วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เมื่อต้องเลือกเพลงให้ทารกฟังในครรภ์

                       ผมเคยฟังคุณพุฒิพงษ์ ปุณณกันต์ พูดถึงลูกชายวัย 5 ขวบของตนอย่างภาคภูมิใจว่า “ลูกเป็นเด็กร่าเริง” ฉลาดเพราะทุกเช้าก่อนไปทำงานผมต้องเปิดเพลงเบาๆ ประเภทเพลงคลาสสิคให้คุณภรรยาซึ่งกำลังตั้งครรภ์ลูกชายคนนี้ได้ฟังทุกเช้า ลูกจึงเกิดมาเป็นเด็กอารมณ์ดี และร่าเริงมีสุขภาพจิตที่ดี ผมนั่งฟังอยู่ใกล้ๆ และเห็นด้วยกับความเป็นจริงข้อนี้ เพราะเรื่องที่เป็นเรื่องจริงตามธรรมชาติ
                      ครั้งหนึ่งเมื่อสิบห้าปีมาแล้วเคยมี บริษัทแห่งหนึ่งในต่างประเทศผลิต “Voice Box” ออกมาจำหน่ายด้วยคำโฆษณาว่า เสียงจะช่วยให้เด็กฉลาดเพราะเสียงเป็นพลังชนิดหนึ่งจะช่วยกระตุ้นการเจริญ เติบโตของสมอง ผมตื่นเต้นมากกับข่าวอันนี้และในฐานะที่เป็นสูติแพทย์ก็รู้สึกมีความยินดี เป็นอย่างยิ่งกับวิวัฒนาการแบบใหม่ เพื่อใช้ในการกระตุ้นทารก ถึงแม้จะอยู่ในครรภ์ของแม่ ข่าว “Voice Box” ดังกล่าวมาแล้วก็หายเงียบไป ไม่แพร่หลายอย่างที่คิดเสียงที่นำมากระตุ้นสมองของทารก ซึ่งบรรจุอยู่ใน “Voice Box” เครื่องนั้นไม่มีเสียงเพลงอะไรเลยนอกจากเสียงดังเหมือนเสียงกลองคนป่า แอฟริกามันคงไม่มีความไพเราะอะไรเลย แน่นอนทารกได้ยินและเป็นการกระตุ้นสมองอย่างแน่นอน แต่ทารกชอบเสียงดังเหมือนกลองนั้นหรือเปล่า มีความสุขกับเสียงที่ได้ยินนั้นหรือเปล่า
                      ผมเชื่อว่า “ไม่” นั่นคงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ “Voice Box” ไม่แพร่หลายเป็นที่ต้องการของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ทั่วๆ ไป เสียงย่อมกระตุ้นครรภ์ได้แน่นอน แต่ว่าจะเป็นเสียงประเภทไหน…
คุณคิดว่าควรเป็นเสียงประเภทไหน… ใช่ครับควรเป็นเสียงเพลงที่ฟังแล้วไพเราะฟังแล้วเสนาะโสต ฟังแล้วมีความสุข ฟังแล้วเจริญหู เจริญใจ
                    มีครับ เพลงคลาสสิกบีโทเฟ่นนัมเบอร์ไฟว์เป็นเพลงยอดนิยมที่เกจิอาจารย์หลายท่านแนะ นำผมจึงต้องไปหาซื้อเพลงบีโทเฟ่น นัมเบอร์ไฟว์ที่ว่านี้มาฟัง ทำนองบรรเลงเพลงเป็นจังหวะจะโคน สูงๆ ต่ำๆ มีการกระแทกเป็นระยะๆ ฟังแล้วได้อารมณ์ คุณๆลองไปหามาฟังสิครับ     “เธ้ม เธ้ม เธ้ม เหธ่ม เธ้ม เธ้ม เธ้ม เหธ่ม” อะไรทำนองนี้แหละ หามาฟังกันเองเองก็แล้วกันนะครับ
                   พูดถึงเรื่องเพลงนี้มันมีอิทธิพลต่ออารมณ์เป็นอย่างมาก แม้ทารกจะอยู่ในท้องก็ตาม
อารมณ์ของเพลงนั้นจะมีผลต่ออารมณ์ของ แม่โดยตรง เมื่อแม่ฟังเพลงที่ชอบฟังแล้วมีความสุข ความสุขนั้นแม่ก็จะส่งไปยังทารกที่นอนอยู่ในครรภ์ ขณะเดียวกันทารกที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปแล้ว ทารกจะได้ยินเสียงเพลงนั้นผ่านท้องของแม่ได้ด้วยตัวเอง ถ้าหากเป็นเพลงที่ดี ฟังแล้วทำให้เกิดความสุขนั่นหมายความว่าถูกโฉลกกับความต้องการของทารก ผลในทางบวกก็ย่อมจะเกิดขึ้นตามมา
                   มีคนเคยทดลองอิทธิพลของเสียงเพลงต่อ สรรพสิ่งมีชีวิต อย่าว่าแต่มนุษย์เลยครับ เขาเคยทำการทดลองเปิดให้กับพืชด้วยซ้ำไป เพลงที่มีความหมายไพเราะ ฟังแล้วให้ความบันเทิง เมื่อพืชดอกได้ฟังอยู่เสมอ ปรากฏว่าออกดอกสวยงาม แต่ในทางตรงกันข้าม เปิดเพลงที่ไม่เป็นภาษาเพลง ฟังแล้วมีแต่ความหนวกหู ฟังแล้วสร้างความรำคาญอย่าว่าแต่ทารกในครรภ์เลยครับ แม้แต่พืชได้ฟังก็เหี่ยวเฉาครับ
                   ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าเสียงเพลงนั้นจะมีอิทธิพลต่อผู้ฟังเป็นอย่างมาก รวมถึงทารกในครรภ์ด้วย
ผมเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูก เกิดออกมาแล้วมีความฉลาดและฉลาดไปพร้อมๆ กัน ทั้งฉลาดทางความคิดคือ IQ และฉลาดทางอารมณ์คือ EQ ไม่ต้องการให้เด็กฉลาด สมองดี แต่เป็นเด็กเก็บกด ไม่มีความสุขในชีวิต หากจะเลือกเพลงมาฟังขณะที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ผมแนะนำว่าควรจะเลือกหาเพลงที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเพลงอมตะ ได้ฟังเมื่อไหร่ก็มีความไพเราะเมื่อนั้น เป็นเพลงที่อมตะไม่ใช่เพลงที่มีความไพเราะเพียงชั่วครั้ง ชั่วคราว ก็น่าจะใช้ได้ ลองดูนะครับ
                   ผมอยากเตือนคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายที่ เห่อลูกมากๆอยากให้ลูกเกิดมาแล้วเป็นเด็กอัจฉริยะ จึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้ลูกฉลาดด้วยการกระตุ้นด้วยวิธีการต่างๆ นานา ขณะที่อยู่ในครรภ์ของแม่ก็ปรากฏว่าสมองมีการพัฒนาเกินวัยสร้างความสับสนใน ตัวเด็กซึ่งสุดท้ายจะเป็นสาเหตุของโรคหนึ่งที่คุณๆ รู้จักกันดี คือโรคออทิสติกไงล่ะครับซึ่งทางการแพทย์สรุปถึงสาเหตุออกมาว่าน่าจะเกิดขึ้น เพราะสมองของเด็กมีการเจริญเติบโตพัฒนาขึ้นมาอย่างไม่เป็นระบบสร้างความ สับสนในตัวเด็ก เปรียบเสมือนสนามบินที่ใหญ่โตมโหฬารเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยที่คนใช้ ยังไม่ค่อยจะเป็น จึงเกิดความสับสนขึ้นมาเครื่องบินจะขึ้นจะลงก็ลำบากและอันตราย สู้อยู่เฉยๆ จะสนุกกว่าก็เหมือนเด็กออทิสติกนั่นแหละ


