร้องทำท่าตามเพลงนี้ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อมือ เพลงนี้เป็นเพลงเก่าไม่ปรากฏนามผู้แต่ง สันนิษฐานว่าแปลมาจากเพลงภาษาอังกฤษ "Itsy Bitsy Spider" ได้ยินครั้งแรกในโรงเรียนอนุบาลในช่วงปีพุทธศักราช 2517 ครูอนุบาลในโรงเรียนอนุบาลสอนนักเรียนให้ร้องตาม
          คุณ พีรสันติ จวบสมัย โดยแผนงานสนับสนุนการพัฒนาเด็กปฐมวัย สสส. ได้เรียบเรียงดนตรีใหม่ให้อารมณ์ความรู้สึกอบอุ่นสดชื่น จังหวะทำนองและเสียงของเครื่องดนตรีชวนให้อยากขยับมือขยับร่างกายโยกย้ายไป ตามเพลง ช่วงที่เป็นท่อนกลางมีแต่เสียงดนตรี คุณพ่อคุณแม่และคุณครูอาจชวนให้เด็กสร้างสรรค์ ด้วยการทำท่าอิสระไปตามเสียงดนตรี หรือจับคู่มีผู้นำผู้ตามทำท่าเลียนแบบเป็นเงาในกระจกของกันและกัน หรือทำท่าตามกันคล้ายเป็นเงาของกัน เพลงนี้ขับร้องใหม่โดยคุณอรนิดา วิมลวัฒนาภัณฑ์ (เอ๋ XYZ) และ ด.ญ.ปรัชญ์อมร  จวบสมัย
          ด้วย เนื้อเพลงที่เป็นบทกวีสั้นๆ มีสัมผัสคล้องจอง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เด็กๆ จึงสามารถจดจำและร้องตามได้อย่างรวดเร็ว จะเป็นประสบการณ์เดิมที่ฝังจำ ทั้งยังช่วยกระตุ้นความสนใจ เมื่อคำศัพท์ได้ถูกร้องและทวนซ้ำอยู่เรื่อยๆ จะเป็นการทบทวนในสิ่งที่เด็กเพิ่งได้เรียนรู้มา และง่ายต่อการเชื่อมโยง เมื่อนำมาประกอบกับหนังสือภาพ ที่มีสีสันและเส้นสายสวยงาม โดยคุณสุดไผท เมืองไทย ทำให้การ “อ่านเพลง” ของเด็กๆ มีความหมายและมีความสุข และส่งเสริมให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะอ่านเพลง อ่านนิทาน หรือข้อความอื่นๆ ต่อไป ทำให้การสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แมงมุมลายตัวนั้น
ฉันเห็นมันซมซานเหลือทน
วันหนึ่งมันถูกฝน
ไหลหล่นจากบนหลังคา
พระอาทิตย์ส่องแสง
ฝนแห้งเหือดไปลับตา
มันรีบไต่ขึ้นฟ้า
หันหลังมาทำตาลุกวาว.

The itsy-bitsy spider
Climbed up the water spout
Down came the rain
And washed the spider out
Out came the sun
And dried up all the rain
And the itsy-bitsy spider
Climbed up the spout again.

