วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย

   การเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัยมีความสำคัญ เด็กจะได้พัฒนาการร่างกายในส่วนต่างๆ นั้น ครู
จำเป็นต้องจัดเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวในลักษณะของรูปแบบต่างๆ  เช่น
          การเคลื่อนไหวพื้นฐานทั้งหมด ได้แก่ การเดิน  การคลาน  การคืบ  การวิ่ง   ฯลฯ
          การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง
          การแสดงท่าทางตามคำบรรยาย  เรื่องราว
          การทำท่าทางกายบริหาร
          การเลียนแบบท่าทางสัตว์  การเลียนแบบท่าทางคน   การเล่นเลียนแบบเป็นสิ่งของ ฯลฯ
          การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
          การเคลื่อนไหวเป็นผู้นำหรือผู้ตาม
          การเคลื่อนไหวสร้างสรรค์หรือการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
          กิจกรรมที่นำเสนอดังกล่าว นอกจากทำให้เด็กได้พัฒนาการด้านร่างกายแล้ว  เด็กยังได้พัฒนาการด้านอื่นๆ พร้อมกันไปด้วย
         

Good to Know By Huggies: ตอน ส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวให้ลูกน้อย


โดย HuggiesThai ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2010
ส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวของลูกน้อย

         แต่ ละพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวที่สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงขวบปีแรกของลูกน้อยอาจดูเหมือนว่าไม่สัมพันธ์กันเลย แต่ในความเป็นจริงแล้ว พัฒนาการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับ โดยปกติแล้ว พัฒนาการจะเริ่มจากศีรษะไปจรดเท้า โดยที่เด็กจะพัฒนาทักษะการใช้ศีรษะและแขนก่อนทักษะการใช้ขาและเท้า นอกจากนี้ ความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวจะเริ่มต้นจากศูนย์กลางของร่างกาย ซึ่งหมายความว่าลูกน้อยของคุณจะสามารถควบคุมลำตัวได้ก่อนที่เขาจะสามารถควบ คุมนิ้วมือและนิ้วเท้าได้

       ต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของพัฒนาการที่สำคัญที่สุดตั้งแต่ศีรษะไปจนถึงนิ้วเท้า และคำแนะนำเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อย
การควบคุมศีรษะ
        สิ่ง แรกๆ อย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้รับการสอนนั่นคือให้พยุงศีรษะของลูก น้อย ทั้งนี้เพราะเขายังไม่สามารถพยุงศีรษะด้วยตัวเองได้จนกว่าเขาจะอายุได้ ประมาณ 3 เดือน
        เมื่อกล้ามเนื้อคอของเขาแข็งแรงขึ้น เขาจะสามารถ “ดันตัวขึ้นได้เล็กน้อย” โดยยกทั้งศีรษะและหน้าอกขึ้นจากพื้นได้
        เมื่อ ลูกน้อยอายุได้ประมาณ 7 เดือน เขาจะสามารถควบคุมศีรษะของเขาได้อย่างเต็มที่และจะสามารถตั้งคอเองได้อย่าง มั่นคงเป็นเวลานานในขณะที่นั่งอยู่บนตักของคุณแม่หรือเมื่ออุ้มเขาให้ลำตัว ตั้งตรง คุณแม่ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้เพื่อช่วยให้ลูกน้อยพัฒนาการควบคุมศีรษะได้ดี ขึ้น
  1. วางลูกนอนคว่ำบนพื้น ทำเช่นนี้วันละหลายๆ เพื่อให้เขาได้ฝึกฝน
  2. หลอกล่อให้เขายกศีรษะของเขาขึ้นเอง วางกระจกที่ตกไม่แตกหรือรูปภาพใหญ่ๆ ไว้หน้าเขา หรือคุกเข่าแล้วยื่นหน้าไปใกล้ๆ เขา
การเอื้อมมือและการคว้า
        ทารกส่วนมากจะเริ่มโบกมือหรือตีสิ่งของได้เมื่ออายุได้ 3 เดือน ซึ่งการเคลื่อนไหวมือนี้จะพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว
        เมื่อ อายุได้ 5 หรือ 6 เดือน ลูกน้อยควรจะสามารถเอื้อมมือไปในทิศทางเดียวกับที่ตามองได้ ซึ่งหมายความว่าเขาสามารถมองเห็นสิ่งของและเอื้อมมือไปคว้าได้
        เมื่อ อายุได้ 8 หรือ 9 เดือน แม้ว่าลูกน้อยกำลังเรียนรู้ที่จะจับสิ่งของด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้อยู่ แต่เขาก็สามารถหยิบสิ่งของชิ้นเล็กๆ ได้อย่างน่าประหลาดใจ ยกตัวอย่างเช่น อาหารชิ้นเล็กๆ หรืออาจจะเป็นขี้ฝุ่นเล็กๆ และสิ่งสกปรกบนพื้นก็ได้ คุณแม่จำเป็นต้องจับตาดูเขาให้ดี เพราะเขาจะพยายามลิ้มลองอะไรก็ตามที่เขาหยิบขึ้นมาได้
        ทดลองปฏิบัติตามข้อแนะนำสี่ข้อดังต่อไปนี้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการประสานมือ-สายตาของลูกน้อย
  1. แขวน ของเล่นไว้บนเตียงของเขา ซึ่งจะช่วยให้ลูกพยายามตีสิ่งของที่อยู่เหนือศีรษะเขา (เพื่อความปลอดภัย ให้ถอดของเล่นนี้ออกทันทีเมื่อเขาสามารถนั่งได้)
  2. ในขณะที่ลูกน้อย กำลังนอนหงายอยู่บนพื้น ให้แขวนของที่ดูสะดุดตาไว้เหนือตัวเขา และแกว่งให้อยู่เหนือศีรษะเขา 3 ถึง 8 นิ้ว เพื่อกระตุ้นให้เขาเอื้อมมือไปตี
  3. เพื่อช่วยให้ลูกน้อยวัย 4 เดือนได้ฝึกหัดหยิบจับสิ่งของ ให้นำของเล่นที่เขย่าแล้วมีเสียงหรือสิ่งของอื่นๆ ที่ปลอดภัยให้เขาถือ อะไรก็ตามที่เขาเขย่าแล้วมีเสียง หรือของที่มีเนื้อนุ่มๆ ไว้ให้เขากัดเล่น อาจช่วยกระตุ้นให้ลูกถือของนั้นไว้
  4. วางของเล่นหลายๆ อย่างไว้ในบริเวณที่เขาเอื้อมถึง ปล่อยให้เขาคว้านู่นคว้านี่ในขณะที่เขานอนคว่ำหน้าบนพื้น
การพลิกตัว
แม้ ว่าความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวศีรษะของลูกจะทำได้ยากและพัฒนาอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป แต่การพลิกตัวกลับเป็นพัฒนาการที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ซึ่งเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่เฝ้ารอคอยอย่างตื่นเต้น
       เมื่อ อายุได้ 4 หรือ 5 เดือน ลูกน้อยจะสามารถพลิกตัวได้เพียงทิศทางเดียว (คือพลิกหงายหรือพลิกคว่ำ) บางทีลูกอาจจะไม่สามารถพลิกตัวไปอีกทิศทางหนึ่งได้จนกระทั่งอายุ 6 หรือ 7 เดือน
คุณแม่สามารถกระตุ้นให้ลูกพลิกตัวได้โดย
  1. หาพื้นที่กว้างๆ ให้เขาและให้โอกาสเขาได้ฝึกหัด ซึ่งพื้นเหมาะที่สุด
  2. ชมเชยเขา พูดคุยกับลูกและกระตุ้นให้เขาฝึกพลิกตัว
  3. ถือ ของเล่นที่เขาสนใจไว้ข้างๆ ตัวเขา เช่น ของเล่นที่ส่งเสียงได้เมื่อเขย่าหรือกระจกสำหรับเด็ก ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจของลูกและหลอกล่อให้เขาพลิกตัวเพื่อหันไปดู
การลุกขึ้นนั่ง
        เมื่อ เด็กสามารถพลิกตัวได้แล้ว การลุกขึ้นนั่งจึงมิใช่เรื่องยาก เด็กจะเห็นโลกในมุมมองใหม่เมื่อเขาเรียนรู้การลุกขึ้นนั่งแล้ว ดังนั้น การลุกขึ้นนั่งจึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับเขาพอๆ กับที่คุณพ่อคุณแม่ตื่นเต้น!
