วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เสียงดนตรีกับลูกน้อย

เพลิดเพลินกับเสียงเพลงและดนตรี

ตอนนี้เมื่อลูกน้อยของคุณได้ยินเสียงจากประสาทหูเทียมแล้ว ไม่ว่าจะข้างเดียวหรือสองข้างก็ตาม คุณคงจะตื่นเต้นที่จะได้เริ่มทำกิจกรรมที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านทักษะ การฟัง การพูดและภาษาให้กับลูก ผู้ปกครองหลายท่านมักจะถามว่า “ฉันจะทำอะไรเพื่อช่วยให้ลูกได้เรียนรู้การฟังและเพลิดเพลินกับเสียงต่างๆ ได้บ้าง?” บ้างก็ถามว่า “ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของฉันได้ยินเสียงหรือจะจำการตอบสนองของเขาได้ อย่างไร?” กิจกรรมทางดนตรี เช่น การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง ตามจังหวะ และการเล่นนิ้วมือ เป็นเกมที่สนุกสนานและเหมาะสำหรับเล่นกับลูกตั้งแต่แรกเริ่ม กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้ลูกของคุณฟัง มีส่วนร่วม เปล่งเสียงบ่อยขึ้น ให้ความสนใจ และเลียนแบบเสียงและท่าทาง

ทารกทุกคนจะเลียนแบบท่าทางจากจังหวะหรือเพลงได้ก่อนการเลียนเสียงและคำ คุณสามารถเลือกเพลงหรือกิจกรรมที่คุณจะได้จากตอนเป็นเด็กได้ตามใจชอบ ’ “’”โดยไม่ต้องกังวลว่าจะร้องเพราะหรือเปล่า ’เพราะลูกของคุณไม่สนใจเรื่องนั้นหรอก การที่คุณได้ทำกิจกรรมร่วมกันจะเป็นความสุขที่คุ้มค่าแก่ความพยายาม เปิดเพลงหรือจังหวะเดิมซ้ำๆ แล้วคุณอาจได้รู้ว่าเพลงไหนเป็นเพลงโปรดของลูกคุณ’

หลังจากที่เด็กคุ้นเคยกับเสียงเพลง จังหวะ และการเล่นนิ้วแล้ว ลองตัดท่าทางออกไปและเปิดเสียงเพลงหรือให้จังหวะอย่างเดียว ลูกของคุณแสดงท่าทางที่เหมาะสมเฉพาะเวลาได้ยินเสียงเพลงหรือการให้จังหวะ อย่างเดียวหรือเปล่า? ถ้าไม่ ให้มองตาเด็กเพื่อทำสัญญาณแสดงการฟัง ถ้าจำเป็นให้แสดงสัญญาณอีกครั้งโดยให้ท่าทางประกอบสักท่าสองท่า ทักษะนี้อาจพัฒนาได้ก่อนที่คุณจะได้ยินลูกพยายาม“ร้องตาม”เสียอีก

เกมและของเล่นที่มีเสียงหรือดนตรี เป็นอีกทางหนึ่งที่จะกระตุ้น’ทักษะการฟังและการรับรู้เสียงเบื้องต้นของลูก คุณได้ ทั้งนี้เรามีวีดิโอคลิปสั้นๆของคุณแม่ ลูกน้อยของเธอ และผู้เชี่ยวชาญการช่วยเหลือเด็กเล็กให้ชมเป็นตัวอย่าง

วีดิโอคลิป

วีดิโอคลิปสั้นๆสามเรื่องได้แก่ “แมงมุมลายตัวนั้น (Itsy Bitsy Spider)” “เพลงยามเช้า (The Morning Song)”และ “ลูกลิงห้าตัว (Five Little Monkeys)” คุณแม่รายนี้เลือกที่จะให้ลูกของเธอนั่งบนเก้าอี้สูงสำหรับเด็กเพื่อทำ กิจกรรม วิธีนี้ช่วยให้เด็กอยู่กับที่และดึงความสนใจของเด็กได้ บ้างเลือกที่จะให้ลูกนั่งบนตัก ที่โต๊ะสำหรับเด็ก’ หรือนั่งด้วยกันบนพื้น คุณแม่เลือกที่จะนั่งข้างๆ ลูกซึ่งเป็นเทคนิคการฟังที่ให้ผลดีมากกว่าการนั่งตรงข้ามกัน อย่างไรก็ตามคุณควรเลือกวิธีที่รู้สึกสบายและเป็นธรรมชาติที่สุดสำหรับคุณและลูก
การแสดงสัญญาณการฟัง เช่น การชี้ไปที่หูของลูก’ จะช่วยสร้างเสริมกิจวัตรการฟังและบอกให้ลูกรู้ว่าถึงเวลาต้องฟังแล้ว
การเว้นช่วงเพื่อรอปฏิกิริยาหรือการตอบสนองจากเด็กนับเป็นอีกกลยุทธ์ที่สำคัญในการกระตุ้นการตอบสนองให้เพิ่มขึ้น
การที่ผู้ปกครองเลีัยนแบบท่าทางหรือเสียงของเด็ก’ สามารถช่วยกระตุ้นให้ลูกแสดงพฤติกรรมที่ต้องการได้

การตอบสนองของทารก

โดยทั่วไปเด็กทารกมักจะเริ่มตอบสนองต่อเสียงและเรียนรู้ที่จะจดจำ เสียงบางอย่างในช่วงสองสามสัปดาห์แรกของการใช้ประสาทหูเทียม ประเภทของการตอบสนองที่อาจเกิดขึ้นได้แก่:
  • การโยกตัวตามจังหวะหรือเสียงเพลง
  • หยุดทำิกิจกรรมหรือเงียบไป
  • ตาเบิกกว้าง/ตาเป็นประกาย
  • ยิ้ม
  • ทำกิจกรรมมากขึ้น
  • จ้องตาไม่กระพริบ
  • เลียนแบบการเคลื่อนไหวบางอย่าง (ท่าทาง)
  • ออกเสียงดังขึ้น
  • เด็กใช้ “สัญญาณการฟัง” กับพ่อแม่ (ชี้ไปที่หูของเธอ)
  • เด็กแสดงอาการบ่งบอกว่าเสียงหายไปเมื่อคอยล์หลุดออกจากหู (ชี้ไปที่หู)
     