แนวแนะสำหรับเพลงและนิทานภาพเพลง “เสียงอะไร”
เพลง “เสียงอะไร” เป็นเพลงในอัลบั้ม ก ไก่ ร็อกเก้ ประพันธ์เนื้อเพลงและทำนองโดย คุณประชา พงศ์สุพัฒน์ ผู้ดูแลวง แกรนด์ XYZ และวง XYZ ใน อดีต รวมทั้งผลงานประพันธ์เพลงอีกมากมาย อาทิ เพลงบังอรเอาแต่นอน ของอัสนี-วสันต์ เพลงโอ๊ะ...โอ๊ย ของทาทา ยัง เพลงวัตถุไวไฟ ของวงไมโคร เพลงเขียนไว้ข้างเตียง ของปอย Portrait ฯลฯ
คุณ พีรสันติ จวบสมัย โดยแผนงานสนับสนุนการพัฒนาเด็กปฐมวัย สสส. ได้เรียบเรียงดนตรีใหม่ คงเนื้อร้องและใส่เสียงจริง พร้อมเว้นช่วงให้เด็กๆ ได้ทายเสียงต่างๆ 3 เสียง (โทรศัพท์ นก รถไฟ) ทั้งในช่วงท้ายเพลงได้มีการมิกซ์เสียงต่างๆ ที่คุ้นชิน เช่น เสียงสัตว์ต่างๆ เสียงธรรมชาติ เสียงสิ่งต่างๆ รอบตัว เพื่อเสริมทักษะในการฟังของเด็กๆ ให้รู้จักสังเกตโดยเฉพาะประสาทสัมผัสทางการได้ยิน พร้อมกับการทวนความทรงจำเสียงต่างๆ เหล่านั้น เราจึงไม่จำเป็นต้องเน้นที่จะต้องได้คำตอบว่า “ทั้งหมดมีกี่เสียง” หรือหาคำตอบที่ถูกต้องว่า  “เสียงนี้คือเสียงอะไร”  แต่เราจะมุ่งที่กระบวนการการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ชวนให้เด็กเชื่อมโยงความทรงจำและประสบการณ์เดิม ด้วยการถามว่า “ได้ยินเสียงอะไรบ้าง” เพราะการที่เด็กอาจจะยังตอบมาได้ไม่ครบทั้งหมด อาจเป็นเพราะเขายังมีสมาธิในการฟังไม่เพียงพอ หรือขาดประสบการณ์ ไม่รู้จักเสียงบางชนิด คุณพ่อคุณแม่และคุณครูจะได้ใช้โอกาสนี้เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาทักษะของ เด็กๆ ต่อไป
คุณอรนิดา วิมลวัฒนาภัณฑ์ (เอ๋ XYZ) และ ด.ญ.ปรัชญ์อมร  จวบสมัย ร้องเพลงนี้ใหม่ และคุณนันทวัน วาตะ วาดภาพประกอบเพลงนี้ ให้เด็กๆ ได้เพิ่มวงจรคำเชื่อมโยงกับวงจรเสียง และชุดประสบการณ์เดิม ทั้ง ยังชวนสนุกให้คิดตาม ด้วยการทายภาพ หนังสือนิทานเพลง “เสียงอะไร” จึงเป็นตัวอย่างนวัตกรรมสื่อเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับเด็กปฐมวัย ที่อาจเป็นต้นแบบ ก่อเกดแรงนดาลใจให้คุณครูสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มาสนุกกับเด็กๆ


เดินไป  ฟังไป  เสียงอะไร  ต่ออะไร
เสียงเล็ก  เสียงใหญ่ แวบไป  แวบมา
 เดินไป  ฟังไป   เสียงอะไรนักหนา  ใครรู้ก็บอกมา
ทายมาได้เลย ...ฟังนะ
(กริ๊ง.....)  โทรศัพท์

เดินไป  ฟังไป  เสียงอะไร  ต่ออะไร
เสียงเล็ก  เสียงใหญ่ แวบไป  แวบมา
เดินไป  ฟังไป   เสียงอะไรนักหนา  ใครรู้ก็บอกมา
ทายมาได้เลย ...ฟังนะ
(จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ).............. นก

เดินไป  ฟังไป  เสียงอะไร  ต่ออะไร
เสียงเล็ก  เสียงใหญ่ แวบไป  แวบมา
เดินไป  ฟังไป   เสียงอะไรนักหนา  ใครรู้ก็บอกมา
ทายมาได้เลย ...ฟังนะ
(ฉึกฉัก ฉึกฉัก ... ปู๊น ปู๊น ปู๊น ปู๊น .....) รถไฟ.