         เมื่ออายุได้ประมาณ 4 เดือน ลูกน้อยจะสามารถนั่งได้เมื่อพยุงตัวเขา
         เมื่ออายุ 6 เดือน เขาจะสามารถนั่งบนเก้าอี้สูงได้บ้าง และก่อนอายุครบ 1 ขวบ เขาจะสามารถนั่งได้เองโดยไม่ต้องมีคนคอยช่วย
เพื่อช่วยให้ลูกน้อยได้ฝึกหัดทักษะการนั่ง คุณแม่ควรปฏิบัติดังนี้
  1. วางเขาไว้บนตักคุณ หันหน้าออกในขณะที่คุณแม่นั่งขัดสมาธิอยู่บนพื้น ท้องและขาของคุณแม่จะช่วยพยุงหลังของลูก
  2. พยุงตัวลูกน้อยไว้บนหมอนที่ได้มาตรฐานหรือหมอนรูปตัวยู ให้เขาสัมผัสกับประสบการณ์การนั่งไปโดยที่มีคุณแม่คอยควบคุมดูแล
การคลานและการเดิน
        ระหว่าง อายุ 8 และ 13 เดือน ลูกน้อยจะสามารถเคลื่อนไหวได้ในบางรูปแบบ คุณพ่อคุณแม่มักเห็นว่าการคลานได้และการเดินได้เป็นพัฒนาการทางกายภาพที่ สำคัญที่สุด แม้ว่าการคลานได้หรือเดินได้จะเป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรลืมว่าเด็กแต่ละคนมีการพัฒนาในแบบของเขาเองและแต่ละ คนจะพัฒนาเร็วช้าต่างกันออกไป หากคุณแม่กังวลใจเรื่องพัฒนาการของลูกน้อยในด้านการเคลื่อนไหว ควรไปปรึกษาเรื่องนี้กับกุมารแพทย์ แต่เด็กส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวเป็นไปตามรูปแบบ
  • ในขั้นแรก เขาจะสามารถลุกขึ้นได้ด้วยมือและเข่าของเขาเอง
  • ต่อจากนั้นเขาจะโยกตัวไปมาเพื่อพยายามเคลื่อนไปข้างหน้า
  • เขาจะพัฒนาวิธีการเคลื่อนตัวไปรอบๆ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การโยกตัว การหมุนตัว การกลิ้ง และการกระดืบ
       หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน คุณแม่จะพบว่าเขาเริ่มพัฒนาไปสู่การคลานอย่างแท้จริง
       เด็กหลายคนเรียนรู้การคลานถอยหลังก่อน แต่อีกไม่นาน เขาก็จะเรียนรู้การคลานไปในทิศทางที่ถูกต้อง
       แต่ ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะคลานแบบเดียวกันนี้ อันที่จริงแล้ว เด็กบางคนไม่ยอมคลานเลยด้วยซ้ำ แต่เรียกร้องที่จะเดินโดยมีผู้ใหญ่คอยจับมือเขาไว้แทน เด็กบางคนอาจใช้วิธีไถไปด้วยก้น กระดืบไปด้วยท้อง หรือ “เดินแบบหมี” นั่นคือคลานโดยที่เหยียดแขนและขาออก ไม่ว่าลูกน้อยของคุณจะเลือกสไตล์การเคลื่อนไหวแบบไหนก็ตาม ก็จะทำให้เขามีอิสระอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนและเป็นโอกาสที่เขาจะได้ออกสำรวจ โลกกว้าง
คุณแม่ควรพยายามกระตุ้นให้ลูกน้อยเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวด้วยเกมง่ายๆ เหล่านี้
  1. เล่น คลาน “ไล่จับ” ซึ่งเด็กที่กำลังเรียนรู้การเคลื่อนไหวจะสนุกกับเกมนี้มาก ให้คุณแม่คลานตามหลังลูก แล้วบอกเขาว่า “แม่จะจับหนูแล้วนะ!” แล้วก็คลานห่างออกไป เพื่อกระตุ้นให้เขาคลานตามไป คุณแม่อาจไปซ่อนตัวอยู่หลังเฟอร์นิเจอร์และปล่อยให้เขาหาคุณให้เจอ
  2. หาของมาวางกีดขวางเป็นอุปสรรค คุณแม่ควรหาข้าวของมาวางให้เต็มห้อง เพื่อให้เขาได้ฝึกหัดการคลานข้าม คลานลอดหรือคลานอ้อมสิ่งกีดขวาง
เคล็ดลับเพื่อความปลอดภัย
        เมื่อ เจ้าตัวน้อยเริ่มคลานไปไหนมาไหนได้เองแล้ว สิ่งสำคัญก็คือ คุณแม่ต้องหาที่ที่ปลอดภัยให้เขาเล่น คุณแม่ควรป้องกันเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยทั่วทั้งบ้านและในสนาม ซึ่งจะเป็นการป้องกันลูกน้อยจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงเป็นการป้องกันข้าวของมีค่าภายในบ้านด้วย
        ลูกน้อยจะเริ่มต้น ปีนป่ายบันไดและเฟอร์นิเจอร์ในช่วงอายุเท่านี้ แต่โชคไม่ดีที่เด็กส่วนใหญ่มักจะเรียนรู้วิธีการปีนลงบันได คุณแม่อาจลองสอนลูกน้อยถึงวิธีการคลานลงบันไดอย่างปลอดภัย (คือใช้เท้าลงก่อน แล้วค่อยตามด้วยท้อง) แต่ยังคงต้องดูแลเขาอย่างใกล้ชิด วางประตูอันหนึ่งไว้บันไดขั้นบนสุด และวางอีกอันหนึ่งไว้บนขั้นที่ 3 หรือ 4 นับจากด้านล่าง (เพื่อว่าเขาจะได้ฝึกปีนป่ายบันไดสองสามขั้นจากด้านล่างสุดได้อย่างปลอดภัย) หากช่องระหว่างราวบันไดกว้างกว่า 3 นิ้ว คุณแม่ควรติดตั้ง Plexiglas หรือตาข่ายเพื่อความปลอดภัยเพื่อว่าลูกน้อยจะได้ไม่พลัดตกลงมา
         ความ สุขใจมากที่สุดอย่างหนึ่งของคนเป็นพ่อเป็นแม่คือ การได้เฝ้าดูลูกด้วยความประหลาดใจ ด้วยความหงุดหงิดใจและด้วยความสุขในขณะที่เขาก้าวข้ามผ่านพัฒนาการในขั้น ต่างๆ โดยในแต่ละขั้นนั้นเป็นความพิเศษและเป็นสิ่งน่ามหัศจรรย์ใจ ขอให้คุณพ่อคุณแม่เพลิดเพลินและทะนุถนอมช่วงเวลาแห่งการค้นพบนี้ไปพร้อมกับ ลูกน้อย!

ดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย


          กิจกรรม ดนตรีที่เหมาะกับเด็ก ได้แก่ กิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่นการร้องเพลง เล่นเกมประกอบเพลง และบรรเลงเครื่องดนตรีอย่างง่าย เป็นต้น  เด็ก จะสนุกกับกิจกรรมที่เขาได้ออกความคิด ได้เคลื่อนไหว ได้ใช้ภาษา บรรเลงเครื่องดนตรี และร้องเพลง กิจกรรมดนตรีจะเป็นพื้นฐาน ของเด็กในการที่จะพัฒนาการดนตรีของเขาให้ดีขึ้นในอนาคต
เด็กเรียนจบชั้นอนุบาลเขาควรมีความสามารถดังนี้
         -   ใช้เสียงร้องเพลงให้แตกต่างจากเสียงพูด
         -   ร้องเพลงได้ชัดเจนไม่เพี้ยน
         -   เขารู้จักจังหวะ เร็ว - ช้า พลังเสียง ดัง - เบา
การสอนดนตรี
         การ สอนดนตรี การศึกษาพัฒนาการเด็กตามองค์ประกอบสามประการของดนตรี ได้แก่ การเคลื่อนไหว การฟัง และการร้องเพลง จะช่วยให้ครูจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมแก่เด็ก  การเคลื่อนไหว(Moving) เด็ก เริ่มเคลื่อนไหวตั้งแต่เป็นทารก หรือแม้แต่ยังอยู่ในครรภ์มารดา เดือนแรกๆ เด็กจะเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อศรีษะก่อน หลังจากนั้นจึงจะเคลื่อนไหวไหล่ แขน ลำตัว และขา การพัฒนาการเคลื่อนไหวก็เริ่มจากกล้ามเนื้อใหญ่ไปกล้ามเนื้อเล็ก การควบคุมการเคลื่อนไหว เริ่มตั้งแต่ส่วนกลางของร่างกาย แล้วขยายออกไป เด็กยกศรีษะได้ก่อนนั่ง ยืนหรือเดิน แล้วพัฒนาถึงขั้นหยิบไม้บล็อกด้วยมือทั้งมือก่อนจะสามารถหยิบด้วยนิ้วหัวแม่ มือและนิ้วชี้


คุณค่าดนตรีต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย              
     ผลจากคุณค่าของเสียงดนตรีที่มีต่อการพัฒนาทางด้านจิตใจของเด็ก นักจิตวิทยาสังคมต่างให้การยอมรับและได้กล่าวถึงคุณค่าของดนตรีไว้ว่า
          1.  ดนตรีก่อให้เกิดความสว่างแก่จิตใจ ( Enlightenment)
          2.  ดนตรีก่อให้เกิดความสุข ( Well - Being)
          3.  ดนตรีก่อให้เกิดความผูกพันรักใคร่ ( Affection)
                     ดนตรีเป็นศาสตร์ หรือวิชาที่ทำให้เด็กระดับปฐมวัยได้รับการพัฒนาทุก ๆ ด้านของการเจริญเติบโต ไม่ว่าจะเป็นความรู้    ความจำ สังคม   ค่านิยม การคิดหาเหตุผล การสร้างสรรค์ การพัฒนากล้ามเนื้อ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า    การพัฒนาตนเองให้เข้ากับกลุ่ม    หรือสภาพแวดล้อมของสังคมต่าง ๆ ดนตรีจึงน่าจะเป็นวิชาเดียวเท่านั้นที่ทำให้เด็กสนุกสนานรื่นเริงอย่างเต็มที่    ทั้งการแสดงออกทางร่างกาย    ความคิด ตลอดจนพัฒนาการทางจิตใจ อารมณ์ และนอกจากนี้ ดนตรีนอกจากนี้ ดนตรียังสามารถนำไปสัมพันธ์  เชื่อมโยงหรือบูรณาการ    กับวิชาการ องค์ความรู้ และกิจกรรมต่าง ๆ แก่เด็กปฐมวัยอย่างสำคัญทีเดียว    ประการสำคัญดนตรีเป็นตัวจักรสำคัญที่ใช้ในการเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัย ดังนี้
ดนตรีช่วยเสริมสร้างพัฒนาด้านสุขภาพและพลานามัยของเด็กปฐมวัย
           การ เล่นเครื่องดนตรีหรือการร้องเพลงของเด็กนั้น น่าจะไม่เพียงแต่นั่งร้องหรือขับร้องเท่านั้น แต่เด็กทุกคนชอบ และพอใจที่จะทำท่าทางประกอบไปด้วย เนื่องจากเด็กในระดับปฐมวัยชอบเปลี่ยนอิริยาบทชอบการเคลื่อนไหว กระโดดโลดเต้นไปตามจังหวะท่วงทำนองของเพลง ดังนั้น เพลงและดนตรีจึงสามารถใช้เป็นสิ่งเร้าเพื่อพัฒนาการเคลื่อน ไหว ทั้งการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหวเพื่อดนตรี การเคลื่อนไหวเพื่อนาฎศิลป์ หรือการเต้นรำ รวมทั้งพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก ขน ขา ลำตัว นิ้วมือ และส่วนต่างๆ ของร่างกายตามจังหวะ ดนตรี จะเป็นการช่วยพัฒนาให้เด็กมีร่างกายแข็งแรงและพลานามัยที่สมบูรณ์ อันจะเป็นผลเกี่ยวโยงไปสู่จุดมุ่งหมายทาง การศึกษาที่มุ่งให้เด็กพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะด้านอื่น ๆ ซึ่งจะช่วย ให้เด็กปฐมวัยปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้อย่างมี ความสุข
ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ - จิตใจของเด็กปฐมวัย
           เพลง และดนตรีช่วยพัฒนาอารมณ์ของเด็กในแง่การให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน สดชื่น ร่าเริง บางครั้งเด็กปฐมวัยจะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง อาจทำให้เด็กเกิดความขัดแย้งหรือสับสน จึงทำให้เด็กมีปัญหาในด้านอารมณ์และจิตใจดนตรีจะสามารถช่วยบรรเทาหรือปรับ อารมณ์เด็กได้อย่างดี ดนตรีสามารถช่วยให้เด็กได้แสดงออกตามความต้องการความรู้สึกและความสามารถ ช่วยถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกของเด็ก ช่วยให้เด็กผ่อนคลายความเครียด ดังจะเห็นได้จากการ สังเกตเวลาเด็กร้องเพลงเล่นกัน เด็กจะมีหน้าตายิ้มแย้ม เบิกบาน แม้เด็กบางคนจะมีอารมณ์หงุดหงิด แต่เมื่อได้ร้องรำทำเพลงหรือได้ฟังเพลงสักครู่ก็จะค่อยคลายความไม่สบายใจลง เพราะความไพเราะของเพลง ลีลาและท่วงทำนองเพลงจะช่วยกล่อมอารมณ์ของเด็กให้เพลิดเพลินเป็นปกติได้ อย่างดี นอกจากนี้แล้ว ดนตรียังพัฒนาอารมณ์ของเด็ก เกิดความบันเทิงใจ เพลิดเพลิน เกิดจินตนาการกว้างไกล อารมณ์เยือกเย็น สุขุม รักสวยรักงาม เห็นคุณค่าของดนตรี รักในเสียงเพลง เสียงดนตรี จากการสัมผัสดนตรีอยู่ในโลกของดนตรี ไม่เกิดความเหงา เห็นเสียงเพลงเสียงดนตรีเป็นเพื่อน เด็กจะเกิดความนุ่มนวลอ่อนโยนขึ้น ไม่แข็งกระด้าง ไม่เห็นแก่ตัว มีอารมณ์สุนทรีย์ละเอียดอ่อน การพัฒนาทางอารมณ์ของเด็กจะได้รับการกล่อมเกลาไปทีละเล็กละน้อย จนมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม อันเป็นผลพวงจากดนตรีนั่นเอง
ดนตรีช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสังคมของเด็กปฐมวัย
           เป็นที่ทราบกันดีว่า เด็กปฐมวัยเป็นเด็กที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric) เด็ก จะสนใจตนเองมากกว่า ทำให้เด็กไม่ค่อยคิดถึงผู้อื่น สิ่งที่ควรแก้ไขให้รู้จักเอาใจผู้อื่น แบ่งปันสิ่งของ ร่วมเล่นกับเพื่อน รู้จักช่วยเพื่อน ๆ รู้จักใช้ถ้อยคำและกริยาอย่างเหมาะสม รู้จักรักและชื่นชมและให้อภัยต่อกัน ซึ่งสิ่งดังกล่าวสามารถใช้ดนตรีเป็นสื่อ เพราะดนตรีมีส่วนช่วยโน้มน้าวให้เด็กอยากเรียน อยากเล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน โดยที่ไม่ต้องมีการบังคับแต่ประการใด วิธีหนึ่งที่จะให้เด็กได้พัฒนาด้านสังคม คือ ให้เด็กได้ร่วมร้องเพลงหรือทำกิจกรรมทางดนตรี แสดงบทบาทตามดนตรี จนกระทั่งเด็กเกิดความซาบซึ้งและเห็นคุณค่า เด็กจะพยายามเลียนแบบ ทั้งนี้ ครูและผู้เกี่ยวข้องต้องคอยย้ำและเตือนอยู่เสมอ จนกระทั่งเด็กได้พัฒนาพฤติกรรมทางสังคม เด็กที่ได้รับการพัฒนาทางด้านสังคมโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ ผู้เขียนคิดว่า เด็กจะเรียนรู้ถึงความเป็นไปของสังคมใกล้ตัวและสังคมรอบข้าง เด็กจะเป็นที่รักของสมาชิกและสังคม อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข สามารถปรับ