คราวนี้ลองดูวีดิโอคลิปกัน คุณเห็นการตอบสนองใดบ้าง? คุณแม่ในเรื่องทำอะไร?
คุณสังเกตเห็นอะไรอีกบ้าง?
  •  คุณแม่  ได้หยุดเว้นจังหวะให้เด็กได้ตอบสนองหรือแสดงการโต้ตอบหรือไม่?
  • คุณแม่แสดงสัญญาณว่าให้ฟังกับเด็กหรือเปล่า?
  • เด็กได้ใช้สัญญาณการฟังเพื่อบอกว่าเธอได้ยินหรือไม่?
  • เด็กให้ความสนใจดีหรือไม่?
  • เด็กเลียนแบบการเคลื่อนไหวนิ้วตามจังหวะที่ถูกต้องหรือไม่?
  • คุณเห็นปฏิกิริยาใดๆ บนใบหน้าของเด็กหรือไม่’ เช่น รอยยิ้ม?
  • เด็กแสดงท่าทางอาการว่าเธอได้ยินเสียงของเล่นหรือไม่? อย่างไร?
  • เด็กเปล่งเสียงออกมาหรือไม่?

ตอนนี้ถึงตาคุณแล้ว ลองทำกิจกรรมสั้นๆ กับลูกของคุณ ร้องเพลงหรือให้จังหวะเดิมซ้ำๆ และคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงใน’ปฏิกิริยาและการตอบสนองของลูกน้อยเป็นระยะๆ จากนั้นจดรายการการตอบสนองต่างๆ ของลูกคุณเอาไว้ เสียงเพลงหรือจังหวะที่มีการเคลื่อนไหวนิ้วประกอบดังตัวอย่างข้างต้นจะช่วย เรียกความสนใจของเด็กที่เริ่มหัดฟังได้’ ถ้าคุณมีกล้องวีดิโออยู่ที่บ้าน จะลองอัดเทปตอนทำกิจกรรมไว้ก็ได้ แล้วคุณอาจจะได้เห็นในสิ่งที่คุณไม่ทันสังเกตระหว่างทำกิจกรรม แถมสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ จะได้มีโอกาสดูด้วย

พัฒนาความฉลาดของลูกด้วยกิจกรรมเคลื่อนไห


  
 
       กิจกรรม การเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก เพราะเด็กได้ใช้ร่างกายเป็นสื่อกลางในการแสดงออกทางอารมณ์และความคิดสร้าง สรรค์ตามจังหวะ เสียงดนตรี และเสียงเพลง โดยการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ 
     
  
       ความสำคัญของการเคลื่อนไหวต่อเด็ก
       
       1. การร้อง เล่น เต้นรำ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เด็ก ๆ ชอบ เพราะเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กที่ไม่อยู่นิ่งและชอบเคลื่อน ไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา
      
       2. ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เดิน วิ่ง กระโดดโลดเต้น ชูมือ หมุนตัว ส่ายเอว เพื่อที่จะสามารถพัฒนาทักษะในการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
      
       3.ช่วยให้สุขภาพร่างกายของเด็กแข็งแรง และพัฒนาอวัยวะทุกส่วนของเด็กให้มีความสัมพันธ์กันอย่างดีในการเคลื่อนไหว เพราะการที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายในการเต้นรำตามจังหวะและเสียงดนตรีนั้น เป็นการที่เด็กได้ออกกำลังกายโดยตรง
      
       4.ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เพราะการที่เด็กได้คิดค้นท่าทางการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระผ่านทางเสียง เพลงเช่น การเคลื่อนไหวเล่นบทบาทสมมุติตามเพลง การเคลื่อนไหวร่างกายกับอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นการฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์และจินตนาการให้แก่เด็กได้ดีมากทีเดียว
      
       5.ช่วยให้เด็กเกิดความมั่นใจในตนเอง เพราะกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะนั้นเป็นกิจกรรมที่ไม่ปิดกั้นในการที่เด็ก ได้แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และความเป็นตัวของตัวเองได้อย่างอิสระ ซึ่งส่งผลในการพัฒนาความเป็นเอกลักษณ์และความมั่นใจในตนเองแก่เด็กต่อไป
      
       6.ช่วยให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะจะเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ ทำร่วมกับผู้อื่น เช่น เต้นรำในจังหวะต่างๆเช่น จังหวะวอลซ์ จังหวะชะชะช่า ร่วมกับเพื่อน ซึ่งการที่เด็กได้เต้นรำ เคลื่อนไหวร่างกายร่วมกับผู้อื่นนั้น เป็นการพัฒนาทักษะทางสังคมให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี
      
       7.การที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะเพลง และเสียงดนตรีนั้น ช่วยให้เด็กสนุกสนาน เบิกบาน ผ่อนคลายความเครียด ซึ่งเป็นผลที่ทำให้เด็กเป็นคนมีอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส
      
       8.การร้อง เต้น เล่นสนุกช่วยพัฒนาสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็ก เช่น ในด้านภาษา เด็กได้เรียนรู้ด้านภาษาผ่านทางเนื้อเพลง ได้เรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ผ่านทางจังหวะของดนตรี
      
       9.ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ประจำชาติของประเทศต่างๆ เช่น การรำ การเต้นระบำฮาวาย การเต้นแบบจีน การเต้นแบบแขก
      
       10.ช่วยให้เด็กมีความสามัคคีและปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่ม เช่น การออกกำลังกายตามเพลงพร้อมกับเพื่อนๆ นอกจากนี้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะยังช่วยฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตามให้แก่เด็กอีกด้วย เช่น ให้เด็กทำท่าทางเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำแล้วให้เพื่อนปฏิบัติตาม โดยมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป
 
       สิ่งที่ต้องจัดเตรียมในการจัดกิจกกรมการเคลื่อนไหวคือ
       
       อธิบายถึงกฎกติกาของการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน เช่น ไม่ผลักหรือชนคนอื่น มีช่องว่างเฉพาะของตัวเอง ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ
      
       - มีที่ว่างพอหรือไม่สำหรับทำกิจกรรมการเคลื่อนไหว
       - เวลาในการทำกิจกรรม
       - คุณพ่อ คุณแม่และลูกทุกคนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมหรือไม่
       - กิจกรรมนั้นเหมาะกับวัยของลูกหรือไม่
       - ลูกรู้สึกตื่นเต้นกับการทำกิจกรรมนั้นหรือไม่
   
