วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เสียงดนตรีกับลูกน้อย

เพลิดเพลินกับเสียงเพลงและดนตรี

ตอนนี้เมื่อลูกน้อยของคุณได้ยินเสียงจากประสาทหูเทียมแล้ว ไม่ว่าจะข้างเดียวหรือสองข้างก็ตาม คุณคงจะตื่นเต้นที่จะได้เริ่มทำกิจกรรมที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านทักษะ การฟัง การพูดและภาษาให้กับลูก ผู้ปกครองหลายท่านมักจะถามว่า “ฉันจะทำอะไรเพื่อช่วยให้ลูกได้เรียนรู้การฟังและเพลิดเพลินกับเสียงต่างๆ ได้บ้าง?” บ้างก็ถามว่า “ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของฉันได้ยินเสียงหรือจะจำการตอบสนองของเขาได้ อย่างไร?” กิจกรรมทางดนตรี เช่น การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง ตามจังหวะ และการเล่นนิ้วมือ เป็นเกมที่สนุกสนานและเหมาะสำหรับเล่นกับลูกตั้งแต่แรกเริ่ม กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้ลูกของคุณฟัง มีส่วนร่วม เปล่งเสียงบ่อยขึ้น ให้ความสนใจ และเลียนแบบเสียงและท่าทาง

ทารกทุกคนจะเลียนแบบท่าทางจากจังหวะหรือเพลงได้ก่อนการเลียนเสียงและคำ คุณสามารถเลือกเพลงหรือกิจกรรมที่คุณจะได้จากตอนเป็นเด็กได้ตามใจชอบ ’ “’”โดยไม่ต้องกังวลว่าจะร้องเพราะหรือเปล่า ’เพราะลูกของคุณไม่สนใจเรื่องนั้นหรอก การที่คุณได้ทำกิจกรรมร่วมกันจะเป็นความสุขที่คุ้มค่าแก่ความพยายาม เปิดเพลงหรือจังหวะเดิมซ้ำๆ แล้วคุณอาจได้รู้ว่าเพลงไหนเป็นเพลงโปรดของลูกคุณ’

หลังจากที่เด็กคุ้นเคยกับเสียงเพลง จังหวะ และการเล่นนิ้วแล้ว ลองตัดท่าทางออกไปและเปิดเสียงเพลงหรือให้จังหวะอย่างเดียว ลูกของคุณแสดงท่าทางที่เหมาะสมเฉพาะเวลาได้ยินเสียงเพลงหรือการให้จังหวะ อย่างเดียวหรือเปล่า? ถ้าไม่ ให้มองตาเด็กเพื่อทำสัญญาณแสดงการฟัง ถ้าจำเป็นให้แสดงสัญญาณอีกครั้งโดยให้ท่าทางประกอบสักท่าสองท่า ทักษะนี้อาจพัฒนาได้ก่อนที่คุณจะได้ยินลูกพยายาม“ร้องตาม”เสียอีก

เกมและของเล่นที่มีเสียงหรือดนตรี เป็นอีกทางหนึ่งที่จะกระตุ้น’ทักษะการฟังและการรับรู้เสียงเบื้องต้นของลูก คุณได้ ทั้งนี้เรามีวีดิโอคลิปสั้นๆของคุณแม่ ลูกน้อยของเธอ และผู้เชี่ยวชาญการช่วยเหลือเด็กเล็กให้ชมเป็นตัวอย่าง