ตัว ให้เข้ากับผู้อื่นได้ รู้จักพูดจา แสดงท่าทางเหมาะแก่กาลเทศะ ทำงานและเล่นกับผู้อื่นได้ดี ยอมรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดจากการใช้ดนตรีเป็นสื่อในการพัฒนาสังคมของเด็กปฐมวัยโดย แท้
           นอก จากนี้ดนตรีทำให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านสังคม อันเป็นผลจากการที่เสียงดนตรีมีส่วนช่วยในการปรับสภาพอารมณ์ของเด็กให้เกิด ความพึงพอใจ และความสุขสบาย ฉะนั้นการที่เด็กได้ฟังเสียงดนตรีที่มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เด็กจะเกิดความรู้สึกอบอุ่น มีความไว้วางใจในสิ่งแวดล้อม มีความสุขในการเรียน การทำงาน และสามารถที่จะปรับตัวในลักษณะที่เหมาะสมเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น จะสังเกตได้จากพฤติกรรมการแสดงออก ซึ่งเด็กจะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมากขึ้น มีพฤติกรรมทางสังคมที่ดี มีความสามัคคีร่วมมือในการทำกิจกรรม ซึ่งส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้เป็น อย่างดียิ่ง
ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย
           ดนตรี จะช่วยสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจ และมโนคติกับเด็กในเรื่องต่าง ๆ เช่น ธรรมชาติศึกษา คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา ฯลฯ และเป็นการช่วยที่เด็กพอใจ เด็กเข้าใจและจดจำได้เอง โดยไม่ต้องมีการบังคับ เช่น บทเพลงที่เกี่ยวกับลม ฝน แมลง นก ขณะที่เด็กร้องเพลงและทำท่าเคลื่อนไหวเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ อาทิ ลีลาเลียนแบบท่าทางของสัตว์ ท่าทางของคน ลีลาเลียนแบบการเคลื่อนไหวของเครื่องยนต์กลไกและเครื่องเล่น ลีลา เลียนแบบปรากฎการณ์ธรรมชาติ หรือลีลาตามจินตนการ ซึ่งเด็กจะมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้เพิ่มขึ้น หรือในขณะที่เด็กร้องเพลงนับกระต่าย นับลูกแมว นับนิ้ว เด็กก็จะได้รับความคิดในเรื่องการเพิ่ม - ลดของจำนวน การเรียงลำดับที่ ฯลฯ ซึ่งพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยจะเจริญงอกงามโดยอาศัยกิจกรรม
ต่าง ๆ โดยเฉพาะกิจกรรมทางดนตรีนับเป็นกิจกรรมที่มี ความสำคัญยิ่ง
           ดนตรี เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทสำคัญและเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาทางสติปัญญา ของเด็กปฐมวัย เพราะดนตรีเป็นสิ่งเร่งที่จะช่วยจูงใจให้เด็กเกิดความสบายใจ และมีความรู้สึกในทางที่ดี ซึ่งเป็นการช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมให้มีความน่าสนใจ ทำให้เด็กเกิดความตื่นตัวในการเรียนรู้ อันส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาทางสติปัญญาเป็นอย่างดี
           ประการ สำคัญ ดนตรีจัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ขาดเสียมิได้ต่อการพัฒนาทางสติปัญญา โดยเฉพาะด้านสมาธิ เนื่องจากดนตรีช่วยทำให้เด็กเกิดสมาธิในการทำกิจกรรมและสามารถทำงานได้นาน ขึ้น ทั้งนี้เพราะเสียงดนตรี นับเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่จะช่วยปรับสภาพอารมณ์และช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิด สมาธิ สามารถสร้างระเบียบและควบคุมตนเองให้เหมาะสมและไม่เกิดความเครียดจนต้องหยุด ชะงักการทำงาน ในขณะที่เด็กทำกิจกรรมสร้าง สรรค์ กิจกรรมการเล่นตามมุม กิจกรรมกลางแจ้ง เมื่อมีดนตรีเปิดเบา ๆ เด็กจะมีความพึงพอใจในการทำกิจกรรมท่ามกลางบรรยากาศที่มีเสียงเพลง และมีความตั้งใจพยายามทำกิจกรรม อีกทั้งยังพบว่าระยะเวลาในการทำกิจกรรมแต่ละประเภทจะยาวนานขึ้น นอกจากนี้เสียงดนตรียิ่งทำให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในขณะทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยดังนี้
           จากการทดลองของ เลิศ อานันทนะ ( 2518 : 219) พบ ว่า เสียงดนตรีสามรถเสริมสร้างความคิดจินตนาการ ช่วยกระตุ้นให้มีการแสดงออกในทางสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ระหว่างประสาทหู กล้ามเนื้อมือ ให้สอดคล้องกับการใช้ความคิด
           ฉะนั้น ดนตรีจึงเป็นสื่อกลางของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาศักยภาพ คุณค่าทางสมองและสติปัญญา เพราะดนตรีเป็นเรื่องของโสตศิลป์ที่จะพาเด็กไปสู่การรับรู้และเรียนรู้ เรื่องของศาสตร์วิทยาการ ต่าง ๆ ตลอดจนความงามอย่างมีสุนทรีย์ ในที่สุดเด็กก็มีการพัฒนาการทางสติปัญญาสูงขึ้น มีคุณภาพและประสิทธิภาพนั่นเอง
ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย
           ดนตรี ช่วยให้เด็กรู้จักฟังและแยกความแตกต่างของระดับเสียง สูง ต่ำ ดัง ค่อย หนัก เบา แหลม ทุ้ม รู้จักแยกอัตราจังหวะ ช้า ปานกลาง เร็ว ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการฟังคำพูดที่ประกอบไปด้วยเสียงหนัก - เบา และเสียงวรรณยุกต์ทางภาษาที่แตกต่างกัน ดนตรีจะช่วยพัฒนาทักษะทางด้านต่าง ๆ อาทิ การเขียน การพูด การอ่านออกเสียงของเด็ก เพราะในขณะที่เด็กร้องเพลง เด็กจะต้องรู้จักควบคุมการหายใจ รู้จักควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด รู้จักจังหวะ
ของ คำพูด รู้จักรูปประโยคที่ถูกต้อง และเด็กจะชอบเล่นกับคำพูด ซึ่งเป็นบทคล้องจองที่อยู่ในเพลงนั้น เนื่องจากเพลงทุกเพลงจะต้องมีเนื้อร้องที่สัมผัสกัน เช่น นกเอยนกน้อยน้อย เจ้าค่อยค่อยเคลื่อนคล้อยมา คำว่าน้อยสัมผัสกับค่อย ลักษณะของคำที่คล้องจองกันเช่นนี้ ทำให้เด็กสามารถจำเพลงได้ง่ายขึ้น สิ่งต่าง ๆ ดังที่ผู้เขียนกล่าวมาจะยังประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะด้านภาษาให้กับเด็ก ปฐมวัยได้เป็นอย่างดี


ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาลักษณะนิสัยที่ดีของเด็กปฐมวัย