    
       ตัวอย่างกิจกรรมเล่นกับลูก
       
       1. เมื่อลูกอยู่ไม่นิ่ง ให้ลูกยืนทำท่าออกกำลังกาย เช่น ให้ลูกเคลื่อนไหวตัวช้าๆ หมุนแขนเป็นวงกลม เหวี่ยงแขนไปทางซ้ายไปทางขวา ก้มลงจับนิ้วเท้า กระโดด ก้มโค้งตัวลง วิ่งเหยาะๆ เป็นต้น
      
       2. ให้เด็ก ๆ เดินย่ำเท้า ซ้าย ขวา ซ้าย นับ 2 , 4 .6 8 หรือ 5 ,10 15, 20 หรือ 10,15, 20 เป็นต้น อาจให้เด็กท่องสูตรคูณ หรือท่อง ก- ฮ ร้องเพลง ABC ก็ได้
      
       3. ให้คุณพ่อ และคุณแม่แบ่งเป็น 2 ฝ่ายแล้วให้ลูกเลือกว่าจะอยู่ข้างไหน และผลัดกันเป็นผู้นำ ผู้ตามเช่น เมื่อคุณแม่วิ่งให้วิ่งตาม เมื่อคุณแม่บอกว่าหยุด ดูสิว่าใครหยุดก่อนกันระหว่างทีมคุณพ่อหรือคุณแม่
      
       4. ให้ลูกทำ 2 อย่างในเวลาเดียวกัน เช่นให้ลูกลูบท้องและจับไหล่ในเวลาเดียวกัน ตบมือและหัวเราะในเวลาเดียวกัน ยืนขาเดียวแล้วหมุนศีรษะในเวลาเดียวกัน เป็นต้น
      
       5. ใช้การเคลื่อนไหวสลับข้าง เช่นมือซ้ายจับหัวเข่าขวา เมื่อได้ยินเสียงบอกว่า “ เปลี่ยน ”ใช้หัวเข่าขวาจับมือซ้ายบ้าง หรือใช้คิ้วแตะ ข้อศอก เมื่อได้ยินเสียงบอกว่า “ เปลี่ยน ” ให้ใช้ข้อศอกแตะคิ้วบ้างเป็นต้น
      
       6. ให้ลูกกระโดดเป็นกระต่าย ควบเป็นจังหวะเหมือนม้า หรือบินเหมือนผีเสื้อเป็นต้น
      
       7. ให้ลูกใช้จมูกเขียนตัวเลข หรือใช้ก้นเขียนตัวอักษร หรือใช้คิ้วเขียนชื่อตัวเอง ใช้นิ้วเขียนชื่ออาหารที่ชอบในอากาศ เป็นต้น
      
       8. ร้องเพลง "จับไวๆ" แล้วเล่นจับอวัยวะนั้นๆอย่างรวดเร็ว   เพลงจับไวๆ ผู้แต่ง ดร. แพง ชินพงศ์    จับหัว คาง หู หัวไหล่ จับไวๆ จับจมูก ปาก ตา จับแขน จับขา แล้วก็จับสะดือ
       
 
      การทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวกับลูกจะช่วยพัฒนาทั้งทักษะการคิด ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กในเวลาเดียวกัน อีกทั้งช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะความจำ และทักษะการฟังอีกด้วย โดยรูปแบบของกิจกรรมการเคลื่อนไหวนั้นอาจเป็นเกมและการละเล่นต่างๆ การเล่นบทบาทสมมติ และการเต้นรำ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการเด็กและช่วยพัฒนาความ ฉลาดของลูกน้อยอย่างแน่นอน
 

 
Life & Family / ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ




วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมนันทนาการ

ความหมาย :
การ ที่เราจะสามารถจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ให้ประสบผลสำเร็จได้นั้น เราควรจะต้องเรียนรู้ถึงกระบวนการสร้างมนุษยสัมพันธ์ของคนเราก่อนว่ามีรูป แบบและลักษณะใด เพื่อเป็นพื้นฐานของการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์อันเป็นผลต่อการพัฒนาบุคลากร องค์กร หรือการอบรมสัมมนา

ความหมายและการสร้างมนุษยสัมพันธ์ :

มนุษยสัมพันธ์ คือ การติดต่อเกี่ยวข้องกันระหว่างบุคคลในสังคม ทั้งที่เป็นส่วนตัวและที่เกี่ยวข้องกับงาน ทั้งที่เป็นส่วนตัวและที่เกี่ยวข้องกับงาน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายเพื่อให้ตนเองเป็นสุข ผู้อื่นเป็นสุข และสังคมมีประสิทธิภาพ
 
การสร้างมนุษยสัมพันธ์ ทำได้โดยการ :
 
1.
ศึกษาตนเอง และผู้อื่น ต้องใจกว้างสำรวจตนเอง พบข้อบกพร่องแล้วต้องยอมรับตนเอง และตั้งใจที่จะปรับปรุงพฤติกรรมที่ไม่สมควรของตนเอง ศึกษาผู้อื่นว่านิสัยใจคออย่างไร ชอบอย่างไร
2.
แก้ไขปรับปรุงตนเอง เมื่อพบข้อบกพร่องแล้ว ต้องตั้งใจแก้ไข อาจจะศึกษาจากตำราต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงตนเอง
3.
ศึกษาวัฒนธรรม ประเพณีและสังคม ค่านิยมในสังคม
4.
ศึกษาหลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์
5.
นำหลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ไปใช้จริง
 
ความหมายของกลุ่มสัมพันธ์
1.
เป็นกิจกรรมที่ให้กลุ่มได้เรียนรู้ถึงพฤติกรรม ทัศนคติ และการเข้าใจคน
2.
เป็นกิจกรรมที่ให้กลุ่มรู้วิธีแก้ไขปัญหา ยอมรับพัฒนาตนและรับรู้ตนเอง
3.
เป็นการเรียนรู้ปฏิกิริยาภายในกลุ่ม กระตุ้นในบุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อการอยู่ในสังคม
4.
เป็นการใช้กระบวนการกลุ่ม เป็นแนวทางให้เกิดความร่วมมือที่ดีต่อการพัฒนาองค์กร
 
ลักษณะกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
 
1. การสร้างความคุ้นเคย
2. การทำงานเป็นทีม
3. การสังเกตพฤติกรรม
4.
การแสดงบทบาท
5. การเล่นเกม
6. การฝึก ฟัง-คิด-พูด
7. การบริหารงานกลุ่ม

ลักษณะผู้นำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
การจัดกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้นำกิจกรรมควรมีความสามารถดังต่อไปนี้
 
1.
มีความรู้ด้านจิตวิทยา กลุ่มสัมพันธ์ และเทคนิคการละลายพฤติกรรม
2.
รู้จักการวางแผน และการเตรียมการ เพื่อดำเนินกิจกรรมละลายพฤติกรรม
3.
เป็นบุคคลที่มนุษยสัมพันธ์ดี ปรับตัวเก่ง เข้ากับบุคคลอื่นได้ดี
4.
มีไหวพริบ มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความกระตือรือร้น
5.
เป็นคนยุติธรรม จริงใจ และวางตัวเป็นกลาง
6.
ใจกว้าง มีเหตุผล และยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น
7.
สามารถอธิบายและชี้แจงกิจกรรมได้อย่างชัดเจน
8.
ใช้คำพูดและภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยมีเทคนิคในการพูดกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม
9.
ให้ความช่วยเหลือแนะนำ และสังเกตกิจกรรมของกลุ่ม โดยประสานงานให้กลุ่มดำเนินกิจกรรมไปได้ด้วยดี
10.
สรุปปัญหาได้ชัดเจนและจับประเด็นใจความได้ถูกต้อง
 
ประโยชน์ของการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
 
1.
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
2.
การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้จากกิจกรรม จะช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมรู้จักและสนใจตัวเองดียิ่งขึ้น
3.
สร้างบรรยากาศการเรียนให้ผู้เข้ารับการอบรมสนุกสนาน ไม่เกิดความรู้สึกว่าถูกสอนและสามารถเรียนรู้ได้ในระยะเวลาอันสั้น
4.
เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากร และการรู้จักแก้ปัญหาทั้งส่วนตนและส่วนรวม
5.
ช่วยให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อกัน มีความเข้าใจ เห็นใจกัน ลดการขัดแย้ง
6.
ช่วยส่งเสริมให้การทำงานรวมพลังกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.
ช่วยให้ผลงานเป็นไปตามเป้าหมาย และได้มาตรฐาน เป็นการเสริมสร้างพลังขององค์กรโดยบุคลากรที่ประสิทธิภาพ
8.
ช่วยส่งเสริมในการพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและผ่อนคลาย ความตึงเครียด
 

เพลงและกิจกรรมเคลื่อนไหว

 
เพลงเชิญมาเต้น :
 
มา มา มา มาเต้นรำกัน มา มา มา มาเต้นรำกัน
มา มา มา มาเต้นรำกัน แล้วเราก็ทำสวัสดี
จับมือขวามาเต้นรำกัน จับมือขวามาเต้นรำกัน
จับมือขวามาเต้นรำกัน แล้วเราก็ทำสวัสดี
จับมือซ้ายมาเต้นรำกัน จับมือซ้ายมาเต้นรำกัน
จับมือซ้ายมาเต้นรำกัน แล้วเราก็ทำสวัสดี
จับสองมือมาเต้นรำกัน จับสองมือมาเต้นรำกัน
จับสองมือมาเต้นรำกัน แล้วเราก็ทำสวัสดี
โด ซี โด มาเต้นรำกัน โด ซี โด มาเต้นรำกัน
โด ซี โด มาเต้นรำกัน แล้วเราก็ทำสวัสดี
ลอดอุโมงค์มาเต้นรำกัน ลอดอุโมงค์มาเต้นรำกัน
ลอดอุโมงค์มาเต้นรำกัน แล้วเราก็ทำสวัสดี


ท่าเริ่มต้น

ยืนรูปแถว 2 แถว คู่จะยืนอยู่ในแถวตรงกันข้าม ผู้หญิงอยู่แถวทางขวามือ แถวจะมี 6-8 คู่ ระหว่างแถวให้ห่างกันประมาณ 2-3 เมตร หันหน้าเข้าหาคู่ของตน
  1. ต่างเดินไปข้างหน้า 3 ก้าว ในจังหวะที่ 4 โค้ง แล้วเดินถอยหลัง 3 ก้าว จังหวะที่ 4 โค้ง
  2. เดินเข้าหาคู่ 3 ก้าว ในจังหวะที่ 4 โค้งคู่ของตน แล้วเดินถอยหลัง 3 ก้าว จังหวะที่ 4 โค้งคู่ของตน
  3. สวิงด้วยแขนขวา ต่างเดินเข้าไปหาคู่เอาข้อศอกขวาคล้องกับคู่ แล้วเดินหมุนไปตามเข็มนาฬิกา 2 เที่ยว (เที่ยวละ 8 ก้าว กลับมาที่เดิม)
  4. สวิงด้วยแขนซ้าย และหมุนไปทวนเข็มนาฬิกา 2 เที่ยว (เที่ยวละ 8 ก้าว กลับมาที่เดิม)
  5. สวิงสองมือ ต่างเดินเข้าไปหาคู่ จับมือทั้งสองกับคู่ แล้วเดินหมุนไปตามเข็มนาฬิกา เที่ยวที่ 2 ให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา (เที่ยวละ 8 ก้าว กลับมาที่เดิม)
  6. โด-ซี-โด เดินเข้าไปหาคู่ ผ่านคู่ไปทางไหล่ขวา ก้าวเยื้องไปทางขวาแล้วถอยหลัง เดินกลับไปที่เดิน ผ่านคู่ทางไหล่ซ้าย (จังหวะ 8 ก้าว)
  7. คู่หัวเดินเข้าไปจับมือทั้งสองกับคู่ แล้วเดินลงไปทางปลายแถว คู่อื่น ๆ ทำอุโมงค์ ให้คู่หัวลอดไป คู่หัวไปอยู่ท้ายแถว คู่ต่อไปขึ้นมาแทนที่ แล้วเริ่มต้นใหม่ (ทำอุโมงค์ หมายถึง ให้เอามือทั้งสองจับมือกับคู่แล้วยกแขนขึ้นเหนือศีรษะเหมือนถ้ำ)
ข้อเสนอแนะ