แนวแนะสำหรับเพลงและนิทานภาพเพลง “แม่ไก่ออกไข่”
          เพลง “แม่ไก่ออกไข่” เป็นเพลงสำหรับเด็กอนุบาลที่คุณครูนำมาร้องเล่นอย่างแพร่หลายเพลงหนึ่ง  ผล งานประพันธ์โดย อาจารย์ศรีนวล รัตนสุวรรณ ผู้ประพันธ์เพลงสำหรับเด็กที่รู้จักกันดีไว้มากมาย มีการนำมาเผยแพร่สู่สาธารณะ ในอัลบั้ม ร้องเล่นเต้นเพลงอนุบาล 2 – ลูกสัตว์ ของศิลปิน สองวัย ที่เรียบเรียงเสียงประสานโดย คุณกิตติพงษ์ ขันธกาญจน์ (น้าต้อม)
          เนื้อ เพลงนอกจากจะเป็นการใช้คำใช้ประโยคซ้ำๆ ทำให้เด็กคุ้นชินที่จะร้องและนำคำนำประโยคไปใช้แล้ว ยังเป็นการเชื่อมโยงกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลง่ายๆ การเรียบเรียงดนตรีใหม่โดย     คุณพีรสันติ จวบสมัย ด้วยการแนะนำของทีมงานนักวิชาการ จากแผนงานสนับสนุนการพัฒนาเด็กปฐมวัย สสส.  ได้นำเสนอให้คุณพ่อคุณแม่และคุณครูได้ลอง “เล่นกับเพลง เล่นกับเด็ก” ผ่านการร้องสนุกสนานโดยคุณอรนิดา วิมลวัฒนาภัณฑ์ (เอ๋ XYZ) และ ด.ญ.ปรัชญ์อมร  จวบ สมัย มีการฝึกทักษะการฟัง และฝึกปฏิบัติเพื่อเชื่อมโยงจำนวนครั้งของเสียงที่ได้ยินกับสัญลักษณ์ของคำ ที่แทนตัวเลข หนึ่ง สอง สาม ...... นอกจากนี้ การร้องเล่นด้วยการโยนคำถาม ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งนอกจากจะชวนให้เด็กสนุกและมีส่วนร่วมแล้ว ยังเป็นการสอบทานความเข้าใจของเด็กๆ ได้
          เมื่อนำมาประกอบกับหนังสือภาพโดยคุณนันทวัน วาตะ มีลูกเล่นการ “แอบคุยกับเด็ก” เด็กๆ ก็จะเพลิดเพลินไปกับการ “อ่านเพลง” อย่างมีความหมาย มีความสุข ท้าทาย และสนใจที่จะค้นหาเรียนรู้ คุณครูอาจนำมาทำเป็นหนังสือเล่มใหญ่ (Big Book) โดย ให้เด็กๆ มีส่วนร่วม เช่น ระบายสี ช่วยทำไข่ ฯลฯ เพิ่มวงจรการเรียนรู้ด้วยบัตรคำเพื่อเรียนรู้สัญลักษณ์ตัวเลขตัวอักษร นำเข้าสู่นิทานเล่มอื่น หรือกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ อย่างบูรณาการ รวมทั้งการพัฒนาการอ่านการเขียนอย่าง “ซึมลึก” ที่กระตุ้นการอยากอ่านอยากเขียนภายในตัวของเด็กๆ ก็จะเป็นการต่อยอดการเรียนรู้ที่เกิดจากการเต็มใจใคร่รู้ของผู้เรียน ทำให้ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้สูงขึ้น

แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน สองวันได้ไข่สองฟอง
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน สามวันได้ไข่สามฟอง
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน สี่วันได้ไข่สี่ฟอง
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน ห้าวันได้ไข่ห้าฟอง
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน หกวันได้ไข่หกฟอง
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน เจ็ดวันได้ไข่เจ็ดฟอง
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน แปดวันได้ไข่แปดฟอง
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน เก้าวันได้ไข่เก้าฟอง
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน สิบวันได้ไข่สิบฟอง.