           สิ่ง ที่พึงปรารถนาของทุกฝ่ายและทุกสังคม คือ การให้ลูกหลานมีลักษณะนิสัยที่ดีในการที่จะปลูกฝังและส่งเสริมพัฒนาลักษณะ นิสัยที่ดีให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น เราสามารถใช้เพลงหรือดนตรีช่วยได้เป็นอย่างมาก ถ้าเลือกเพลงได้เหมาะสม ในปัจจุบันนี้มีบทเพลงสำหรับเด็กมากมายซึ่งมีส่วนช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัย ที่ดีให้กับเด็ก จากการทดลองจัดทำเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย ว่าด้วยเพลงเกี่ยวกับกริยามารยาท การรักษาความสะอาด เพลงเกี่ยวกับธรรมชาติ สภาพแวดล้อม ความเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เพลงเกี่ยวกับการรักษาระเบียบวินัย ความสามัคคี ฯลฯ ซึ่งได้นำมาใช้สอนนักเรียนระดับปฐมวัย ปรากฏว่านักเรียนสนุกสนาน ให้ความสนใจเป็นอย่างดี เด็ก ๆ ที่ชอบทิ้งขยะไม่เป็นที่ หรือเล่นของเล่นแล้วไม่เก็บเข้าที่ ก็จะใช้เพลง อย่าทิ้งต้องเก็บ มาร้องให้เด็กฟังและสอนให้เด็กร้องตาม ปรากฎว่าเด็ก ๆ ปฏิบัติตามเพลงเป็นอย่างดี
ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาด้านระเบียบวินัยและความพร้อมเพรียงแก่เด็กปฐมวัย
           ดนตรี สามารถเป็นสื่อที่จะให้เด็กรักษาระเบียบวินัยและความพร้อมเพรียง โดยวิธีนี้เป็นสิ่งที่ทำได้โดยง่าย ซึ่งจะทำให้ครู - อาจารย์ ผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องเหน็ดเหนื่อย หรือ เคี่ยวเข็ญบังคับ เช่น การใช้สัญญาณที่เป็นเสียงเพลงหรือดนตรีกับเด็กว่า ถ้าได้ยินเสียงสัญญาณนี้ทุกคนจะต้องมาเข้าแถว สัญญาณเสียงนี้ทุกคนจะต้องหยุดเล่น สัญญาณนอน สัญญาณรับประทานอาหาร สัญญาณดื่มน้ำ ฯลฯ ซึ่งอาจใช้สัญญาณเสียงที่เป็นเสียงดนตรีง่าย ๆ เช่น นกหวีดเป่าเป็นจังหวะ เสียงกลอง เสียงกรับ เสียงฉิ่ง - ฉับ เสียงกระดิ่งสั่น เป็นจังหวะหรือเสียงเพลงใดเพลงหนึ่ง ซึ่งถ้าเด็กเข้าใจและเคยชินกับสัญญาณเสียงทางดนตรีเหล่านี้ เด็กจะปฏิบัติทุกอย่างได้ดีมีความพร้อมเพรียงกัน โดยที่ครูหรือผู้อ่านเองไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยกับการที่จะต้องคอยตะโกนบอกเด็ก อยู่ทุกระยะ ฉะนั้นดนตรีจึงเป็นสื่อสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีส่วนช่วยพัฒนาระเบียบวินัย รวมถึงความพร้อมเพรียงของเด็กปฐมวัยได้อีกทางหนึ่ง
ดนตรีช่วยในการปลูกฝังความรักชาติบ้านเมืองของเด็กปฐมวัย
           การ ปลูกฝังให้เด็กเกิดความรักชาติบ้านเมืองเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องแรกอยู่ใน กิจกรรมต่าง ๆ สิ่งที่จะเป็นสื่อที่ดีที่สุด คือ การใช้เพลงหรือดนตรี ทำนองและจังหวะต่าง ๆ เป็นเครื่องช่วยกระตุ้น ส่งเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลงที่มีจังหวะเร้าใจ คึกคัก สนุกสนาน มีความหมายที่เกี่ยวกับความรักชาติ ความเสียสละเพื่อชาติของวีรชนบรรพบุรุษ ตลอดจนตัวอย่างที่ดีงามของผู้เสียสละ จะเป็นการกระตุ้นให้เด็กเห็นคุณค่าและความสำคัญของประเทศชาติ เห็นความสำคัญของบรรพบุรุษที่ได้ช่วยกันป้องกันประเทศชาติ สิ่งเหล่านี้ จะเป็นตัวปลูกฝังแทรกซึมความรักชาติบ้านเมือง ความภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิดต่อไปในอนาคต โดยการใช้ดนตรีเป็นสื่อนำทางได้เป็นอย่างดี
ดนตรีช่วยลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กปฐมวัย
           เพลง และดนตรีจะช่วยลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาบางอย่างของเด็กปฐมวัย เช่น เด็กที่ไม่กล้าแสดงออก ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เด็กที่ขี้อาย มีความก้าวร้าว ฯลฯ เราสามารถนำกิจกรรมทางดนตรีเข้ามาช่วยปรับ หรือแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
           จะ เห็นได้ว่าในปัจจุบันมีการนำกิจกรรมทางดนตรีมาสร้างสรรค์ บรรณาการ และประยุกต์ใช้เป็นสื่อในการพัฒนาการและช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของเด็ก จากประสบการณ์ผู้เขียนคิดว่าเด็กในระดับปฐมวัยจะมีปัญหา ข้อบกพร่องและความพิการด้านต่าง ๆ แตกต่างกันไป ซึ่งปัญหาข้อบกพร่องและความพิการทุกอย่างสามารถที่จะนำกิจกรรมทางดนตรีเข้า บำบัดแก้ไขได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มีความสนใจต่ำ เด็กที่มีสมาธิสั้น เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด มีปัญหาเกี่ยวกับทักษะในการเคลื่อนไหว การปรับตัว ความคิดและจินตนาการ สายตา การอยู่ร่วมกัน การรักษาหรือลักษณะของต่าง ๆ ความซาบซึ้ง ความสามารถ ระดับความสมหวัง ประการที่สำคัญดนตรีสามารถนำไปใช้บำบัดการที่เด็กพิการ ทั้งด้านการพูด ตา หู ร่างกาย สมอง หรือแม้กระทั่งเด็กที่มีปัญหาหรือความบกพร่องทางอารมณ์ ซึ่งผู้ที่นำกิจกรรมทางดนตรีมาใช้เชื่อกันว่า อิทธิพลหรืออำนาจของเสียงเพลงหรือดนตรีจะสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ คุณค่าและเกิดอารมณ์แก่เด็กในการที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ในตัวเด็กได้
           ประการ สำคัญในการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ดนตรีสามารถนำมาปรับพฤติกรรม หรือเสริมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งนักวิชาการทางดนตรี เรียกกันว่าดนตรีบำบัด อันเป็นวิชาการแขนงหนึ่งที่มีประโยชน์มหาศาลต่อเด็กโดยการประยุกต์กิจกรรม ทางดนตรีหรือเพลงที่เลือกสรรเป็นอย่างดีมาใช้กับเด็ก โดยมุ่งที่จะให้กิจกรรมทางดนตรีเป็นตัวช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก ช่วยแก้ไขความผิดปกติ ความบกพร่องของเด็กในระหว่างที่มารับการบำบัดหรือศึกษาฟื้นฟู พัฒนาสมรรถภาพ ซึ่งเด็กเหล่านี้อาจเป็นเด็กปัญญาเลิศ เด็กที่มีปัญหาทางการอ่าน เด็กปัญญาอ่อน เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ เด็กที่มีความบกพร่องด้านต่าง ๆ เด็กพิการ หรือเด็กพิเศษ ฯลฯ โดยการบำบัดด้วยดนตรีเป็นการเริ่มที่ตัวเด็กไม่ได้เริ่มจากดนตรี โดยการใช้เด็กเป็นศูนย์กลางของการบำบัด นักดนตรี นักดนตรีบำบัดจะวินิจฉัยปัญหาของเด็ก แล้วจึงวางแผนจัดกิจกรรมทางดนตรีให้สอดคล้องกับความต้องการ ความบกพร่องหรือปัญหาของเด็กแต่ละคนเป็นราย ๆ ไป การบำบัดด้วยดนตรีของเด็กพิเศษเหล่านี้ อาจทำเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เด็กมีพัฒนาการที่พึงประสงค์ สิ่งสำคัญของการบำบัดดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย จะเน้นการบำบัดดนตรีเป็นรายบุคคล ซึ่งจะเริ่มที่ปัญหาและสภาพข้อบกพร่อง ความต้องการพิเศษของเด็กแต่ละคนๆ การบำบัดด้วยดนตรีนี้มีจุดมุ่งหมายคล้ายกับการบำบัดรักษาด้วยวิธีการหรือ เครื่องมืออื่นๆ โดยมุ่งที่จะใช้กิจกรรมทางดนตรีเป็นสื่อกระตุ้นหรือเร้าให้เด็กได้มี พัฒนาการ ประสบความสำเร็จในการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งยังส่งเสริมให้เด็กเกิดพฤติกรรมใหม่ อันเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ เป็นสิ่งปกติในชีวิตและวัยของเด็กแต่ละช่วงให้คงอยู่แลพัฒนาการต่อไป