ที่มา.. นิตยสารบันทึกคุณแม่ No.160 November 2006

เสียงดีๆ ที่ลูกน้อยอยากฟัง




ลูก มีต้นทุน ทักษะการฟังหรือได้ยินมาตั้งแต่อยู่ในท้องของคุณแม่ สิ่งสําคัญคือ เสียงที่ลูกรับรู้ช่วยเชื่อมโยงข้อมูล ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมากมาย และเพื่อให้หายข้องใจเรื่องเสียง เรามาอ่านข้อมูลต่อไปนี้กันค่ะ

เสียงเพลง
เสียง แม่ที่ร้องเพลงกล่อมลูก แม้เป็นเสียงที่คุ้นเคยมาก่อนแล้ว ถึงตอนนี้ก็ยังชอบฟังมากที่สุดโดยเฉพาะเสียงเพลง ที่มีเนื้อร้อง คําคล้องจอง อย่างเพลงกล่อมเด็ก ก็ช่วยปูพื้นฐาน เรื่องภาษาให้กับลูก และหากสังเกตคุณแม่จะพบว่า


• เสียงเพลงที่มีจังหวะตื่นเต้น สนุกสนาน ลูกจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวแขนขา
• เสียงเพลงที่มีจังหวะเบาๆ ช้าๆ ลูกจะอยู่สงบนิ่ง อารมณ์ดี รู้สึกสบาย ผ่อนคลาย


นอกจากเสียงเพลงแล้ว เครื่องเล่นที่มีเสียง ก็ช่วยกระตุ้น ทักษะการฟัง ทําให้เกิดการเรียนรู้ที่จะใช้สายตาประสานกับกล้ามเน ื้อมัดเล็ก อย่างนิ้วมือเพื่อกดหรือเคาะเป็นจังหวะ


เสียงดนตรี

คือเสียงที่เกิดจากเครื่องดนตรี ประกอบกันเป็นทํานองเพลง เสียงดนตรีสําหรับเด็กเล็ก แนะนําว่าควรเป็นเสียงที่มีจังหวะ ท่วงทํานองเบาๆ ช้าๆ เพื่อเป็นการผ่อนคลายความรู้สึก เสียงดนตรีที่รู้จักในวงกว้างแวดวงพ่อแม่ ก็คือดนตรีคลาสสิก