หลังจากผู้เรียนเข้าใจวิธีการเต้นตามเนื้อเพลงได้แล้ว ผู้สอนสามารถใช้เพลง Disco Breaks หรือเพลงจังหวะ ชะ ชะ ช่า แทนได้ ซึ่งจะช่วยในการจัดกิจกรรมนี้ได้รับความสนุกสนานยิ่งขึ้น
 
 

เพลงและกิจกรรมเคลื่อนไหว

 
เพลงงามแสงเดือน:
 
งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้ามาสู่วงรำ
เราเล่นกันเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์ไม่วายระกำ ขอให้เล่นฟ้อนรำเพื่อสามัคคี เอย


ท่าเตรียม

ยืนเป็นวงกลมวงเดียว หัวหน้าเข้าหาคู่ มือทั้งสองจับกับคู่
  1. ก้าว-ชิด เข้าไปในวงกลม 2 ก้าว
  2. ก้าว-ชิด ออกไปในวงกลม 2 ก้าว
  3. ตบเข่าด้วยมือทั้งสอง 1 ครั้ง แล้วตบมือตนเอง 1 ครั้ง ตบมือทั้งสองกับคู่ 1 ครั้ง (ทำซ้ำอีก 1 เที่ยว)
  4. กระโดดวางส้นเท้าซ้าย พร้อมกับยกมือซ้ายให้นิ้วชี้หาคู่ แล้วเปลี่ยนเป็นเท้าขวา และมือข้างขวา
  5. กระโดดหมุนตัวอยู่กับที่โดยย่ำเท้า 4 ครั้ง
ข้อเสนอแนะ
ใช้เพลงการเต้นรำพื้นเมือง เพลงโพลกาสำหรับเด็ก (CHILDREN POLKA)

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เพลงเพื่อเด็กปฐมวัย

เพลงออกกำลัง
ออกกำลังด้วยการร้องรำทำเพลง
ให้คลื้นเครงเสียงเพลงบรรเลงจับใจ
เราร้องกันไป ไม่มีหม่นหมองฤทัย
แล้วเราเพลินใจด้วยกันร้องรำทำเพลง


เพลงทำอะไร ย่ะจะทำอะไร ย่ะ ๆ จะทำอะไร จะทำอะไร ทำไมโอ้เอ้
ลุกขึ้นแต่เช้า อย่ามัวโง่เขลา ทำใจโลเล
อาบน้ำแปรงฟัน ของเรานั้น อย่าทำโฉเก
ก็มัวทำอะไร ทำไมไม่ไปโรงเรียนโอ้เอ้ ทำอะไรย่ะๆ


เพลงนี่ของฉัน
นี่มือของฉัน นี่ผมของฉัน นี่หัวของฉัน นี่จมูกของฉัน


เพลงเสียงฝน
เสียงฝน หล่นจากฟากฟ้า สาดซัดมารหนาวเย็นกระไร (ซ้ำ)
พวกเราอย่าออกไปไหน เปียกฝนไปจะเป็นหวัดเอย


เพลงสะอาด

ไหนดูเล็บมือ นี่ไงล่ะ ๆ
แหมสะอาดดีนี่เธอ ขอบคุณค่ะ ๆ
ไหนลองดูฟัน ๆ นี่ไงล่ะ ๆ
แหมสะอาดดีนี่เธอ ขอบคุณค่ะ ๆ


เพลงตำรวจจ๋า

ตำรวจจ๋ากรุณาหนูหน่อย หนูน้อย น้อยจะข้ามถนน
เดินดี ๆอย่าวิ่งซุกซน จะข้ามถนนทุกคนควรระวัง
(ต้องข้าถนนตรงทางม้าลาย)


เพลงสวัสดี

หญิง เมื่อเจอกันฉันทักทายสวัสดี ค่ะ
ชาย สวัสดี ครับ
หญิง ไปไหนมาจ๊ะ
ชาย ไปธุระมาหน่อย
หญิง ก่อนจากกัน ฉัน กล่าวคำ สัสดีค่ะ
ชาย สวัสดี ครับ
หญิง ชาย ส่งยิ้มให้ ส่งยิ้มให้ ซึ่งกัน


เพลงอย่าทิ้ง
อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง ทิ้งแล้วจะสกปรก
ถ้าเราเห็นมันรก ต้องเก็บ ๆ ๆ


เพลงอายน้ำ


อาบน้ำซู่ซ่า ล้างหน้าฟอกสบู่ถูตัว
ชำระเหงื่อไคลบลาดให้ทั่ว เสร็จแล้วเช็ดตัว
เราไม่ขุ่นมัว สุขกายสบายใจ


เพลงบ้านฉัน

บ้านฉันมีนกกระจอก ส่งเสียงจอก ๆอยู่บน
บ้านฉันนั้นชอบเลี้ยงนกๆ มันบินโผผกไปมา
บ้านฉันมีดอกไม้สวย บ้านฉันมีกล้วยไม้ป่า
บ้านฉันมีบ่อเลี้ยงปลา ตอนเย็นกลับมาช่างเพลินใจ
พวกเราทุกคนมีความสุขล้นที่บ้าน หลังจากช่วยแม่ทำงานๆ
เราต่างชื่นบานที่บ้านของเรา


เพลงเสือกับวัว
1 2 3 ไล่ตามกันมา วัวอยู่ข้างหน้า ไม่ต้องหลบหนี
เสืออยู่ข้างนอก ล่อหลอกให้ดี
จับวัวได้ทันที เป็นผู้มีชัย


เพลง สา...หวัดดี.....น้องสาว

ซา...หวัดดี..น้องสาว ๆ ผิวเจ้าขาวแจ่มจันทร์
ดังสรรค์ลงมาแต่ง ส่ายตาน้องผ่านไป
ส่ายตาอ้ายผ่านมา พาให้ฝันละเมอ
เชิญเข้ามาน้องสาว เจ้าอย่าได้เอียงอายๆ พี่จะได้ชื่นหัวใจ


เพลงแบมือแล้วกำ

แบมือแล้วกำๆ สลัดให้มันแรงๆ ไต่เต้าตามกันๆ ไต่ให้ถึงลูกคางๆ
แบมือแล้วกำๆ ตบให้ดังแผะๆ ไต่เต้าตามกันๆ ไต่ให้ถึงลูกคางๆ
แบมือแล้วกำๆ วางบนตักนั่นแหละๆ
ไต่เต้าตามกันๆ ไต่ให้ถึงลูกคางๆ หนูน้อยเอยอ้าปากก็เห็นฟัน


