วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมการเข้าจังหวะ

กิจกรรมเข้าจังหวะ :
 
การ ใช้กิจกรรมเข้าจังหวะในการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้รับการอบรม สัมมนา ให้ความสนุกสนานรื่นเริง เป็นการจัดขึ้นในรูปแบบรวมกลุ่ม ช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์ กิจกรรมเข้าจังหวะเป็นกิจกรรมที่นิยมใช้ในช่วงเวลาของการพบปะสังสรรค์ กิจกรรมนี้จะใช้จังหวะของเพลง หรือดนตรีประกอบการเคลื่อนไหว ซึ่งช่วยสร้างทักษะพื้นฐานของการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างดี ระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อ ประกอบด้วย

 
1.  
การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ (Non - Locomotor Movements) หมายถึง การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยไม่เคลื่อนที่ไปจากจุดนั้นเลย เช่น การก้มต้น การเหวี่ยงแขนขา การเหยียดตัว การบิดตัว การดึง การสั่น การโยกตัว การเอียงตัว เป็นต้น
2.  
การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ (Locomotor Movements) หมายถึง การเคลื่อนไหวจากที่หนึ่ง หรือจุดหนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง หรืออีกจุดหนึ่ง เช่นการเต้น การวิ่ง การกระโดด เขย่ง การกระโจน การกระโดดสลับเท้า การสไลด์ การควบม้า การเดินสองก้าว การเดินโพลก้า การเดินชาติช เป็นต้น
 
เทคนิคการสอนกิจกรรมเข้าจังหวะ
 
1.
สอนรูปแบบการจับคู่และทิศทางการเคลื่อนไหว
2.
การเลือกสอนเพลงที่ง่าย สั้น และเข้าใจง่าย
3.
สอนร้องเพลง หรือฟังเพลง และปรบมือเข้าจังหวะเพลงก่อน
4.
สาธิตท่าทางประกอบเพลง
5.
ดำเนินการสอนแบบเป็นขั้น เป็นตอน ตั้งแต่ต้นจนจบเพลง
6.
ให้สมาชิกฝึกปฏิบัติและสังเกตการเรียนการสอน ดูความสนใจของสมาชิก
7.
อธิบายประโยชน์และการนำไปใช้ในขบวนการกลุ่ม
 

การเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อพัฒนาสมอง



การเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะรูปแบบต่างๆ
                1.  การเคลื่อนไหวร่างกายแบบอยู่กับที่  เช่น การตบมือ  ตบเข่า  ผงกศีรษะ  การเหวี่ยงแขน  ย่ำเท้า  เคาะเท้า  ขยิบตา  เคลื่อนไหวมือ  เท้า  นิ้วมือ  นิ้วเท้า  เป็นต้น
                2.  การเคลื่อนไหวร่างกายแบบเคลื่อนที่ แบ่งเป็นการเคลื่อนไหวพื้นฐานได้แก่  คลาน  คืบ  กระโดด  กลิ้งตัว  ถัด  วิ่ง  เป็นต้น  นอกจากนี้ก็มีการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะช้า  จังหวะเร็ว  จังหวะหยุด  เช่น  ควบม้า  กระโดด  สไลด์  การเคลื่อนไหวประกอบดนตรี อาจจะเป็นเพลงบรรเลง หรือ เพลงที่มีเนื้อร้อง คำคล้องจอง  การเคลื่อนไหวในทิศทาง และระดับต่างๆ  เช่น การเคลื่อนไหวร่างกายระดับสูง (ทำท่าทางบินสูงๆ , ยืดตัวสูงๆ)  เคลื่อนไหวร่างกายระดับต่ำ ( เคลื่อนไหวร่างกายเลียนแบบหนอนที่คืบคลานอยู่ตามพื้นดิน) การเคลื่อนไหวร่างกายพร้อมอุปกรณ์ เช่น  เชือก  ห่วง  ผ้า  กระดาษ  ใบไม้  ลูกบอล  ยางยืด  ฯลฯ
การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์
1.       กิจกรรมสำรวจรูปร่าง หน้าตา และอวัยวะต่างๆของตนเอง
2.       กิจกรรมสร้างสรรค์ท่าทางส่วนต่างๆของร่างกาย  เช่น การยืดตัว  งอตัว  เอี้ยวตัว  บิดตัว  การทำท่าทางเปิด  ปิด  เล็ก  ใหญ่  กว้าง  แคบ  เป็นต้น
 กิจกรรมฝึกจังหวะสร้างสรรค์  เช่นการใช้อวัยวะต่างทำจังหวะด้วยตนเอง   การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียงต่างๆ  การทำจังหวะ ช้า-เร็วด้วยอุปการณ์ต่างๆ  เช่นการเคาะ  เขย่า  ตี  เป็นต้น 
กิจกรรมพัฒนาระบบสร้างสมดุลของร่างกาย  เป็นการฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายในแนวราบ  แนวดิ่ง  และรอบตัวเอง
กิจกรรมพัฒนาระบบข้อต่อของร่างกาย  ประกอบด้วย  กล้ามเนื้อ  เอ็น  และข้อ   ทำให้เด็กรู้ตำแหน่งของร่างกาย  อัตราการเคลื่อนไหวในเรื่องของทิศทาง  ความเร็วในการเคลื่อนไหวแขน-ขา
         

เคลื่อนไหวประกอบจังหวะระดับปฐมวัย ลำปาง