วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมนันทนาการ

ความหมาย :
การ ที่เราจะสามารถจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ให้ประสบผลสำเร็จได้นั้น เราควรจะต้องเรียนรู้ถึงกระบวนการสร้างมนุษยสัมพันธ์ของคนเราก่อนว่ามีรูป แบบและลักษณะใด เพื่อเป็นพื้นฐานของการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์อันเป็นผลต่อการพัฒนาบุคลากร องค์กร หรือการอบรมสัมมนา

ความหมายและการสร้างมนุษยสัมพันธ์ :

มนุษยสัมพันธ์ คือ การติดต่อเกี่ยวข้องกันระหว่างบุคคลในสังคม ทั้งที่เป็นส่วนตัวและที่เกี่ยวข้องกับงาน ทั้งที่เป็นส่วนตัวและที่เกี่ยวข้องกับงาน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายเพื่อให้ตนเองเป็นสุข ผู้อื่นเป็นสุข และสังคมมีประสิทธิภาพ
 
การสร้างมนุษยสัมพันธ์ ทำได้โดยการ :
 
1.
ศึกษาตนเอง และผู้อื่น ต้องใจกว้างสำรวจตนเอง พบข้อบกพร่องแล้วต้องยอมรับตนเอง และตั้งใจที่จะปรับปรุงพฤติกรรมที่ไม่สมควรของตนเอง ศึกษาผู้อื่นว่านิสัยใจคออย่างไร ชอบอย่างไร
2.
แก้ไขปรับปรุงตนเอง เมื่อพบข้อบกพร่องแล้ว ต้องตั้งใจแก้ไข อาจจะศึกษาจากตำราต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงตนเอง
3.
ศึกษาวัฒนธรรม ประเพณีและสังคม ค่านิยมในสังคม
4.
ศึกษาหลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์
5.
นำหลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ไปใช้จริง
 
ความหมายของกลุ่มสัมพันธ์
1.
เป็นกิจกรรมที่ให้กลุ่มได้เรียนรู้ถึงพฤติกรรม ทัศนคติ และการเข้าใจคน
2.
เป็นกิจกรรมที่ให้กลุ่มรู้วิธีแก้ไขปัญหา ยอมรับพัฒนาตนและรับรู้ตนเอง
3.
เป็นการเรียนรู้ปฏิกิริยาภายในกลุ่ม กระตุ้นในบุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อการอยู่ในสังคม
4.
เป็นการใช้กระบวนการกลุ่ม เป็นแนวทางให้เกิดความร่วมมือที่ดีต่อการพัฒนาองค์กร
 
ลักษณะกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
 
1. การสร้างความคุ้นเคย
2. การทำงานเป็นทีม
3. การสังเกตพฤติกรรม
4.
การแสดงบทบาท
5. การเล่นเกม
6. การฝึก ฟัง-คิด-พูด
7. การบริหารงานกลุ่ม

ลักษณะผู้นำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
การจัดกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้นำกิจกรรมควรมีความสามารถดังต่อไปนี้
 
1.
มีความรู้ด้านจิตวิทยา กลุ่มสัมพันธ์ และเทคนิคการละลายพฤติกรรม
2.
รู้จักการวางแผน และการเตรียมการ เพื่อดำเนินกิจกรรมละลายพฤติกรรม
3.
เป็นบุคคลที่มนุษยสัมพันธ์ดี ปรับตัวเก่ง เข้ากับบุคคลอื่นได้ดี
4.
มีไหวพริบ มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความกระตือรือร้น
5.
เป็นคนยุติธรรม จริงใจ และวางตัวเป็นกลาง
6.
ใจกว้าง มีเหตุผล และยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น
7.
สามารถอธิบายและชี้แจงกิจกรรมได้อย่างชัดเจน
8.
ใช้คำพูดและภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยมีเทคนิคในการพูดกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม
9.
ให้ความช่วยเหลือแนะนำ และสังเกตกิจกรรมของกลุ่ม โดยประสานงานให้กลุ่มดำเนินกิจกรรมไปได้ด้วยดี
10.
สรุปปัญหาได้ชัดเจนและจับประเด็นใจความได้ถูกต้อง
 
ประโยชน์ของการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
 
1.
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
2.
การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้จากกิจกรรม จะช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมรู้จักและสนใจตัวเองดียิ่งขึ้น
3.
สร้างบรรยากาศการเรียนให้ผู้เข้ารับการอบรมสนุกสนาน ไม่เกิดความรู้สึกว่าถูกสอนและสามารถเรียนรู้ได้ในระยะเวลาอันสั้น
4.
เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากร และการรู้จักแก้ปัญหาทั้งส่วนตนและส่วนรวม
5.
ช่วยให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อกัน มีความเข้าใจ เห็นใจกัน ลดการขัดแย้ง
6.
ช่วยส่งเสริมให้การทำงานรวมพลังกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.
ช่วยให้ผลงานเป็นไปตามเป้าหมาย และได้มาตรฐาน เป็นการเสริมสร้างพลังขององค์กรโดยบุคลากรที่ประสิทธิภาพ
8.
ช่วยส่งเสริมในการพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและผ่อนคลาย ความตึงเครียด
 

เพลงและกิจกรรมเคลื่อนไหว

 
เพลงเชิญมาเต้น :
 