เพลงเอ อี ไอ โอ ยู

ปู่ของฉันนั้นเป็นชาวนา เออีไอโอยู ลูกหมาเล็กๆอยู่กลางทุ่งนา
เออีไอโอยู มันร้อง (เสียงสัตว์...) นี่ก็ร้องบ๊อกๆ ...บ๊อก ๆ
นั่นก็ร้องบ๊อก นี่ก็ร้องบ๊อก บ๊อก ๆ ๆ ๆ


เพลงสาวชาววัง

สาวชาววังเอวเล็กเอวบางปะแป้งบาหยัน
คนนั้นเป็นของใครกัน ๆ ถ้าเป็นของฉัน ๆรักตายเลย



เพลงดุกดุ๋ย

ดุกดุ๋ย ๆ แมลงสาบออกหากินขนมอมลูกอมเสียจนแก้มตุ่ย
ควายตัวเมียออกลูกมาเป็นตัวเมีย
อยู่มาไม่นานมีลูกมีหลานก็เป็นตัวเมีย


เพลงปลูกผักสวนครัว
ช่วยกันปลูกผักสวนครัวๆ พรวนดินให้ทั่วปลูกถั่วฟักยาว
ข่าตระไคร้ มะกรูด มะนาว โหระพา กระเพรา น้ำเต้า ฟักทอง


เพลงตบมือซ้าย ขวา
ตบมือข้างซ้ายๆ ตบมือข้างขวาๆ เรามาสนุกเฮอา
ตบมือข้างซ้าย ตบมือข้างขวา


เพลงนี่แม่น
นี่แม่นผม นี่แม่นหน้าผาก นี่แม่นปาก นี่แม่นหูดัง นี่แม่หลัง
นี่แม่นหน้าแข่ง อันตองแตง เขาเรียกว่าแขน อันแบน แบน
เขาเรียกสะโพก เอาไว้โยก แซมบ้า ๆ


เพลงลูกแพะ
เตอะ แตะ ๆ ลูกแพะเดินโซเซมา
เดินโซซัดโซเซ ทำท่าโฉเก เตอะ แตะ ๆ


เพลงลิง

เตอะ แตะ ๆ เราเดินไป อะไรอยู่บนต้นไม้ โหนไปโหนมา


เพลงยานพาหนะ

หึ่ม ๆ ๆ เครื่องบินกระหึ่มบนฟ้า
ปิ้น ๆ ๆ รถยนต์แล่นมาแต่ไกล
ปู้น ๆ ๆ นั่นเสียงวูดของรถไฟ
ตึก ๆ ๆ เรือยนต์แล่นในแม่น้ำลำคลอง


เพลงเจ้านกโผบิน

นกเอยเจ้าโผบิน ออกหากินตามถิ่นดอน
จิ๊กทีกระโดดที ๆ ได้เหยื่อไม่ดีทำหัวสั่นหัวคลอน


เพลงยินดีที่พบกัน
วันนี้ยินดีที่เราได้มาพบกัน (ซ้ำ)
ยินดี ยินดี ยินดี มาเถิดมา เรามาร่วมสนุก
ปลดเปลื้องความทุกข์ให้มันสิ้นไป มาเถิดมา...
เรามาร่วมจิต ช่วยกันคิดให้การศึกษาเจริญ


เพลงหมวกกันแดด
หนูจ๋า หนูจะไปไหน ใส่หมวกปีกใหญ่ ปิดหน้าปิดตา
ลา ล้า ลา ลา บาบูมใบเย
พี่จ๋า หนูจะเดินไป โรงเรียนใกล้ใกล้ หาเพื่อนเพื่อนหนา
หนูจ๋า หนูจะไปไหน ใส่หมวกปีกใหญ่ ปิดหน้าปิดตา
พี่จ๋า หมวกปีกใบใหญ่ คุณแม่เย็บให้กันแดดดีหนา


เพลงฟันผุ

ทำนอง เพลงถอยห่าง
ฟันผุละซิ ๆ ๆ นั่นแหละ
ผุอีกละซิ ๆ ๆ นั่นแหละ
นั่นแน่ ๆ ๆ นั่งทำหน้าม่อย
ปวดฟันหน้าจ๋อย แหมครางอ๋อยเชียวแหละ
ทำมือทำไม้ บอกไบ้แบ๊ะๆ
ชักชวนแปรงฟัน ให้ทุกวันนั่นแหละ
แปรงขึ้นแปรงลง อย่าพะวงเลยแหละ
ฟันขาวเร็วรวด แหมหายปวดเลยแฮะ


เพลงเลียนเสียงนก

กาเว้า กาเว้า กาเว้า เสียงนกกาเว่าร้องแต่เช้าตรู
จุ๊กกรู ๆ ๆ นกเขาขันกรูเสียงเพราะจับใจ
โฮก โปก ๆ ๆ นกโพระดกร้องอยู่ไม่ไกล
นกกาบินมาแต่ไกล ส่งเสียงใส กา กา


เพลงนับ

เอามือทั้งสองแล้วกางออกไป (ซ้ำ)
ก้มหัวไว้ขาตึงหน้าตรง (ซ้ำ)
จับข้อเท้าให้มั่นคง
ย่อหัวลงแล้วจึงยืดตัว
หมุนรอบตัวเราเอง


เพลงปลูกมะเขือ

มะเขือเปราะ มะเขือเปราะ ปลูกมะเขือตรงไหนให้ได้ผลงามดี
ปลูกตรงนี้ดินสวยดี ปลูกตรงนี้แหละเหมาะ
อ้างอิงจาก
( นางรัชนี สาระพันธุ์โรงเรียนอนุบาลลพบุรี อ.เมือง จ. ลพบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 )

รวมเพลง-กลอน-อาขยาย ไว้เล่นกับลูก

****รวมเพลง

จิ้งจก

จิ้งจก จิ้งจก จิ้งจก
จิ้งจกมันมีสี่ขา
อยู่ข้างฝาและบนเพดาน
กินแมลงเป็นอาหาร
โรงเรียน บ้าน ที่อยู่อาศัย
ตัวเล็กกว่าตุ๊กแก คอยชะแง้ร้องทัก ใครๆ
ออกลูกมาเป็นไข่
แอบเอาไว้ไม่ให้ใครมอง
...................................
เต่ากับกระต่าย