ในงานวิจัยพบว่า คลื่นเสียงดนตรีคลาสสิก ซึ่งเป็นคลื่นเสียงที่มีระเบียบ เมื่อเข้าไปกระตุ้นอวัยวะการรับเสียง ต่อเนื่องไปยังสมองส่วนการรับรู้ เกิดการรับ-ส่งและเชื่อมโยงส่งถึงสมอง เซลล์สมองจะเกิดการแตกตัวมากขึ้น สมองจึงเปิดรับสิ่งต่างๆ เรียนรู้ได้ดีเพราะมีสมาธิจากการฟัง หรือหากไม่เกี่ยง เสียงดนตรีไทยที่มีมานานในบ้านเรา ก็มีจังหวะ ท่วงทํานองสบายๆ ฟังได้ง่าย เลือกเปิดให้ลูกฟังได้เช่นกันค่ะ

เสียงต้องห้าม

คือเสียง ที่มีระดับความดังเกิน 70-80 เดซิเบล ร่วมกับการได้ยินบ่อยครั้ง เช่น เสียงเครื่องจักรในโรงงาน ถือเป็นเสียงต้องห้ามควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจส่งผลทําให้ประสิทธิภาพการได้ยินลดลง หรือเสียงบางประเภท เช่น เสียงแตรรถยนต์ เสียงดนตรีที่มีจังหวะรุนแรง จังหวะไม่แน่นอน ออกแนวอึกทึก สับสนวุ่นวาย จัดเป็นเสียงที่ไม่พึงประสงค์ที่ทําให้เด็กอาจไม่ชอบ ที่สําคัญ ส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจ กลายเป็นเด็กหงุดหงิด งอแงได้ง่าย มีทัศนคติกับเสียงนั้นๆ


DO

• ร้องเพลงหรือพูดคุยกับลูกอยู่บ่อยๆ สอนให้รู้ด้วยว่า เสียงนั้นเป็นเสียงอะไร
• ฝึกทักษะการฟังเสียงผ่านการเล่น เช่น การเคาะ ตี ของมีเสียงเป็นจังหวะ เช่น โมบาย กระดิ่ง มีเสียงกรุ๊งกริ๊ง
• เสียงจากธรรมชาติ ก็ช่วยให้ลูกเรียนรู้ เพิ่มประสบการณ์ การฟังที่หลากหลาย เช่น เสียงน้ำไหล เสียงลม


เสียงมีอิทธิพลส่งต่อถึงอารมณ์และจิตใจ โดยเฉพาะเสียงของพ่อแม่ ที่ทําให้ลูกอบอุ่นและปลอดภัย ที่สําคัญ เป็นจุดเริ่มต้นต่อยอดไปถึงพัฒนาการทางภาษา และการพูดในอนาคต ถ้าการฟังของลูกดี การสื่อสาร ใช้ภาษาก็ย่อมดีไปด้วย




ที่มา : Mother&Care Vol.4 No.44

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยด้วยเสียงดนตรี

          ว่ากันว่าเด็กที่ได้ฟังเพลงคลาสสิกตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ จะทําให้คลอดออกมาแล้วเป็นเด็กอารมณ์ดี เลี้ยงง่าย แต่ที่จริงแล้ว เพลงและเสียงดนตรีสามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กในทุกช่วงวัยทั้งตอนอยู่ ในท้องแม่หรือเมื่อคลอดออกมาแล้ว คุณแม่จึงควรเลือกดนตรีที่เหมาะสมกับช่วงวัยของลูกน้อยด้วยค่ะ

เสียงดนตรีตามวัย

                เสียง ดนตรีที่ลูกน้อยควรได้รับฟังในแต่ละช่วงวัยนั้น ควรเป็นไปตามอายุที่โตขึ้นของลูกน้อย เพราะยิ่งลูกโตขึ้นการรับรู้และระบบประสาทของลูกน้อยก็จะสามารถฟังเพลงที่ ซับซ้อนและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเพลงเหล่านั้นได้มากยิ่งขึ้น

• วัย 1-3 เดือน ลูก จะชอบฟังเพลงสบายๆ ช้าๆ หรือเพลงกล่อมเด็ก ซึ่งการฟังเพลงกล่อมจากแม่หรือเสียงที่มีความนุ่มนวล อ่อนโยน จะทําให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย ในวัยนี้ลูกจะเริ่มมองหาที่มาของเสียงที่ได้ยิน แสดงความชอบใจและเริ่มเปล่งเสียงตอบสนองในลําคอได้

• วัย 4-5 เดือน ลูก เรียนรู้จังหวะได้มากขึ้น ตอบสนอง ต่อจังหวะและทํานอง เมื่อได้ยินจังหวะที่ชื่นชอบจะยิ้ม ตีมือชอบใจ หรืออาจส่ายหัวตามจังหวะเพลง คุณแม่จึงควรเลือกเพลงหรือดนตรีที่มีจังหวะสนุกสนานให้ลูกฟัง

• วัย 6-12 เดือน ในวัยนี้ลูกมีพัฒนาการทางภาษามากขึ้นและเริ่มออกเสียงเป็นพยางค์ได้บ้างแล้ว คุณแม่อาจเลือกเพลงที่เป็นคําคล้องจองง่ายๆ ให้ลูกฟัง ซึ่งการให้ลูกฟังเพลงที่มีเนื้อร้องสั้นๆ ง่ายๆ ลูกจะพยายามส่งเสียงเลียนแบบเสียงที่ได้ยิน และแสดงท่าทางต่างๆ ตามเพลง เช่น ผงกศีรษะ โน้มตัวไปมา