วีดิโอคลิป

วีดิโอคลิปสั้นๆสามเรื่องได้แก่ “แมงมุมลายตัวนั้น (Itsy Bitsy Spider)” “เพลงยามเช้า (The Morning Song)”และ “ลูกลิงห้าตัว (Five Little Monkeys)” คุณแม่รายนี้เลือกที่จะให้ลูกของเธอนั่งบนเก้าอี้สูงสำหรับเด็กเพื่อทำ กิจกรรม วิธีนี้ช่วยให้เด็กอยู่กับที่และดึงความสนใจของเด็กได้ บ้างเลือกที่จะให้ลูกนั่งบนตัก ที่โต๊ะสำหรับเด็ก’ หรือนั่งด้วยกันบนพื้น คุณแม่เลือกที่จะนั่งข้างๆ ลูกซึ่งเป็นเทคนิคการฟังที่ให้ผลดีมากกว่าการนั่งตรงข้ามกัน อย่างไรก็ตามคุณควรเลือกวิธีที่รู้สึกสบายและเป็นธรรมชาติที่สุดสำหรับคุณและลูก
การแสดงสัญญาณการฟัง เช่น การชี้ไปที่หูของลูก’ จะช่วยสร้างเสริมกิจวัตรการฟังและบอกให้ลูกรู้ว่าถึงเวลาต้องฟังแล้ว
การเว้นช่วงเพื่อรอปฏิกิริยาหรือการตอบสนองจากเด็กนับเป็นอีกกลยุทธ์ที่สำคัญในการกระตุ้นการตอบสนองให้เพิ่มขึ้น
การที่ผู้ปกครองเลีัยนแบบท่าทางหรือเสียงของเด็ก’ สามารถช่วยกระตุ้นให้ลูกแสดงพฤติกรรมที่ต้องการได้

การตอบสนองของทารก

โดยทั่วไปเด็กทารกมักจะเริ่มตอบสนองต่อเสียงและเรียนรู้ที่จะจดจำ เสียงบางอย่างในช่วงสองสามสัปดาห์แรกของการใช้ประสาทหูเทียม ประเภทของการตอบสนองที่อาจเกิดขึ้นได้แก่:
  • การโยกตัวตามจังหวะหรือเสียงเพลง
  • หยุดทำิกิจกรรมหรือเงียบไป
  • ตาเบิกกว้าง/ตาเป็นประกาย
  • ยิ้ม
  • ทำกิจกรรมมากขึ้น
  • จ้องตาไม่กระพริบ
  • เลียนแบบการเคลื่อนไหวบางอย่าง (ท่าทาง)
  • ออกเสียงดังขึ้น
  • เด็กใช้ “สัญญาณการฟัง” กับพ่อแม่ (ชี้ไปที่หูของเธอ)
  • เด็กแสดงอาการบ่งบอกว่าเสียงหายไปเมื่อคอยล์หลุดออกจากหู (ชี้ไปที่หู)
     
คราวนี้ลองดูวีดิโอคลิปกัน คุณเห็นการตอบสนองใดบ้าง? คุณแม่ในเรื่องทำอะไร?
คุณสังเกตเห็นอะไรอีกบ้าง?
  •  คุณแม่  ได้หยุดเว้นจังหวะให้เด็กได้ตอบสนองหรือแสดงการโต้ตอบหรือไม่?
  • คุณแม่แสดงสัญญาณว่าให้ฟังกับเด็กหรือเปล่า?
  • เด็กได้ใช้สัญญาณการฟังเพื่อบอกว่าเธอได้ยินหรือไม่?
  • เด็กให้ความสนใจดีหรือไม่?
  • เด็กเลียนแบบการเคลื่อนไหวนิ้วตามจังหวะที่ถูกต้องหรือไม่?
  • คุณเห็นปฏิกิริยาใดๆ บนใบหน้าของเด็กหรือไม่’ เช่น รอยยิ้ม?
  • เด็กแสดงท่าทางอาการว่าเธอได้ยินเสียงของเล่นหรือไม่? อย่างไร?
  • เด็กเปล่งเสียงออกมาหรือไม่?

ตอนนี้ถึงตาคุณแล้ว ลองทำกิจกรรมสั้นๆ กับลูกของคุณ ร้องเพลงหรือให้จังหวะเดิมซ้ำๆ และคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงใน’ปฏิกิริยาและการตอบสนองของลูกน้อยเป็นระยะๆ จากนั้นจดรายการการตอบสนองต่างๆ ของลูกคุณเอาไว้ เสียงเพลงหรือจังหวะที่มีการเคลื่อนไหวนิ้วประกอบดังตัวอย่างข้างต้นจะช่วย เรียกความสนใจของเด็กที่เริ่มหัดฟังได้’ ถ้าคุณมีกล้องวีดิโออยู่ที่บ้าน จะลองอัดเทปตอนทำกิจกรรมไว้ก็ได้ แล้วคุณอาจจะได้เห็นในสิ่งที่คุณไม่ทันสังเกตระหว่างทำกิจกรรม แถมสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ จะได้มีโอกาสดูด้วย