แนวแนะสำหรับเพลงและนิทานภาพเพลง “ไก่ฟักไข่”
          เพลง “ไก่ฟักไข่” ประพันธ์เนื้อร้องและทำนองโดย คุณศักดิ์สิริ มีสมสืบ (น้าไวท์) นักเขียนและนักแต่งเพลงภาษาสวย เพลงนี้อยู่ในอัลบั้ม FM 105 คลื่นวิทยุเพื่อเด็กและครอบครัว เพื่อเปิดตัวคลื่นวิทยุไร้โฆษณา สนับสนุนโดย สสส. โดยมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว 
คุณพีรสันติ จวบสมัย ได้เรียบเรียงดนตรีใหม่ โดยมีคุณอรนิดา วิมลวัฒนาภัณฑ์ (เอ๋ XYZ) และ ด.ญ.ปรัชญ์อมร  จวบสมัย ช่วย ขับร้อง เพลงนี้เน้นการชวนเด็กๆ ให้รู้จักและลองใช้วลีประโยคสั้นๆ พร้อมกับการซึมซับคุณธรรม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผ่านเพลง ควบคู่ไปกับหนังสือนิทานภาพเพลงเดียวกันนี้ที่มีสีสันและเส้นสายสวยงาม โดยคุณสุดไผท เมืองไทย ที่ “แอบคุย” กับเด็กๆ ก่อให้เกิดการปรับพฤติกรรมอย่างเป็นธรรมชาติ
          คุณพ่อคุณแม่และคุณครูอาจแปลกใจที่เด็กๆ จะเตือนกันเองเมื่อมีใครทำเสียงดังเกินควร ด้วยการใช้วลี “อย่ากระโต๊กกระต๊ากนะ..... จำไว้หนูต้องเงียบๆ”
          การ เลือกเพลงและนิทานที่มีวลีซ้ำๆ น่าสนใจ จะทำให้เด็กลองนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน การสื่อสารด้วยความหมายที่ถูกต้องเป็นพื้นฐานสำคัญของทักษะทางภาษา เพลงและนิทานเป็นสื่อที่ช่วยให้เด็กๆ มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความเชื่อมั่น กล้าแสดงออก มีวินัยในตนเอง รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ประหยัด เมตตากรุณา เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน มีมารยาท ทั้งนี้ผู้ใหญ่ต้องเสริมโดยการจัดกิจกรรมต่างๆ  ผ่านการเล่นให้เด็กได้มีโอกาสตัดสินใจเลือก ได้รับการตอบสนองตามความต้องการ ได้ฝึกปฏิบัติโดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม

อย่ากระโต๊ก กระต๊ากนะ อย่ากระโต๊ก กระต๊าก
ไก่กำลังฟักไข่ จำไว้หนูต้องเงียบเงียบ
ไข่จะเป็นลูกเจี๊ยบ หนูอย่ากระโต๊ก กระต๊าก (ซ้ำ 2 ครั้ง)
ไข่จะเป็นลูกเจี๊ยบ หนูอย่ากระโต๊ก กระต๊าก (ซ้ำ 2 ครั้ง).

แนวแนะสำหรับเพลงและนิทานภาพเพลง “มดตัวน้อยตัวนิด”
          เพลง “มดตัวน้อยตัวนิด” เป็นเพลงในอัลบั้ม โบว์สีชมพู (2528) ประพันธ์เนื้อเพลงและทำนองโดย คุณประชา พงษ์สุพัฒน์ เรียบเรียงเสียงประสานเดิมโดย คุณอิทธิ พลางกูร
          คุณ พีรสันติ จวบสมัย ได้เรียบเรียงดนตรีใหม่ ที่ยังคงลีลาและจังหวะเพลงกระตุ้นให้เด็กๆ กระฉับกระเฉง ขับร้องโดยคุณอรนิดา วิมลวัฒนาภัณฑ์ (เอ๋ XYZ) และ ด.ญ.ปรัชญ์อมร  จวบสมัย เมื่อประกอบกับหนังสือนิทานเพลงภาพ โดยคุณศุภสิทธิ์ พลอยบุษย์ ที่ใช้เทคนิคการตัดเย็บการต่อผ้า (Patchwork) การตัดปะผ้า (Appliqué) และการเย็บบุผ้า (Quilting) ที่มีลวดลายสีสันสะดุดตา จึงช่วยเร้าความสนใจและการตื่นตัวให้เด็กๆ อยากที่จะหยิบจับหนังสือเล่มนี้มาชมมาดูมาอ่าน และเกิดความคุ้นชินที่จะเลือกหนังสือเล่มอื่นๆ เพิ่มขึ้น

มดตัวน้อยตัวนิด มดตัวน้อยตัวนิด
มดมีฤทธิ์น่าดู
มาเร็วเร็ว กันหน่อย ไปทำงานกันหน่อย ยู้ฮู ยู้ฮู
ฉันเป็นมดขยัน ฉันเป็นมดขยัน
มดทั้งนั้นน่าดู อู้ฮู อู้ฮู
งานเราไม่เคยหวั่น ทำงานกันสนุก ยู้ฮู ยู้ฮู.