• วัย 1-3 ขวบ การให้ ลูกฟังเพลงหรือดนตรีที่มีความซับซ้อนจะช่วยกระตุ้นคลื่นสมองของลูกให้เกิด การจัดเรียงตัวและเกิดความคิดสร้างสรรค์ คุณแม่ควรให้ลูกฟังเพลงที่มีทั้งท่วงทํานองและเนื้อร้องที่หลากหลาย ให้ลูกร้องเพลงและเคาะจังหวะตามไปด้วย จะช่วยเพิ่มทักษะทั้งด้านภาษา การทรงตัวของลูกน้อยนอกเหนือจากการฟังด้วย


เสริมพัฒนาการด้วยเสียงดนตรี

• คุณแม่ควรให้ลูกน้อยได้รับฟังดนตรีหลากหลายประเภท แล้วสังเกตว่าลูกชอบฟังดนตรีแบบไหนมากที่สุด

• ร้องหรือฮัมเพลงให้ลูกฟัง เพราะเด็กจะชอบฟังเสียงของพ่อแม่หรือเสียงของมนุษย์ และเมื่อลูกเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายได้บ้างแล้ว ให้พยายามกระตุ้นให้ลูกเคลื่อนไหวตามจังหวะ เช่น โยกตัว ปรบมือ หรือผงกศีรษะ ซึ่งการมีกิจกรรมร่วมไปกับการฟังดนตรีจะยิ่งดีต่อพัฒนาการของเด็กมากขึ้น

• เด็กจะชอบฟังเพลงซ้ำๆ คุณแม่อาจร้องเพลงนั้นให้ฟังบ่อยๆ หรือจะเปลี่ยนเนื้อเพลงไปบ้าง เพื่อให้ลูกรู้สึกแปลกใหม่อยู่เสมอ

• เลือกเพลงที่มีจังหวะช้าๆ เปิดเพลงให้ลูกฟังในช่วงก่อนนอนหรืองีบหลับ เสียงเพลงจะช่วยทําให้ลูกรู้สึกสงบและหลับสบาย

• อย่าเปิดเพลงเสียงดังเกินไปเพราะประสาทการรับเสียงของลูกจะถูกทําลาย

Smart Symphonies เสียงดนตรี สื่อดีๆ เพื่อเพิ่มไอคิว

ทำไมดนตรีจึงมีความสำคัญ?

               เพราะดนตรีมีองค์ประกอบที่สมบูรณ์แบบ เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่ใช้ทั้งสมองซีกซ้าย ซึ่งเป็นพื้นฐานของคณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การอ่าน เขียน และพูด อีกทั้งมีผลต่อการคิดวิเคราะห์ เหตุผลเชิงความสำคัญของสิ่งต่างๆ และใช้สมองซีกขวา ช่วยการเรียนรู้ ความรู้สึก และจินตนาการ รวมถึงกระตุ้นความ
คิดสร้างสรรค์ ศิลปะ และดนตรี

               ดนตรีที่ดีสำหรับพัฒนาการของลูกน้อย เป็นดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นให้มีจังหวะ ทำนอง และความกลมกลืนของเสียง อย่างมีลำดับ มีส่วนช่วยในการจัดลำดับความคิดในสมองส่วน Spatial Temporal ซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็ก เช่น เพลงคลาสสิค เป็นต้น

               เมื่อลูกในครรภ์อายุ 5 เดือน ระบบประสาทการรับฟังจะเริ่มทำงาน การได้ยินเริ่มต้นขึ้น และพัฒนาต่อไปเรื่อยๆตามลำดับคลื่นเสียงที่มีโครงสร้างที่เหมาะสมจะไปกระตุ้นเครือข่ายใยประสาทที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินให้พัฒนาระบบการทำงานได้เร็วขึ้น ทำให้เมื่อลูกออกมาลืมตาดูโลกมีความสามารถในการจัดลำดับความคิดในสมอง รู้สึกผ่อนคลาย และจดจำสิ่งต่างๆ ได้ดี

                จากการวิจัยพบว่า ลูกน้อยมีการพัฒนาความสามารถในการรับรู้เกี่ยวกับจังหวะตั้งแต่อยู่ในครรภ์ สามารถเคลื่อนไหว และตอบสนองตามเสียงที่มีจังหวะเร็วและช้าได้ สามารถแยกแยะเสียงที่คุ้นเคยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ รวมถึงจดจำเสียงที่ได้ยินบ่อยๆ เช่น เสียงคุณแม่ คุณพ่อ เสียงเพลงที่เปิดให้ฟัง