ดนตรีเป็นสื่อสร้างเสริมพัฒนาการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย
           วิธี การหรือสื่อหนึ่ง ที่จะมีส่วนทำให้เด็กในระดับปฐมวัยเกิดความสนใจ สนุกสนาน เห็นคุณค่าตั้งใจและติดตามการเรียนการสอนวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นสาระเนื้อหาตามแผนการจัดประสบการณ์ ทั้งกิจกรรมที่ปรากฎในตารางกิจกรรมประจำวันอันประกอบด้วย การเคลื่อนไหวและจังหวะกิจกรรมสร้างสรรค์ (ศิลปศึกษา) การเล่นตามมุม กิจกรรมในวงกลม การเล่นกลางแจ้ง เกมการศึกษา กิจกรรมที่ไม่ปรากฎในตารางกิจกรรมประจำวัน อาทิ การเล่านิทานการร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง การจัดทัศนศึกษา การปฏิบัติการทดลอง การเตรียมเด็กให้สงบ ( การเก็บเด็ก) รวมทั้งแผนการจัดประสบการณ์ทั้ง 16 สัปดาห์ ในระดับปฐมวัยศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ( กระทรวงศึกษาธิการ. 2536 : 335 หน้า) ซึ่งเราสามารถนำกิจกรรมดนตรี เข้าแทรกหรือบูรณาการแผนการจัดประสบการณ์ดังกล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดี
           การ นำดนตรีมาใช้เป็นส่วนประกอบในกิจกรรมการเรียนการสอน บทประพันธ์เพลงที่มีความไพเราะ มีรูปแบบทำนองลีลาสมบูรณ์ จะให้ความซาบซึ้งและดำรงไว้ซึ่งคุณค่าทางอารมณ์ สามารถจินตนาการเป็นภาพที่มีความหมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เด็กในแง่ที่จะพัฒนาจิตใจให้ละเอียดอ่อน ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ เรื่องของการเรียนไม่ว่าจะเป็นการเรียนวิชาดนตรีหรือวิชาอื่น ๆ ก็ตาม การเรียนรู้ที่สมบูรณ์นั้น ควรจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันได้ในรายวิชาต่าง
ๆ ปกติคนเราจะมีพื้นฐานดนตรีประทับในใจอยู่แล้วเป็นทุน จากสิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติ ดังนั้น จึงสามารถใช้ดนตรีเป็นสื่อเชื่อมโยงได้ โครงสร้างของวิชาดนตรีกับวิชาอื่น ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกัน จะเป็นส่วนช่วยให้สามารถจัดระบบที่เหมาะสม
           การ นำกิจกรรมดนตรีมาใช้ประกอบการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับบทเรียนสำหรับเด็ก ปฐมวัยนั้น มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เด็กเรียนด้วยความสนุกเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายวิชาที่เรียน เพราะเป็นการได้รับความรู้จากบทเรียน คละเคล้าไปกับการเล่นโดยไม่รู้ตัว และจะช่วยส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ความจำของเด็กได้ดีขึ้น กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ดนตรีอาจทำได้ดังนี้
          1. ใช้ ดนตรีเป็นเนื้อหาในการเรียนแล้วโยงไปหาวิชาอื่น ๆ เช่น ถ้าเพลงใดมีเนื้อหาที่บอกเรื่องราวต่าง ๆ สมบูรณ์ในตัว ก็นำเพลงนั้นมาให้เด็กร้องและอธิบายข้อความตามเนื้อเพลง แล้วจึงโยงไปถึงการเล่น การเล่าเรื่อง การเล่นนิทาน การฝึกทักษะด้านอื่น ๆ
          2. ใช้ ดนตรีเป็นส่วนประกอบให้สัมพันธ์กับบทเรียน คือ เรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วนำเพลงที่สัมพันธ์กับบทเรียนเข้ามาแทรก ซึ่งการแทรกนี้อาจทำได้หลายทาง เช่น ใช้ดนตรีเป็นการนำบทเรียน เพื่อที่จะเร้าให้เด็กเกิดความสนใจและกระตือรือร้นอยากที่จะเรียน ควรใช้เพลงที่เกี่ยวกับการให้เด็กคิดหรือให้ทาย เป็นต้นใช้ดนตรีแทรกตอนกลางบทเรียน บางครั้งบทเรียนที่ค่อนข้างยาวเกินไป อาจทำให้เด็กเบื่อและมีสมาธิสั้น อาจใช้เพลงแทรกเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ และเพื่อให้ เด็กเรียนด้วยความสนุกสนานยิ่งขึ้น ซึ่งเพลงที่จะนำมาร้องแทรกตอนกลางของบทเรียนนี้ ควรเป็นเพลงที่เด็กร้องเป็นมาก่อน หรือเคยได้ฟังมาบ้างและเป็นเพลงที่ร้องง่าย ๆ ฉะนั้น ครูจะต้องเริ่มสอนร้องเพลงใหม่ ทำให้ความสนใจของเด็กมาอยู่ที่ดนตรีหมด โดยที่ยังสอนบทเรียนไม่จบ นอกจากนี้ การนำดนตรีมาแทรกในบทเรียนยังช่วยได้มากในกรณีที่ครูต้องการเน้นเนื้อหาให้ เด็กเข้าใจ และเห็นความสำคัญยิ่งขึ้น
          3. ใช้ ดนตรีหรือเพลงร้องภายหลังบทเรียน ซึ่งเป็นการทบทวนบทเรียนไปด้วย เช่น เมื่อเด็กเรียนธรรมชาติศึกษาเรื่องสัตว์ต่าง ๆ ได้หัดฟังและเลียนสียงร้องของสัตว์และชนิดของสัตว์ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้ว เพื่อเป็นการทบทวนความจำให้แม่นยำยิ่งขึ้นว่าสัตว์ใดร้องอย่างใด ก็นำกิจกรรมทางดนตรีมาให้เด็กร้องหรือเล่นเป็นการสรุปบทเรียนได้อีกทางหนึ่ง
การ นำกิจกรรมทางดนตรีมาประกอบการเรียนการสอนเพื่อเป็นสื่อสร้างเสริมพัฒนาการ เรียนการสอนของเด็กปฐมวัย สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงรายวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปศึกษา ธรรมชาติ ฯลฯ การใช้ดนตรีเข้าช่วยจะทำให้เด็กเกิดความสุกสนาน สร้างเสริมคุณค่าและพัฒนาการทางอารมณ์ สามารถอำนวยประโยชน์ในกิจกรรมการเรียนการสอน และเป็นประโยชน์สำหรับเด็กปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้อง


ดนตรีกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย             
                เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 5 ครึ่ง 6 ปี ถึง 6 ปี เด็กในช่วงวัยนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเริ่มต้นพัฒนารากฐานทางสมอง ให้มีศักยภาพสูงสุด ถือเป็นโอกาสทองที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ เพื่อให้พวกเขามีความเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
                หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มุ่งส่งเสริมให้เด็กที่มีอายุแรกเกิดถึง 5 ปี มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย เด็กอายุ 3-5 ปี ให้มีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ 10 ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 หลัก สูตรเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาและเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์แก่ผู้ เรียน โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่เป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ดังนี้     
       1.  ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
       2.  กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว ประสานสัมพันธ์กัน
       3.  มีสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุข
       4.  มีคุณธรรมและจริยธรรม
       5.  ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
       6.  ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะกับวัย
       7.  รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม 8.อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
        9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะกับวัย
       10. มีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
       11. มีจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์
       12.  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีทักษะในการแสวงหาความรู้
                จะ เห็นได้ว่าในปัจจุบันมีการนำกิจกรรมทางดนตรีมาสร้างสรรค์ บรรณาการและประยุกต์ใช้เป็นสื่อในการพัฒนาการและช่วยแก้ ไขข้อบกพร่องของเด็ก จากประสบการณ์ผู้เขียนคิดว่าเด็กในระดับปฐมวัยจะมีปัญหา ข้อบกพร่องและความพิการด้านต่างๆแตกต่างกันไป ซึ่งข้อบกพร่องและความพิการทุกอย่างสามารถที่จะนำกิจกรรมทางดนตรีเข้ามา บำบัด แก้ไขได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มีความสนใจต่ำ เด็กที่มีสมาธิสั้น เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด ปัญหาทักษะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การปรับตัว ความคิดและจินตนาการ สายตา การอยู่ร่วมกัน ความสามารถ ประการสำคัญดนตรีสามารถนำไปใช้บำบัดเด็กพิการด้านการพูด ตา หู ร่างกาย สมองหรือแม้กระทั่งเด็กที่มีปัญหาหรือความบกพร่องทางอารมณ์ ซึ่งผู้ที่นำกิจกรรมทางดนตรีมาใช้เชื่อว่าอิทธิพลหรืออำนาจของเสียงบทเพลง หรือดนตรี สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ คุณค่าและเกิดอารมณ์แก่เด็กในการที่จะแก้ปัญหาต่างๆในตัวเด็กได้
                ประการ สำคัญในการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ดนตรีสามารถนำมาปรับพฤติกรรมหรือเสริมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการ พิเศษ ซึ่งนักวิชาการทางดนตรี เรียกว่า ดนตรีบำบัด อันเป็นวิชาการแขนงหนึ่งที่มีประโยชน์มหาศาลต่อเด็ก โดยการประยุกต์กิจกรรมทางดนตรีเป็นตัวช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆของ เด็ก ช่วยแก้ไขความผิดปกติ ความบกพร่องของเด็ก ในระหว่างการมารับการบำบัดหรือฟื้นฟู พัฒนาสมรรถภาพ ซึ่งเด็กเหล่านี้อาจเป็นเด็กปัญญาเลิศ เด็กที่มีปัญหาทางการอ่าน เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่างๆ เด็กพิการหรือเด็กพิการซ้อน โดยการบำบัดด้วยดนตรีเป็นการเริ่มที่ตัวเด็กไม่ใช่ดนตรี โดยการใช้เด็กเป็นศูนย์กลางของการบำบัด นักดนตรี นักดนตรีบำบัด จะวินิจฉัยปัญหาของเด็ก แล้วจึงวางแผนจัดกิจกรรมทางดนตรี ให้สอดคล้องกับความต้องการ ความบกพร่องหรือปัญหาของเด็กแต่ละคนเป็นรายๆไป การบำบัดด้วยดนตรีของเด็กพิเศษเหล่านี้ อาจทำเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่พึงประสงค์ สิ่งสำคัญของการบำบัดดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย จะเป็นการบำบัดเป็นรายบุคคล ซึ่งจะเริ่มที่ปัญหาและสภาพข้อบกพร่อง  ความต้องการ พิเศษของเด็กแต่ละคน การบำบัดด้วยดนตรีนี้มีจุดมุ่งหมายคล้ายกับการบัดรักษาด้วยวิธีการหรือ เครื่องมืออื่นๆ โดยมุ่งที่จะใช้กิจกรรมทางดนตรี เป็นสิ่งกระตุ้นให้เด็กได้มีพัฒนาการ ประสบความสำเร็จในการปรับพฤติกรรมต่างๆ ทั้งยังส่งเสริมให้เด็กเกิดพฤติกรรมใหม่ อันเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ เป็นสิ่งปกติในชีวิตและวัยของเด็กแต่ละชีวิตให้คงอยู่และพัฒนาการต่อไป
                การ นำกิจกรรมดนตรีมาใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับบทเรียน สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กเรียนด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายวิชาที่เรียนเพราะเป็นการได้รับความรู้จากบทเรียน คละเคล้าไปกับการเล่น โดยไม่รู้ตัว และจะช่วยส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ความจำของเด็กได้ดีขึ้น กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ดนตรีอาจทำได้ดังนี้
                                1. ใช้ ดนตรีเป็นเนื้อหาในการเรียนแล้วโยงไปหาวิชาอื่นๆ เช่น ถ้าเพลงใดมีเนื้อหาที่บอกเรื่องราวต่างๆ สมบูรณ์ในตัว ก็นำเพลงนั้นมาให้เด็กร้องและอธิบายข้อความตามเนื้อเพลง แล้วจึงโยงไปถึงการเล่น การเล่าเรื่อง การเล่านิทาน การฝึกทักษะด้านต่างๆ
                                2. ใช้ ดนตรีเป็นสื่อประกอบให้สัมพันธ์กับบทเรียน คือ เรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วนำเพลงที่สัมพันธ์กับบทเรียนเข้ามาแทรก ซึ่งการแทรกนี้อาจทำได้หลายทาง เช่น ใช้ดนตรีเป็นการนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อที่จะเร้าให้เด็กเกิดความสนใจและ กระตือรือร้นอยากที่จะเรียน ควรใช้เพลงที่เกี่ยวกับการให้เด็กเกิดความคิดหรือให้ทายเป็นต้น ใช้ดนตรีแทรกตอนกลางบทเรียน บางครั้งบทเรียนที่ค่อนข้างยาวเกินไป อาจทำให้เด็กเบื่อและมีสมาธิสั้น อาจใช้เพลง  แทรก เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ และเพื่อให้เด็กเรียนด้วยความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นครูจะต้องเริ่มสอนร้องเพลงใหม่ ทำให้ความสนใจของเด็กมาอยู่ที่ดนตรี การนำดนตรีมาแทรกในบทเรียนยังช่วยได้มากในกรณีที่ครูต้องการเน้นเนื้อหาให้ เด็กเข้าใจและเกินความสำคัญยิ่งขึ้น