แนวแนะสำหรับเพลงและนิทานภาพเพลง “พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง”
          เพลง “พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง” เป็นเพลงในอัลบั้ม พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง ประพันธ์เนื้อเพลงและทำนองโดย คุณภัทรจารีย์ อัยศิริ (น้านิต)
          การเรียบเรียงดนตรีใหม่อีกครั้งโดยคุณพีรสันติ จวบสมัย และการ “เล่าเพลง” โดยคุณอรนิดา วิมลวัฒนาภัณฑ์ (เอ๋ XYZ) และ ด.ญ.ปรัชญ์อมร  จวบสมัย ทำให้เด็กๆ ฟังเพลงที่มีเนื้อเพลงยาวๆ คล้ายการฟังนิทาน เขาจะมีจินตนาการไปตามเนื้อหาและเสียงดนตรี เกิดความพอใจ เกิดการเข้าใจและจดจำได้เอง โดยไม่ต้องมีการบังคับ ขณะที่เด็กร้องเพลงและทำลีลาตามจินตนาการ เด็กจะมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้เพิ่มขึ้น
          ดนตรี ช่วยสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจ และมโนคติกับเด็กในเรื่องต่างๆ เช่น ธรรมชาติศึกษา คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา และทักษะด้านภาษา เมื่อเรามาต่อยอดด้วยการเรียนรู้สาระอื่นๆ เขาจะเต็มใจ และเรียนรู้อย่างสนใจ เข้าใจความหมายมากขึ้น
          หนังสือ นิทานภาพเพลง “พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง” นี้ อาจารย์ปรีดา ปัญญาจันทร์ ได้วาดภาพด้วยลายเส้นง่ายๆ ชวนให้เด็กๆ รู้สึกนึกคิดไปถึงอารมณ์เพลงที่อบอุ่น ทำให้การรับรู้คำและข้อความของเนื้อเพลง ที่เป็นตัวอักษรปรากฏบนหนังสือนั้นเป็นไปอย่างมีสุนทรียะ เป็นการเรียนรู้ด้วยความสุข

โผล่มาจากขอบฟ้า   เขามาในยามเช้า
ส่องแสงให้เรา อบอุ่นสบาย
เขาลอยข้ามเราไป จมหายไปในยามเย็น
พรุ่งนี้เราก็จะเห็น เขาโผล่อีกทีที่เดิม
พระอาทิตย์ ยิ้มแฉ่ง แก้ม   แด๊งแดง
แต่งตัว ทาแป้งโผล่มา ยามเช้าตรู่  ฮู๊ ฮู
พระอาทิตย์ ยิ้มแฉ่ง แก้ม   แด๊งแดง
แต่งตัว ทาแป้งโผล่มา ส่งยิ้มให้คุณหนู
ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่.
         
แนวแนะสำหรับเพลงและนิทานภาพเพลง “เมฆฝน”
          เพลง “เมฆฝน” เป็นเพลงในอัลบั้ม พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง ประพันธ์เนื้อเพลงและทำนองโดย คุณภัทรจารีย์ อัยศิริ (น้านิต)
          การ เรียบเรียงดนตรีใหม่ พัฒนาจากที่เรียบเรียงไว้เดิม คุณพีรสันติ จวบสมัยได้เลือกเครื่องดนตรีและทำเสียงดนตรี ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมไปตามเพลง และจินตนาการไปกับการบอกเล่าผ่านเพลง เมื่อได้ฟังเพลงประกอบเสียงร้องของคุณอรนิดา วิมลวัฒนาภัณฑ์ (เอ๋ XYZ) และ ด.ญ.ปรัชญ์อมร  จวบสมัย เด็กๆ คงอยากขยับแข้งขามือไม้และร่างกาย โยกย้ายไปตามเพลง คุณครูอาจชวนเด็กๆ ทำท่าตามประกอบเพลง แล้วเด็กๆ ก็นำไปถ่ายทอดสอนให้คุณแม่คุณพ่อที่บ้าน คุณครูอาจไม่ต้องคิดท่าให้เด็กก็ได้ ลองชวนเขาให้ช่วยกันคิดท่าของเพลงนี้ขึ้นมา ก็จะเป็นการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม ที่สนุกทั้งผู้เรียนและผู้สอน ทั้งเป็นการเรียนรู้ผ่านการทำงานของสมองหลายส่วนแบบบูรณาการ เมื่อมาใช้เป็นสื่อประกอบกับหนังสือนิทานเพลงภาพ โดยคุณศุภสิทธิ์  พลอยบุษย์   ที่ใช้เทคนิคการตัดเย็บการต่อผ้า (Patchwork) การตัดปะผ้า (Appliqué) และการเย็บบุผ้า (Quilting) ทำให้เด็กเรียนสิ่งที่เป็นสาระด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลินไม่เบื่อหน่าย เพราะเป็นการได้รับความรู้จากบทเพลง คละเคล้าไปกับการเล่นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ความจำของเด็กได้ดียิ่งขึ้น  