                  ลูกในครรภ์กับพลังแห่งเสียงดนตรี

                เมื่อพูดถึง “ดนตรี” กับลูกในครรภ์ คุณแม่อาจคิดภาพความเกี่ยวข้องกันไม่ออก แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งสมมุติฐานว่าเด็กในครรภ์จะสามารถรับรู้จังหวะของดนตรีได้หรือไม่ และได้ทำการศึกษาจนพบความจริงอันน่ามหัศจรรย์ว่า ลูกน้อยในท้องรับรู้จังหวะของดนตรีได้แล้ว และได้แนะนำคุณแม่ตั้งครรภ์ให้ความสำคัญกับการให้ลูกได้ฟังเสียงดนตรี เพราะจะส่งผลดีต่อพัฒนาการของลูกอย่างมาก

               คุณแม่สามารถเปิดเพลงให้ลูกในครรภ์ฟังเมื่อลูกอายุ 5 เดือนขึ้นไป ให้ลำโพงอยู่ห่างหน้าท้อง 1 ฟุตขึ้นไป โดยเลือกเพลงคลาสสิค หรือเพลงนุ่มๆ เปิดในระดับที่ไม่ดังเกินไป ในช่วงที่ลูกตื่น สังเกตจากลูกมีอาการดิ้น ทั้งนี้ไม่ควรเปิดบ่อยหรือนานเกินไป ก่อนเปิดก็ชวนลูกในท้องไปด้วยว่า “ลูกจ๋า...มาฟังเพลงกันดีกว่า”


               เรื่องน่ารู้ของดนตรีกับลูกน้อยในท้อง
  • จาก การศึกษาถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์จากการตรวจอัลตราซาวนด์ของ Heinz Prechtl  ที่ได้ติดตามและวิเคราะห์ภาพอัลตราซาวนด์ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ตลอดระยะเวลา 10 ปี พบว่าทารกมีการพัฒนาความสามารถในการรับรู้เกี่ยวกับจังหวะตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้แล้ว และสามารถเคลื่อนไหวตอบสนองตามเสียงที่มีจังหวะเร็วและช้า
  • จากการวิจัยนี้ยังพบว่า ลูกน้อยยังสามารถตอบสนองต่อเพลงที่ได้ยินจนคุ้นเคย และจะมีปฏิกิริยาต่อเพลงที่โปรดปรานด้วย  รวมทั้งเพลงหรือดนตรีคลาสสิกที่คุณแม่เคยเปิดให้ฟังบ่อยๆ ขณะอยู่ในครรภ์ หลังจากคลอดแล้ว หากเปิดเพลงนั้นอีก  ลูกน้อยจะแสดงให้รู้ว่าจำได้
  • มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่า เสียงดนตรีจะส่งผลดีต่อสมอง และพัฒนาการทางอารมณ์ของลูกน้อย
    ในครรภ์
  • Dr. Leon Thurman นักวิจัยชาวอเมริกัน ได้ทดลองเปิดเสียงดนตรีให้คุณแม่ตั้งครรภ์ฟังทุกวัน พบว่าเด็กที่คลอดออกมามีพัฒนาการด้านร่างกาย และสติปัญญาสูงกว่าเด็กทั่วไป  และเด็กยังเลี้ยงง่าย มีอารมณ์ แจ่มใส รวมทั้งมีความผูกพันกับคุณแม่เป็นอย่างมากอีกด้วย
  • Dr. Thomas R.Verny จิตแพทย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และประธานสมาคมการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กในสหรัฐอเมริกา ได้เคยกล่าวไว้ว่า ในกลุ่มคุณแม่ที่ร้องเพลงกล่อมเด็กให้ลูกน้อยในครรภ์ฟังทุกวันอย่างสม่ำเสมอนั้น เมื่อลูกน้อยคลอดออกมาแล้ว และได้ยินเสียงเพลงนี้จากคุณแม่อีก ลูกน้อยมีแนวโน้มที่จะนิ่งเงียบ และแสดงอาการสนใจเพลงนั้นเป็นอย่างมาก
              ด้วยเหตุนี้ คุณแม่จึงควรให้ลูกน้อยในครรภ์ได้มีโอกาสฟังดนตรีและจังหวะบ่อยๆ

              กิจกรรมเพื่อสร้างเสริมมหัศจรรย์แห่งพัฒนาการลูกในครรภ์

              ฟังเพลงนะลูก (5 เดือนขึ้นไป)
              เปิดเพลงคลาสสิกทั้งที่เป็นเพลงไทย หรือเพลงสากล ให้ลูกน้อยฟังในช่วงเวลาเย็นๆ เพราะเป็นช่วงที่ลูกตื่นตัว พร้อมฟังเสียงแล้ว
             พัฒนาการที่ได้รับการส่งเสริม 
             ช่วงนี้ ประสาทการรับเสียงของลูกพัฒนาแล้ว ทำนองเพลงที่ช้าๆ เบาๆ ผสมผสานกับจังหวะที่เป็นระบบจะทำให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์มีอารมณ์ดี แจ่มใส โดยเปิดวันละ 1 ครั้งๆ ละ 10-15 นาที
              เพลงนี้ร้องให้ลูกนะ (5 เดือนขึ้นไป)
              คุณแม่ร้องเพลงโปรด หรือเพลงกล่อมเด็กให้ลูกน้อยในครรภ์ฟัง
              พัฒนาการที่ได้รับการส่งเสริม
              เด็กในครรภ์จะชอบฟังเสียงแม่ และเขาจำเสียงแม่ได้  การทำกิจกรรมนี้กับลูก จะส่งผลดีต่อ พัฒนาการทางด้านอารมณ์และสติปัญญาของลูก
              คำนี้คล้องจองกัน (5 เดือนขึ้นไป)
              อ่านบทกลอนที่มีคำคล้องจองให้ลูกฟัง แบบทำนองเสนาะ
              พัฒนาการที่ได้รับการส่งเสริม
              กิจกรรมนี้จะช่วยให้อารมณ์ของคุณแม่และลูกน้อยประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน จนเกิดความความสงบขึ้นในจิตใจ ลูกน้อยเองก็จะรู้สึกอบอุ่นมีความสุข ขณะเดียวกันก็จะคุ้นเคย และสามารถจดจำเสียงคุณแม่ได้มากขึ้นด้วย