มา มา มา มาเต้นรำกัน มา มา มา มาเต้นรำกัน
มา มา มา มาเต้นรำกัน แล้วเราก็ทำสวัสดี
จับมือขวามาเต้นรำกัน จับมือขวามาเต้นรำกัน
จับมือขวามาเต้นรำกัน แล้วเราก็ทำสวัสดี
จับมือซ้ายมาเต้นรำกัน จับมือซ้ายมาเต้นรำกัน
จับมือซ้ายมาเต้นรำกัน แล้วเราก็ทำสวัสดี
จับสองมือมาเต้นรำกัน จับสองมือมาเต้นรำกัน
จับสองมือมาเต้นรำกัน แล้วเราก็ทำสวัสดี
โด ซี โด มาเต้นรำกัน โด ซี โด มาเต้นรำกัน
โด ซี โด มาเต้นรำกัน แล้วเราก็ทำสวัสดี
ลอดอุโมงค์มาเต้นรำกัน ลอดอุโมงค์มาเต้นรำกัน
ลอดอุโมงค์มาเต้นรำกัน แล้วเราก็ทำสวัสดี


ท่าเริ่มต้น

ยืนรูปแถว 2 แถว คู่จะยืนอยู่ในแถวตรงกันข้าม ผู้หญิงอยู่แถวทางขวามือ แถวจะมี 6-8 คู่ ระหว่างแถวให้ห่างกันประมาณ 2-3 เมตร หันหน้าเข้าหาคู่ของตน
  1. ต่างเดินไปข้างหน้า 3 ก้าว ในจังหวะที่ 4 โค้ง แล้วเดินถอยหลัง 3 ก้าว จังหวะที่ 4 โค้ง
  2. เดินเข้าหาคู่ 3 ก้าว ในจังหวะที่ 4 โค้งคู่ของตน แล้วเดินถอยหลัง 3 ก้าว จังหวะที่ 4 โค้งคู่ของตน
  3. สวิงด้วยแขนขวา ต่างเดินเข้าไปหาคู่เอาข้อศอกขวาคล้องกับคู่ แล้วเดินหมุนไปตามเข็มนาฬิกา 2 เที่ยว (เที่ยวละ 8 ก้าว กลับมาที่เดิม)
  4. สวิงด้วยแขนซ้าย และหมุนไปทวนเข็มนาฬิกา 2 เที่ยว (เที่ยวละ 8 ก้าว กลับมาที่เดิม)
  5. สวิงสองมือ ต่างเดินเข้าไปหาคู่ จับมือทั้งสองกับคู่ แล้วเดินหมุนไปตามเข็มนาฬิกา เที่ยวที่ 2 ให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา (เที่ยวละ 8 ก้าว กลับมาที่เดิม)
  6. โด-ซี-โด เดินเข้าไปหาคู่ ผ่านคู่ไปทางไหล่ขวา ก้าวเยื้องไปทางขวาแล้วถอยหลัง เดินกลับไปที่เดิน ผ่านคู่ทางไหล่ซ้าย (จังหวะ 8 ก้าว)
  7. คู่หัวเดินเข้าไปจับมือทั้งสองกับคู่ แล้วเดินลงไปทางปลายแถว คู่อื่น ๆ ทำอุโมงค์ ให้คู่หัวลอดไป คู่หัวไปอยู่ท้ายแถว คู่ต่อไปขึ้นมาแทนที่ แล้วเริ่มต้นใหม่ (ทำอุโมงค์ หมายถึง ให้เอามือทั้งสองจับมือกับคู่แล้วยกแขนขึ้นเหนือศีรษะเหมือนถ้ำ)
ข้อเสนอแนะ

หลังจากผู้เรียนเข้าใจวิธีการเต้นตามเนื้อเพลงได้แล้ว ผู้สอนสามารถใช้เพลง Disco Breaks หรือเพลงจังหวะ ชะ ชะ ช่า แทนได้ ซึ่งจะช่วยในการจัดกิจกรรมนี้ได้รับความสนุกสนานยิ่งขึ้น
 
 

เพลงและกิจกรรมเคลื่อนไหว

 
เพลงงามแสงเดือน:
 
งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้ามาสู่วงรำ
เราเล่นกันเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์ไม่วายระกำ ขอให้เล่นฟ้อนรำเพื่อสามัคคี เอย


ท่าเตรียม

ยืนเป็นวงกลมวงเดียว หัวหน้าเข้าหาคู่ มือทั้งสองจับกับคู่
  1. ก้าว-ชิด เข้าไปในวงกลม 2 ก้าว
  2. ก้าว-ชิด ออกไปในวงกลม 2 ก้าว
  3. ตบเข่าด้วยมือทั้งสอง 1 ครั้ง แล้วตบมือตนเอง 1 ครั้ง ตบมือทั้งสองกับคู่ 1 ครั้ง (ทำซ้ำอีก 1 เที่ยว)
  4. กระโดดวางส้นเท้าซ้าย พร้อมกับยกมือซ้ายให้นิ้วชี้หาคู่ แล้วเปลี่ยนเป็นเท้าขวา และมือข้างขวา
  5. กระโดดหมุนตัวอยู่กับที่โดยย่ำเท้า 4 ครั้ง
ข้อเสนอแนะ
ใช้เพลงการเต้นรำพื้นเมือง เพลงโพลกาสำหรับเด็ก (CHILDREN POLKA)