ป่อง ป๊อง ป่อง ตะลุบตุ๊บป่อง เมฆตัวพองลอยอยู่บนฟ้า
ตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง ตะลุบ ตุ๊บป่อง เมฆตัวพองลอยล่องนภา
อยู่บนนั้นมันเย็นไปหน่อย เมฆเลยต้องลอยกอดกัน
เมฆใหญ่ใหญ่ อ้วนอ้วน ทั้งนั้น กอดกัน  เลยยิ่งอ้วนใหญ่
ท่าทาง   จะลอยไม่ไหว ร้องบอกกันใหญ่ ....
ให้ช่วยกันลดน้ำหนัก ….
เลยพากันแยก  แตกเป็นเม็ดฝน ทิ้งตัวลงบนพื้นดิน
ชุ่มฉ่ำใจ เม็ดฝนพร่างพราย ก้อนเมฆกระจาย  เห็น...ไหม
เขาโบกมือ บ๊ายบาย บ๊ายบาย  ให้กัน.

แนวแนะสำหรับเพลงและนิทานภาพเพลง “หนอนผีเสื้อ”
          เพลง “หนอนผีเสื้อ” เป็นเพลงในอัลบั้ม พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง ประพันธ์เนื้อเพลงและทำนองโดย คุณภัทรจารีย์ อัยศิริ (น้านิต)
เพลง นี้เรียบเรียงดนตรีใหม่อีกครั้งโดยผู้เรียบเรียงดนตรีคนเดิมคือคุณพีรสันติ จวบสมัย และขับร้องโดยคุณอรนิดา วิมลวัฒนาภัณฑ์ (เอ๋ XYZ) และ ด.ญ.ปรัชญ์อมร  จวบ สมัย ด้วยเทคนิคการ “เล่าเพลง” ทำให้เพลงมีความไพเราะสามารถเสริมสร้างความคิดจินตนาการ ช่วยกระตุ้นให้มีการแสดงออกในทางสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ระหว่างประสาทหู กล้ามเนื้อมือ ให้สอดคล้องกับการใช้ความคิด และปูพื้นฐานทางภาษา ด้วยการคิดจินตนาการไปตามเสียงเพลง ภาพวาดที่งดงามโดยคุณลำพู แสงลภ (เดชาวิชิตเลิศ) สามารถถ่ายทอดวงจรชีวิตของหนอนผีเสื้อโดยไม่ต้องบรรยาย การเชื่อมโยงคำและข้อความที่ปรากฏอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้เด็กๆ เชื่อมโยงวงจรการเรียนรู้ด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่อิ่มเอิบมีความสุข ฉะนั้น ดนตรีและนิทานจึงเป็นสื่อกลางที่เหมาะสมของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาศักยภาพทาง สมองและสติ-ปัญญา เพราะดนตรีเป็นโสตศิลป์ และภาพเป็นทัศนศิลป์ ที่จะพาเด็กไปสู่การรับรู้และเรียนรู้ เรื่องของศาสตร์วิทยาการต่างๆ ตลอดจนความงามอย่างมีสุนทรียะ เกิดการเชื่อมโยงระหว่างทักษะการคิด ความเข้าใจและการจดจำได้อย่างมีประสิทธิภาพและรื่นรมย์