เต่าตัวลายเดินย้ายโคลงเคลง
กระต่ายฮัมเพลงเดินสวนทางมา
ให้นึกขำขันเจ้าเต่าท้องนาเชื่องช้าดั่งกับปลิง
มันจึงเปรยแกมเย้ยท้าทาย
แข่งความไวกันไหมเจ้าปลิง
เจ้านั่นชักช้าน่าเบื่อเสียจริงต่อให้วิ่งไปก่อน
เพราะทะนงในตัวเกินไป
จึงหลงเอนกายพิงไม้พักผ่อน
สายลมโชยหวิวไหวไชชอน กระต่ายเจ้าจึงนอนหลับปุ๋ยเย็นใจ กระต่ายทะนงลุ่มหลงลืมตน ตื่นมาจนอาทิตย์ลาไป
รีบลุกผลุนผลันดั้นด้นพฤกษ์ไพร แต่ช้าไปแล้วสิ(ซ้ำทั้งเพลง)
......................................................

เพลงปลาตัวน้อยปลาตัวน้อย ๆ

ปลาตัวน้อย ๆ ล่องลอยไปตามน้ำ
แล้วเจ้าก็ถาม ว่ามันเป็นเพราะเหตุใด
สายธาราที่เคยงามสดใส เดี๋ยวนี้ทำไมจึงแห้งแล้งดำคร่ำ
น้ำทำไมจึงแห้ง คลองทำไมจึงดำ
น้ำทำไมจึงแห้ง คลองทำไมจึงดำ
ปลาตัวน้อย ๆ เฝ้าคอยคำตอบหนา
ใครจะตอบเจ้าปลาได้ไหมเล่าเอย
ปลาตัวน้อย ๆ เฝ้าคอยคำเฉลย
ขออย่าได้ละเลยหาคำตอบให้เจ้าปลา
ใครจะตอบเจ้าปลา แล้วใครจะตอบเจ้าปลา
..................................................
เพลงใครหนอ

ใครหนอรักเราเท่าชีวี(เท่าชีวี )
ใครหนอปราณีไม่มีเสื่อมคลาย(ไม่มีเสื่อมคลาย )
ใครหนอรักเราใช่เพียงรูปกาย
รักเขาไม่หน่ายมิคิดทำลายใครหนอ
ใครหนอเห็นเราเศร้าทรวงใน
ใครหนอเอาใจปลอบเราเรื่อยมา
ใครหนารักเราดังดวงแก้วตา
รักเขากว้างกว่าพื้นพสุธานภากาศ
จะเอาโลกมาทำปากกา
แล้วเอานภามาแทนกระดาษ
เอาน้ำหมดมหาสมุทรแทนหมึกวาด
ประกาศพระคุณไม่พอ
ใครหนอรักเราเท่าชีวัน
ใครหนอใครกันให้เราขี่คอ( คุณพ่อคุณแม่ )
ใครหนอชักชวนดูหนังสี่จอ
รู้แล้วละก็อย่ามัวรั้งรอทดแทนบุญคุณ
.......................................................
เพลงอิ่มอุ่น

อุ่นใด ๆ โลกนี้มิมีเทียบเทียม อุ่นอกอ้อมแขน
อ้อมกอดแม่ตระกอง รักเจ้าจึงปลูก
รักลูกแม่ย่อมห่วงใย ไม่อยากจากไปไกล แม้เพียงครึ่งวัน
ให้กายเราใกล้กัน ให้ดวงตาใกล้ตา ให้ดวงใจเราสองเชื่อมโยงผูกพัน
อิ่มใด ๆ โลกนี้มิมีเทียบเทียม อิ่มอกอิ่มใจ อิ่มรักลูกหลับนอน
น้ำนมจากอก อาหารของความอาทร แม่พร่ำเตือน พร่ำสอน สอนสั่ง
ให้เจ้าเป็น เด็กดี ให้เจ้ามีพลัง ให้เจ้าเป็น ความหวังของแม่ต่อไป
ใช่เพียงอิ่มท้อง ที่ลูกร่ำร้องเพราะต้องการไออุ่น
อุ่นไอรัก อุ่นละมุล ขอน้ำนมอุ่น จากอกให้ลูกดื่มกิน
ให้กายเราใกล้กัน ให้ดวงตาใกล้ตา ให้ดวงใจเราสอง เชื่อมโยงผูกพัน
ให้เจ้าเป็นเด็กดี ให้เจ้ามีพลัง
ให้เจ้าเป็นความหวังของแม่ต่อไป
ใช่เพียงอิ่มท้อง ที่ลูกร่ำร้องเพราะต้องการไออุ่น
อุ่นไอรัก อุ่นละมุน ขอน้ำนมอุ่น จากอกให้ลูกดื่มกิน.

.....................................................................
เพลงวิหคเหินลม

แสนสุขสมนั่งชมวิหก อยากเป็นนกเหลือเกิน
นกหนอนกเจ้าหกเจ้าเหิร ทั้งวันนกเจ้าคงเพลิน
โผบินละลิ่วลอยลม แม้เป็นนกได้ดั่งใจปรารถนา
ฉันคงเริงร่าลอยลม แม้เป็นนกได้ดั่งใจจินตนา
ฉันคงเริงร่าลอยลม ขอเพียงเชยชมทั่งน้องนภา
จนสุดขอบฟ้า สุขาวดี ฉิมพลีวิมานเมืองฟ้า
ค่ำคืนจะทนฝืนบิน เหินไปทั่งถิ่นที่มันมีดารา
อยากจะรู้เป็นนักเป็นหนา ดาราพริบตาอยู่ใย
ยั่วเย้ากระเซ้าหรือไร หรือดาวเกี้ยวใคร เหตุใดดาวจึงซน

เด็กน้อยสารภี

ลัล ลัน ลา เด็กน้อยสารภี
ลัล ลัน ลา ไม่ยอมฟังครู
ลัล ลัน ลา ครูถือไม้ตี
ลัล ลัน ลา สารภีตีตอบ

ยวนยาเหล

ยวนยาเหล ยวนยาเหล่ หัวใจว้าเหว่ ไม่รู้จะเห ไปหาใคร
จะซื้อเปลญวนที่ด้ายหย่อน ๆ
จะซื้อเปลญวนที่ด้ายหย่อน ๆ
จะเอา(ชื่อลูก) นอนไกวเช้า ไกวเย็น
................................................
รีบไปโรงเรียน

หนูหนูเด็กๆทั้งหลายอย่านอนตื่นสายเป็นเด็กเกียจคร้าน
ตื่นเช้าจะได้เบิกบาน สดชื่นสำราญสมองแจ่มใส
อาบน้ำล้างหน้าสีฟัน รีบเร่งเร็วพลันแต่งตัวทันใด
รับประทานอาหารเร็วไวเสร็จแล้วก็รีบไปโรงเรียน.