ข้อควรปฏิบัติ

คุณแม่เปิดเพลงคลาสสิกทั้งที่เป็นเพลงสากลและเพลงไทย ด้วยจังหวะช้าๆ สบายๆ ผสมผสานกับจังหวะที่เป็นระบบ ทำให้คุณแม่ และลูกในครรภ์มีอารมณ์ดี แจ่มใส
ไม่ควรเปิดเพลงเสียงดังเกินไป หรือฟังทั้งวัน เพราะเสียงที่ดังเกินไปหรือได้รับฟังนาน ก่อให้เกิดความเครียดทั้งตัวคุณแม่ และลูกในครรภ์ได้เช่นกัน
นอกจากการฟังเพลงแล้ว คุณแม่หรือคุณพ่ออาจจะเป็นผู้ร้องเพลงให้ลูกได้ฟัง ก็จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์ และสมองของลูกน้อยได้เช่นกันอัลบั้มเพลงสำหรับพัฒนาการเด็ก มีการผลิตและจำหน่ายเพื่อวัตถุประสงค์นี้โดยเฉพาะ ซึ่งคุณแม่คุณพ่อสามารถหาซื้อได้จากร้านจำหน่ายซีดีเพลงที่จำหน่ายเพลงคลาสสิค และเพลงบรรเลงทั่วไป ศิลปินที่แนะนำได้แก่ ผลงานของโมสาร์ต บาค และบราห์ม เป็นต้น

[ที่มา: เว็บไซต์ Enfababy.com]

เปิดเพลงคลาสสิคให้ทารกในครรภ์ฟังลูกจะฉลาดขึ้นจริงหรือ???