พัฒนาความฉลาดของลูกด้วยกิจกรรมเคลื่อนไห


  
 
       กิจกรรม การเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก เพราะเด็กได้ใช้ร่างกายเป็นสื่อกลางในการแสดงออกทางอารมณ์และความคิดสร้าง สรรค์ตามจังหวะ เสียงดนตรี และเสียงเพลง โดยการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ 
     
  
       ความสำคัญของการเคลื่อนไหวต่อเด็ก
       
       1. การร้อง เล่น เต้นรำ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เด็ก ๆ ชอบ เพราะเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กที่ไม่อยู่นิ่งและชอบเคลื่อน ไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา
      
       2. ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เดิน วิ่ง กระโดดโลดเต้น ชูมือ หมุนตัว ส่ายเอว เพื่อที่จะสามารถพัฒนาทักษะในการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
      
       3.ช่วยให้สุขภาพร่างกายของเด็กแข็งแรง และพัฒนาอวัยวะทุกส่วนของเด็กให้มีความสัมพันธ์กันอย่างดีในการเคลื่อนไหว เพราะการที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายในการเต้นรำตามจังหวะและเสียงดนตรีนั้น เป็นการที่เด็กได้ออกกำลังกายโดยตรง
      
       4.ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เพราะการที่เด็กได้คิดค้นท่าทางการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระผ่านทางเสียง เพลงเช่น การเคลื่อนไหวเล่นบทบาทสมมุติตามเพลง การเคลื่อนไหวร่างกายกับอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นการฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์และจินตนาการให้แก่เด็กได้ดีมากทีเดียว
      
       5.ช่วยให้เด็กเกิดความมั่นใจในตนเอง เพราะกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะนั้นเป็นกิจกรรมที่ไม่ปิดกั้นในการที่เด็ก ได้แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และความเป็นตัวของตัวเองได้อย่างอิสระ ซึ่งส่งผลในการพัฒนาความเป็นเอกลักษณ์และความมั่นใจในตนเองแก่เด็กต่อไป
      
       6.ช่วยให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะจะเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ ทำร่วมกับผู้อื่น เช่น เต้นรำในจังหวะต่างๆเช่น จังหวะวอลซ์ จังหวะชะชะช่า ร่วมกับเพื่อน ซึ่งการที่เด็กได้เต้นรำ เคลื่อนไหวร่างกายร่วมกับผู้อื่นนั้น เป็นการพัฒนาทักษะทางสังคมให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี
      
       7.การที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะเพลง และเสียงดนตรีนั้น ช่วยให้เด็กสนุกสนาน เบิกบาน ผ่อนคลายความเครียด ซึ่งเป็นผลที่ทำให้เด็กเป็นคนมีอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส
      
       8.การร้อง เต้น เล่นสนุกช่วยพัฒนาสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็ก เช่น ในด้านภาษา เด็กได้เรียนรู้ด้านภาษาผ่านทางเนื้อเพลง ได้เรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ผ่านทางจังหวะของดนตรี
      
       9.ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ประจำชาติของประเทศต่างๆ เช่น การรำ การเต้นระบำฮาวาย การเต้นแบบจีน การเต้นแบบแขก
      
       10.ช่วยให้เด็กมีความสามัคคีและปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่ม เช่น การออกกำลังกายตามเพลงพร้อมกับเพื่อนๆ นอกจากนี้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะยังช่วยฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตามให้แก่เด็กอีกด้วย เช่น ให้เด็กทำท่าทางเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำแล้วให้เพื่อนปฏิบัติตาม โดยมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป
 
       สิ่งที่ต้องจัดเตรียมในการจัดกิจกกรมการเคลื่อนไหวคือ
       
       อธิบายถึงกฎกติกาของการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน เช่น ไม่ผลักหรือชนคนอื่น มีช่องว่างเฉพาะของตัวเอง ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ
      