                                3. ใช้ ดนตรีหรือเพลงร้องหลังบทเรียน ซึ่งเป็นการทบทวนบทเรียนไปด้วย เช่น เมื่อเด็กเรียนธรรมชาติศึกษาเรื่องสัตว์ต่างๆ ให้หัดฟังและเลียนเลียนเสียงร้องของสัตว์และชนิดของสัตว์ซึ่งแตกต่างกันไป แล้ว เพื่อเป็นการทบทวนความจำให้แม่นยำยิ่งขึ้นว่าสัตว์ใดร้องอย่างไร ก็นำกิจกรรมทางดนตรีมาให้เด็กร้องหรือเล่นเป็นการสรุปบทเรียนได้อีกทางหนึ่ง
                การ นำกิจกรรมทางดนตรีมาประกอบการเรียนการสอนเพื่อเป็นสื่อสร้างเสริมพัฒนาการ เรียนการสอนของเด็กปฐมวัย สามารถสร้างความสัมพันธ์ เชื่อมโยงราชวิชาต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาษา สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปศึกษา ธรรมชาติ ฯลฯ การใช้ดนตรีเข้าช่วยจะทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน สร้างเสริมคุณค่าและพัฒนาการทางอารมณ์ สามารถอำนวยประโยชน์ในกิจกรรมการเรียนการสอนและเป็นประโยชน์สำหรับเด็ก ปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้อง
                                                 
       ดนตรี มีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนเมื่อเติบโตขึ้นถึงวัยเข้าเรียนในระหว่างที่อยู่โรงเรียน ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาวิชาที่เรียน และ เป็นส่วนประกอบของกิจกรรมต่างๆ
ดนตรี สำหรับปฐมวัยนั้น มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากดนตรีในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา เพราะดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง ดนตรีที่เด็กแสดงออกตามความพร้อม การรับรู้และ ความสนใจของเด็กแต่ละคน การแสดงออกของเด็กจะอาศัยสื่อบางอย่างได้แก่ เสียงร้อง อุปกรณ์เครื่องดนตรี หรือ การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งการแสดงออกทางดนตรีของเด็กจะแสดงออกหลายรูปแบบเช่น การร้องเพลง การเคลื่อนไหวตามจังหวะตามทำนอง และตามเนื้อร้องของเพลง รวมทั้งการเล่นอุปกรณ์เครื่องดนตรี และการสร้างสรรค์ทางดนตรี ครูเป็นบุคคลสำคัญและมีอิทธิพลในการช่วยเหลือเด็กให้เกิดความรักทางด้าน ดนตรีมีประสบการณ์ทางด้านดนตรีมีความเจริญงอกงามทางดนตรี มีการพัฒนาการทางดนตรีและมีพฤติกรรมใหม่เกิดขึ้น
อันเป็นผลจากการเรียนรู้ ซึ่งผลการเรียนรู้นี้ช่วยให้เด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆคือ
        1.  มีทักษะทางด้านดนตรี
        2.  มีความชื่นชมและรักในดนตรี
        3.  มีความรู้สึกกล้าอยากทดลองสิ่งใหม่
       การที่เด็กสามารถพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านดนตรี ขึ้นอยู่กับ สติปัญญา อารมณ์ และ วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคน ซึ่งมีความแตกต่างกันไป  ครูต้องนำกระบวนการเรียนรู้มาใช้ คือ
        1.  ครูควรเสริมแรงให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจเมื่อเด็กประสบความสำเร็จทางดนตรี เพราะจะทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในการกระทำครั้ง ต่อไป
        2.  ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กแสดงอารมณ์ผ่านทางเสียงดนตรี และ เพลง ให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี
        3.  ครูควรใช้เทคนิคการสอนแบบต่างๆ และนำอุปกรณ์สร้างสรรค์ต่างๆ เช่น หุ่นมือ หุ่นชัก และอุปกรณ์ดนตรีหลากหลายมาใช้เป็นตัวช่วยให้
เด็กเกิดการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีมากขึ้น
วุฒิภาวะของเด็ก
ในการจัดการเรียนการสอนดนตรีแก่เด็กสิ่งที่สำคัญที่ครูต้องคำนึงถึงคือวุฒิภาวะของเด็กด้านต่างๆ คือ
        1. ด้านร่างกาย
        2. ด้านอารมณ์
        3. ด้านสังคม
        4. ด้านสติปัญญา
          ดังนั้นดนตรีเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของเด็กให้มีการพัฒนาทั้ง 4 ด้านดีขึ้น
รูปแบบของกิจกรรมดนตรีที่ผู้ปกครอง ครู ควรจัดให้เด็กได้มีโอกาสปฏิบัติ คือ
       1. ประสบการณ์ด้านการฟังเพลงให้เด็กได้มีโอกาสฟังเพลงรอบๆตัว อย่าให้ดังไปหรือเบาไป เช่น การตักน้ำ เปิดขวด เทน้ำลงถัง เป็นต้น
       2. ประสบการณ์ด้านการร้องเพลง ทำให้เด็กเกิดความสนใจ เกิดเจตคติที่ดีต่อดนตรี เพลงที่เด็กฟังต้องมีการเชิญชวนไม่กดดัน และเด็กมีส่วนร่วม
       3. ประสบการณ์ด้านการเคลื่อนไหวและจังหวะต้องค่อยๆสอนให้เด็กรู้จังหวะ การเคาะจังหวะช้า,เร็ว การเดินประกอบจังหวะช้า,เร็ว
      4. ประสบการณ์ด้านการดนตรี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สอนในห้องเรียนและสอนตัวต่อตัว
      5. ประสบการณ์ด้านการสร้างสรรค์ดนตรี สำรวจเสียงในห้องเรียน เปรียบเทียบเครื่องดนตรี
      6. ประสบการณ์ด้านการอ่านสัญลักษณ์ทางดนตรีหรือโน้ตเพลง กิจกรรมไม่ต้องชี้ให้จำแต่สอนไปเรื่อยๆประมาณ 7-8 ครั้ง เด็กจะจำจังหวะและ ตัวโน๊ตได้
หลักการสอนดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย ควรครอบคลุมถึงสิ่งต่อไปนี้
      1. ครูควรสอนเพลงที่หลากหลายแก่เด็กเพลงที่มีความหมายที่ดีเช่นเพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงชาติ
      2. ครูควรสอนเด็กๆให้รู้จักจังหวะที่ถูกต้อง เช่น ช้า, เร็ว , ปรบมือ, เคาะจังหวะ
      3. ให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในลักษณะผู้นำ - ผู้ตาม
     4. เด็กเข้าใจลักษณะองค์ประกอบดนตรี ทำนอง
      5. เด็กสามารถแยกแยะเสียงสูงต่ำ
      6. เด็กมีประสบการณ์สร้างสรรค์ดนตรีมากที่สุด
      7. เด็กมีความสุขในการเรียนดนตรี


การปลูกฝังทัศนคติดนตรีกับเด็กปฐมวัย
        การ จัดกิจกรรมดนตรีในระดับปฐมวัยนั้น ตัวเด็กเองจะได้พัฒนาทางทัศนคติที่ดีควบคู่ไปด้วย และกระบวนการเรียนการสอน เมื่อเด็กเริ่มการเรียนรู้สาระดนตรี เด็กจะเริ่มสะสมประสบการณ์ต่างๆ รวมทั้งทัศนคติซึ่งเป็นเรื่องทางจิตใจ ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่ผู้สอนควรมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอนและ จัดการเรียนการสอนให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่พึงพอใจเพื่อเด็กเกิดความสนใจ ความชอบ ความรักในดนตรี สำหลับเด็กวัยนี้ควรปลูกฝังทัศนคติที่จัดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มเรียนดนตรี ถ้าเด็กมีทัศนคติต่อดนตรีแล้ว ในการศึกษาดนตรีต่อๆไป เด็กย่อมจะมีความสนใจอยากศึกษาด้านสาระดนตรี ดังนั้นครูผู้สอนจึงพยายามทำให้เด็กเพลิดเพลิน สนุกสนานไปกับดนตรีเสมอ