                  มีความเชื่อที่เคยได้ยินได้ฟังมา (จากใครเป็นผู้เริ่มก็ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ) ว่าเวลาที่คุณแม่ตั้งครรภ์อยู่ หากได้เปิดเพลงคลาสสิค เช่น เพลงของโมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart), เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven) ให้ลูกในท้องฟัง เมื่อเด็กคลอดออกมาจะมีความฉลาดเฉลียว น่ารัก และอารมณ์ดีกว่าการไม่ได้เปิดเพลงให้ลูกฟัง วันนี้เรามีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องนี้ค่ะ
                  เสียงต่างๆ รอบตัวเรามีผลกระทบอย่างไรกับตัวเราบ้าง
เสียงรอบๆ ตัวของเรามีผลต่ออารมณ์ของเราอย่างมากค่ะ บางครั้งเราได้ยินเสียงบางอย่าง เช่น หากเราไปนอนริมชายหาดฟังเสียงน้ำทะเลซัดเข้าหาฝั่งอย่างช้าๆ ผสมผสานกับสายลมที่พัดโชยมา จะทำให้เราเกิดความสบายใจ ผ่อนคลาย หรือหากเป็นเสียงรถวิ่ง เสียงบีบแตรจากรถยนต์ถี่ๆ นอกจากจะดังแสบแก้วหูแล้วยังทำให้อารมณ์ของเราหงุดหงิดไปด้วยค่ะ
                   เสียงต่างๆ รอบตัวของแม่ที่ตั้งครรภ์มีผลกระทบอะไรกับทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์จะได้รับผลกระทบอย่างมากกับอารมณ์ของแม่ หากคุณแม่มีอารมณ์ที่ดี ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอ็นโดฟินซึ่งทำให้ร่างกายผ่อนคลาย และมีผลโดยตรงกับทารกในครรภ์ ทำให้ทารกผ่อนคลายไม่เครียด และทำให้การพัฒนาต่างๆ ของร่างกายทารกในครรภ์ดีกว่า
                  เสียงเพลงคลาสิกมีผลกระทบอะไรกับทารกในครรภ์
จากผลการวิจัยของนักวิจัย Dr. Leon Thurman ชาวสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้ฟังเพลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อคลอดทารกออกมา ทารกจะมีพัฒนาการด้านร่างกายและไอคิวสูงกว่าทารกที่ไม่ได้ฟังเพลง แต่การวิจัยของ Dr. Leon Thurman นี้ไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นเพลงคลาสสิคเท่านั้นนะค่ะ และยังมีผลการวิจัยของ Dr. Thomas R. Verny ซึ่งเป็นจิตแพทย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประเทศสหรัฐอเมริกา และยังเป็นประธานสมาคมเกี่ยวกับการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กในสหรัฐอเมริกาอีก ด้วย ท่านได้ทดลองให้คุณแม่ได้ร้องเพลงกล่อมเด็กขณะที่ยังตั้งครรภ์อยู่ทุกๆ วัน เมื่อคลอดออกมาหากร้องไห้หรืองอแง แต่เมื่อทารกได้ยินเสียงเพลงกล่อมเด็กของแม่ที่แม่เคยร้องให้ฟังตั้งแต่สมัย ตั้งครรภ์ ทารกจะนิ่งสงบลงและสนใจในเสียงเพลงกล่อมเด็กอย่างน่าอัศจรรย์
ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงคลาสสิคเท่านั้นหรอกนะค่ะทารกจึงจะมี พัฒนาการที่ดี เพราะผลการวิจัยไม่ได้ระบุไว้ แต่ระบุว่าเสียงที่มีผลก็คือ เสียงที่มีจังหวะทำนองเบาๆ เช่น เพลงบรรเลง แต่ที่เขาเลือกใช้เพลงคลาสสิคก็เพราะว่าเขาไม่มีเพลงบรรเลงแบบอื่น ในขณะที่ถ้าเป็นประเทศไทยเราก็สามารถใช้เพลงไทยเดิมที่มีจังหวะช้าๆ เบาๆ ทดแทนก็ได้ค่ะ อย่าไปเชื่อคำโฆษณาที่ว่าต้องเป็นเพลงคลาสสิคของคนนี้คนนั้นเท่านั้นนะค่ะ เพราะสิ่งสำคัญคือจังหวะและทำนองที่เบาๆ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็กค่ะ หรือหากคุณแม่จะใช้วิธีร้องเพลงกล่อมเด็กให้ลูกฟังแทนก็ได้ค่ะ
                  แล้วเวลาไหนเหมาะที่จะให้ทารกในครรภ์ฟังเพลง
ช่วงตั้งแต่อายุครรภ์ 5 เดือนเป็นต้นไปและควรจะเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ได้พักสบายๆ ไม่เร่งรีบอะไร อาจจะเป็นช่วงเย็นๆ หลังอาหารเย็นก็ได้ หรือดูจากอาการของลูกว่าลูกตื่นตัวพร้อมจะรับฟังดนตรีหรือไม่ โดยสังเกตได้จากการดิ้นของลูก หากลูกดิ้นแสดงว่าลูกยังไม่หลับค่ะ เปิดเพลงหรือร้องเพลงกล่อมเด็กให้ลูกในท้องฟังครั้งละประมาณ 10-15 นาทีก็พอแล้วค่ะ ไม่จำเป็นต้องเปิดทั้งวันทั้งคืนนะค่ะ และควรจะเปิดหรือร้องเพลงเดิมๆ เพื่อให้ลูกได้จดจำทำนองค่ะ แล้วจะให้ทารกในครรภ์ฟังเพลงได้อย่างไร
เดี๋ยวนี้จะมีอุปกรณ์หูฟังขนาดใหญ่ที่เอาไว้คลอบท้องของคุณแม่ ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่จำเป็นต้องไปกังวลว่าลูกจะไม่ได้ยินขนาดนั้นก็ได้ ค่ะ ขอแค่ให้แม่ได้ยินเสียงเพลงอย่างชัดเจนก็ถือว่าใช้ได้แล้วค่ะ

เพลงคลาสสิก พัฒนา IQ : EQ เพื่อลูกน้อยของคุณ

Baby Mozart ดนตรีเพิ่มพัฒนาการสำหรับทารก มีทั้งหมด 8 แผ่น

- Baby Mozart (8cds) ดนตรีเพื่อพัฒนาการสำหรับทารก
เนื่อง จากเพลงคลาสสิกเป็นเพลงที่มีจังหวะและเมโลดี้สลับซับซ้อน สวยงาม มีพลังลึกซึ้ง ทั้งท่วงทำนองทำให้ผู้ฟังเกิดความอิ่มเอิบ สงบ มีสมาธิ เสริมสร้างปัญญาได้ทุกขณะที่ฟัง และเพลงคลาสสิกไม่ได้มีประโยชน์แค่เฉพาะเด็กเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่ลองฟังเพลงไปพร้อม ๆ กับลูก สังเกตปฏิกิริยาของเขาว่าเป็นอย่างไร แล้วคุณเองรู้สึกอย่างไรกับเพลงแต่ละเพลง คุณจะพบอะไรมากมายซ่อนอยู่ในเพลงที่ซึ่งมีอายุมากกว่า 100-300 ปี แต่ไม่เคยน่าเบื่อนี้เลย

สำหรับเด็กค่อนข้างโตถ้ามีอาการต่อต้าน หรือไม่ค่อยชอบต้องใช้วิธีเปิดบ่อย ๆ แต่น้อย ๆ เพื่อให้เขาเกิดความเคยชิน แล้วลูกคุณจะมีพื้นฐานความฉลาดที่รักดนตรีอย่างมากตลอดชีวิตของเขา