       - มีที่ว่างพอหรือไม่สำหรับทำกิจกรรมการเคลื่อนไหว
       - เวลาในการทำกิจกรรม
       - คุณพ่อ คุณแม่และลูกทุกคนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมหรือไม่
       - กิจกรรมนั้นเหมาะกับวัยของลูกหรือไม่
       - ลูกรู้สึกตื่นเต้นกับการทำกิจกรรมนั้นหรือไม่
   
    
       ตัวอย่างกิจกรรมเล่นกับลูก
       
       1. เมื่อลูกอยู่ไม่นิ่ง ให้ลูกยืนทำท่าออกกำลังกาย เช่น ให้ลูกเคลื่อนไหวตัวช้าๆ หมุนแขนเป็นวงกลม เหวี่ยงแขนไปทางซ้ายไปทางขวา ก้มลงจับนิ้วเท้า กระโดด ก้มโค้งตัวลง วิ่งเหยาะๆ เป็นต้น
      
       2. ให้เด็ก ๆ เดินย่ำเท้า ซ้าย ขวา ซ้าย นับ 2 , 4 .6 8 หรือ 5 ,10 15, 20 หรือ 10,15, 20 เป็นต้น อาจให้เด็กท่องสูตรคูณ หรือท่อง ก- ฮ ร้องเพลง ABC ก็ได้
      
       3. ให้คุณพ่อ และคุณแม่แบ่งเป็น 2 ฝ่ายแล้วให้ลูกเลือกว่าจะอยู่ข้างไหน และผลัดกันเป็นผู้นำ ผู้ตามเช่น เมื่อคุณแม่วิ่งให้วิ่งตาม เมื่อคุณแม่บอกว่าหยุด ดูสิว่าใครหยุดก่อนกันระหว่างทีมคุณพ่อหรือคุณแม่
      
       4. ให้ลูกทำ 2 อย่างในเวลาเดียวกัน เช่นให้ลูกลูบท้องและจับไหล่ในเวลาเดียวกัน ตบมือและหัวเราะในเวลาเดียวกัน ยืนขาเดียวแล้วหมุนศีรษะในเวลาเดียวกัน เป็นต้น
      
       5. ใช้การเคลื่อนไหวสลับข้าง เช่นมือซ้ายจับหัวเข่าขวา เมื่อได้ยินเสียงบอกว่า “ เปลี่ยน ”ใช้หัวเข่าขวาจับมือซ้ายบ้าง หรือใช้คิ้วแตะ ข้อศอก เมื่อได้ยินเสียงบอกว่า “ เปลี่ยน ” ให้ใช้ข้อศอกแตะคิ้วบ้างเป็นต้น
      
       6. ให้ลูกกระโดดเป็นกระต่าย ควบเป็นจังหวะเหมือนม้า หรือบินเหมือนผีเสื้อเป็นต้น
      
       7. ให้ลูกใช้จมูกเขียนตัวเลข หรือใช้ก้นเขียนตัวอักษร หรือใช้คิ้วเขียนชื่อตัวเอง ใช้นิ้วเขียนชื่ออาหารที่ชอบในอากาศ เป็นต้น
      
       8. ร้องเพลง "จับไวๆ" แล้วเล่นจับอวัยวะนั้นๆอย่างรวดเร็ว   เพลงจับไวๆ ผู้แต่ง ดร. แพง ชินพงศ์    จับหัว คาง หู หัวไหล่ จับไวๆ จับจมูก ปาก ตา จับแขน จับขา แล้วก็จับสะดือ
       
 
      การทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวกับลูกจะช่วยพัฒนาทั้งทักษะการคิด ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กในเวลาเดียวกัน อีกทั้งช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะความจำ และทักษะการฟังอีกด้วย โดยรูปแบบของกิจกรรมการเคลื่อนไหวนั้นอาจเป็นเกมและการละเล่นต่างๆ การเล่นบทบาทสมมติ และการเต้นรำ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการเด็กและช่วยพัฒนาความ ฉลาดของลูกน้อยอย่างแน่นอน
 

 
Life & Family / ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