*ต้วมต้วม เตี้ยมเตี้ยม  ออกมาจากไข่  เจ้าหนอนตัวใหญ่ลูกใครกันหนอ
กระดึ๊บ กระดึ๊บไป กระดึ๊บ กระดึ๊บไป กระดึ๊บ กระดึ๊บไป กระดึ๊บ กระดึ๊บไป
กระดึ๊บ ดึ๊บไป บนใบไม้อ่อน กัดกัด กินกิน อิ่มแล้วก็นอน แล้วเจ้าหนอน ก็ชักใยหุ้มตัว
กระดึ๊บ  กระดึ๊บ กระดึ๊บ ดึ๊บ ดึ๊บ กระดึ๊บ  กระดึ๊บ กระดึ๊บ ดึ๊บ ดึ๊บ
ต้วมต้วม เตี้ยมเตี้ยม  ออกมาจากไข่ เจ้าหนอนตัวใหญ่ ลูกใครกันหนอ
กระดึ๊บ กระดึ๊บไป กระดึ๊บ กระดึ๊บไป กระดึ๊บ กระดึ๊บไป กระดึ๊บ กระดึ๊บไป
กระดึ๊บ ดึ๊บไป บนใบไม้อ่อน กัดกัด กินกิน อิ่มแล้วก็นอน แล้วเจ้าหนอน ก็ชักใยหุ้มตัว
กระดึ๊บ  กระดึ๊บ กระดึ๊บ ดึ๊บ ดึ๊บ กระดึ๊บ  กระดึ๊บ กระดึ๊บ ดึ๊บ ดึ๊บ (ย้อน *)
แขวนตัวไว้กับกิ่ง นอนนิ่งนิ่ง นานนาน
วันและคืนเวียนผ่าน หนอนนอนหลับสบาย
เจ้าเลยเป็นดักแด้ มีแต่เยื่อใยหุ้มห่อ
คงได้เวลาแล้วหนอ ดักแด้ก็เปลี่ยนแปลงกาย
ลัน ลัน ลัน ลา….
กลายเป็นผีเสื้อตัวใหญ่ บินไป บินไป บินมา บินชมดอกไม้นานา
ผีเสื้อจ๋า เจ้าสวยจังเลย
เป็นผีเสื้อตัวใหญ่ บินไป บินไป บินมา บินชมดอกไม้นานา
ผีเสื้อจ๋า เจ้าสวยจังเลย.

หมายเหตุ
          "เพลงหรรษาภาษาสนุก ชุดที่ 1" ประกอบหนังสือชุด "ร้อง เต้น เล่น อ่าน ...สรรค์สร้างจินตนาการสู่ภาษา" ทั้ง 10 เพลง นี้ ผ่านการคัดเลือกเพลงโดยทีมนักวิชาการ (ภญ.ดร.พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร ปรีดา ปัญญาจันทร์ ภัทรจารีย์ อัยศิริ อรุณศรี มงคลชาติ กรรณิการ์ บารมี ดร.อภินวงค์ กู้ตลาด และ ระวิวรรณ ศรีสยาม) ในโครงการจัดทำหนังสือประกอบดนตรีเพื่อการสอนภาษาในเด็กปฐมวัย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ ในนาม แผนงานสนับสนุนการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว - FM 105 คลื่นวิทยุเพื่อเด็กและครอบครัว และสโมสรเห็ดหรรษาสถาบันเพื่อการเรียนรู้ ภายใต้การปรึกษาแนะนำจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง เพลง นิทาน และภาษา ได้แก่ นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ  ศ.ดร.อารี  สัณหฉวี  วันชัย บุญประชา  นิธิ กาญจน์ รัตนสิทธิ์ โดยคัดสรรเพลงเด็กที่คุ้นเคยและเหมาะสมในเรื่องเนื้อหาเพื่อการพัฒนาทักษะ การคิดและจดจำในด้านต่างๆ เช่น เรื่องสัตว์ สิ่งแวดล้อม คุณธรรม จริยธรรม เรื่องในชีวิตประจำวัน การนับ พร้อมไปกับการเรียงร้อยการพัฒนาทักษะทางภาษา ด้วยคำคล้องจอง ท่วงทำนองที่เป็นจังหวะ และการสร้างเสริมจินตนาการ เพื่อเป็นตัวอย่างการใช้เพลงเป็นสื่อการเรียนการสอนแบบเชื่อมโยงเพื่อการ พัฒนาแบบบูรณาการ และเป็นตัวอย่างการพัฒนาทักษะทางภาษาที่มีประสิทธิภาพและมีความสุข

  “ช่วงเวลาของความสุข ความสนุก การร่วมฝัน
จะสร้างความอบอุ่นและความมั่นใจให้เกิดขึ้นในใจเด็ก
เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์ที่เขาสามารถทำได้ 
เด็กก็จะเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง
การเกิดความรู้สึกดีๆ แบบนี้ จะส่งผลดีต่อเด็กในอนาคต
เช่น ถ้าเขาอยากทำอะไรสักอย่างให้สำเร็จ เขาก็จะมุ่งมั่นตั้งใจเพียรพยายามทำให้ได้ในที่สุด”

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://bbl4kid.multiply.com/journal/item/14/14