วิธีใช้ CD ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

1. Magic Symphony Orchestra
เปิด ตอนทำกิจกรรม ตอนเล่น ตอนพักผ่อนสบาย ๆ เปิดได้ตลอดเวลาที่ต้องการตลอดวัน ด้วยจังหวะและทำนองที่หลากหลายจากการบรรเลงด้วยวงออเคสตร้าชุดใหญ่ เครื่องดนตรีนับร้อยชิ้น ยิ่งฟัง ยิ่งทำให้เด็กค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ในเพลงตลอดเวลา ไม่ควรเปิดเสียงดังเกินไป ถ้าน้องยังเล็กมากไม่ถึงขวบ ควรฟังเบา ๆ เพราะประสาทหูของน้องยังไม่แข็งแรงมากพอ คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ฟังได้ทุกเวลาที่ต้องการ

2. Genius Brain : ฉันฉลาดเพราะฉันเล่น
เปิด ได้ตลอดเวลาเหมือนชุดแรก ใช้เปิดสลับกันได้เพื่อให้เด็กได้ฟังเพลงที่หลากหลายและเกิดความรู้สึก เปรียบเทียบ เป็นการกระตุ้นสมองได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเวลาตอนเล่นที่ศักยภาพทางกายและสมองพร้อมที่รับรู้ทุก ๆ สิ่ง อย่าปล่อยให้การเล่นของลูกน้อยเป็นการเล่นที่เงียบเชียบ วังเวง ไม่มีสิ่งกระตุ้นอารมณ์ ความอยากรู้อยากเห็น คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ฟังสลับกับชุดแรกก็ได้

3. Activate Brain : ดนตรีกระตุ้นศักยภาพสมอง (Alpha คลื่นเสียงสะท้องจากระฆัง)
เปิด ตอนก่อนนอนตอนกลางคืนจนหมดแผ่น แม้เด็กหลับไปแล้วก็ตาม เสียงต้องดังปานกลางอย่าให้เบาไปหรือดังมากไป เพราะต้องการให้คลื่นเสียง Alpha ที่ถูกผลิตออกมาจากการสั่นสะเทือนของระฆังได้เข้าไปกระตุ้นการสร้างเซลล์ สมองส่วนสติปัญญาให้มีการเชื่อมโยงใยประสาทเพื่อกระตุ้นให้สมองพัฒนาตลอด เวลาที่ฟังเสียงนี้
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ควรให้เด็กในครรภ์ฟัง ควรรอให้น้องเกิดก่อนจึงเริ่มฟังได้ เพราะพลังของคลื่นเสียงค่อนข้างมีอานุภาพมาก

4. Baby Bedtime
ใช้ เปิดตอนก่อนนอนได้ทุกครั้งที่นอนจนหมดแผ่น เพื่อการหลับสนิทหลับลึกอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ Growth Hormone ได้หลั่งออกมาได้เต็มที่ช่วยในการพัฒนาสมองและร่างกายได้อย่างมีประสิทธิผล คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรเปิดฟังตอนก่อนนอนเพื่อให้หลับสบาย

5. Super Relax Classic
ใช้ เปิดตอนพักผ่อนสบาย ๆ ได้ตลอดวัน ก่อนนอนบ้างก็ได้ เพื่อการพัฒนาอารมณ์ให้เพลิดเพลิน ไม่งอแง หงุดหงิด จนติดเป็นนิสัยและฝึกสมาธิไปในตัวด้วย
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์เปิดฟังยามที่ต้องการพักผ่อนสบาย ๆ คลายเครียด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อน้องในครรภ์มาก

6. Dolphin Meditation : CD โลมาบำบัด
เปิด อาทิตย์ละครั้งเท่านั้น ใช้เปิดก่อนนอนตอนกลางคืนจนหมดแผ่น ไม่ควรให้เด็กในครรภ์ฟัง ควรรอให้น้องเกิดก่อน เพราะพลังของคลื่นเสียงค่อนข้างมีอานุภาพมาก พอน้องเกิดก็สามารถเริ่มให้ฟังได้แต่อย่าลืมเปิดเพียงอาทิตย์ละครั้งเท่า นั้น

7. Goodmorning Genius
เปิดฟังตอนตื่นนอนหรือเวลาน้องเล่น จะทำให้อารมณ์ดี

8. Kids Song เปิดฟังตอนตื่นนอนหรือเวลาน้องเล่น จะทำให้อารมณ์ดี

.บทเพลงไพเราะที่เลือกสรรค์แล้ว จากผลวิจัยพัฒนาการสมอง Mozart Effect ...โดยมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
....เปิด เพลง บรรเลงของ Mozart ชุดนี้ เสียงดนตรีไพเราะ จังหวะที่เหมาะสม อัตราการเคาะจังหวะ ประมาณ 60-80 ต่อนาที จะช่วยกระตุ้น พัฒนาการทางสมอง ของทารกน้อยในครรภ์ และเด็กแรก เกิดจนถึง 3 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่ สมองของเด็ก กำลังสร้าง ใยประสาทของเซลล์สมอง ให้งอกงาม เกิดความฉลาด เรียนรู้ได้ง่าย มีชีวิตชีวา เกิดภาวะสมดุลจิตใจ ผ่อนคลาย มีความพร้อมในการเรียนรู้ พัฒนา EQ ฯลฯ
.