................................................
เพลงพบกันใหม่

พบกันใหม่ พบกันใหม่ จากกันไป ขวัญใจกลับมา
โอ่ละเฮ ลันลันลา ถึงสัปดาห์ เราหยุดสองวัน
เสาร์ อาทิตย์ ฉันคิดถึงเธอ ฉันนอนละเมอ หัวใจไหวหวั่น
โอ่ละเฮ ลันลันลา พอถึงวันจันทร์ เราก้อพบกันใหม่
................................................

เพลงรักแม่พ่อคนเดียว

เช้าวันหนึ่งวันนั้น วันหนึ่งวันนั้น 7 นาฬิกา
พ่อก็บอกออกมา ก็บอกออกมารักแม่คนเดียว
แม่ก็บอกว่ารัก ก็บอกว่ารักรักพ่อคนเดียว
คนอื่นจะไม่แลเหลียว จะไม่แลเหลียวให้เสียเวลา
................................................
เพลงเจ้าเนื้อละมุน

เจ้าเนื้อละมุนเอย เจ้าเนื้ออุ่นเหมือนสำลี
แม่มิให้ผู้ใดต้อง เนื้อเจ้าจะหมองศรี
ทองดีเจ้าคนเดียวเอย
................................................
เพลงไก่

ไก่ ไก่ ไก่ ตัวเล็กตัวใหญ่
พากันไปคุ้ยเขี่ย หากิน
บ้างก็วิ่ง บ้างก็บิน
ชิงกันกินจนตัวมันใหญ่
................................................
เพลงไก่ย่าง(รับน้องมหาลัย)

ไก่ย่างถูกเผา ไก่ย่างถูกเผา
มันจะถูกไม้เสียบ มันจะถูกไม้เสียบ
เสียบตูดซ้าย เสียบตูดขวา
ร้อนจริง ๆ ร้อนจริง ๆ ร้อนจริง ๆ
................................................
เพลงก้าบ ก้าบ ก้าบ

ก้าบ ก้าบ ก้าบ เป็ดอาบน้ำในครอง
ตาก็จ้องแลมอง เพราะในคลองมีหอยปลาปู
ก้าบ ก้าบ ก้าบ เป็ดอาบน้ำในคู
ตาก็จ้องแลดู เพราะในคูมีหอยปูปลา
................................................
เพลงลูกเป็ด

อย่าทิ้งขยะนะเออ ลูกเป็ดเขาเจอ
เดี๋ยวเขาดุเอา ก๋าบ ก้าบ ก้าบ ก้าบ ก้าบ ๆ
................................................
เพลงนิ้วโป้งอยู่ไหน

นิ้วโป้งอยู่ไหน นิ้วโป้งอยู่ไหน อยู่นี่จ๊ะ อยู่นี่จ๊ะ
สุขสบายดีหรือ ไปก่อนละ สวัสดี
(แล้วร้องซ้ำใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นนิ้วอื่น ๆ ต่อไป)
...............................................
เพลงแมลงเกาะจมูก

มีแมลงตัวหนึ่งบินมาเกาะจมูกกระต่าย(ซ้ำ)
มันจึงปั๊ดมันจึงปัด แมลงก็บินหนีไป

...............................................
เพลงแมงวันแมงหวี่

แมงวัน แมงหวี่ แมงหวี แมงวัน
ยุ่ง ยุ่ง ยุ่ง มันมาตีกัน แมงวัน แมงหวี่
...............................................
เพลงยักคิ้ว

ยักคิ้ว ยักเอวยักไหล่ ตาชม้ายยิ้มไปยิ้มมา...
ชิกกาบุ่ม ชิกกาบุม ลันลา (ซ้ำ)
จีบซ้าย จีบขวา ลอยหน้ารำวง......
...............................................
เพลงทะเลแสนงาม

โอ้ทะเลแสนงาม ฟ้าสีครามสดใส
มองเห็นเรือใบ แล่นอยู่ในท้องทะเล
หาดทรายงาม เห็นปู ดูซิ ดูหมู่ปลา
กุ้งหอย นา นา อยู่ในท้องทะเล
...............................................
เพลงลูกหมูใส่รองเท้า
ในเช้าแจ่มใสวันหนึ่ง
ซึ่งเป็นวันน้ำนอง
ลูกหมูก็อยากจะลอง
อยากจะลองเล่นโคลน
แต่แล้วก็ต้องคันเท้า
พยาธิไชเข้าเท้ามัน
ลูกหมูคิดได้เร็วพลัน
ต้องป้องกันทันที
จึงทำรองเท้าด้วยไม้
ใช้เชือกเป็นสายชั้นดี
เร็ว ๆ มาช่วยกันวิ
จะได้ของดีเสียงดัง
ก๊อบ กิ๊บ ก๊อบ
ก๊อบ กิ๊บ ก๊อบ
ก๊อบ กิ๊บ ก๊อบ กิ๊บ ก๊อบ กิ๊บก๊อบ

...............................................
เพลงนกกาเหว่า
เจ้านกกาเหว่าเอย ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก
แม่กาก็หลงรัก คิดว่าลูกในอุทร
คาบเอาข้าวมาเผื่อ ไปคาบเอาเหยื่อมาป้อน
ถนอมไว้ในรังนอน ซ่อนเหยื่อมาให้กิน
ปีกเจ้ายังอ่อนคลอแคล ท้อแท้จะสอนบิน
แม่กาพาไปกิน ที่ปากน้ำพระคงคา
ตีนเจ้าเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซ้หาปลา
กินกุ้งแลกินกั้ง กินหอยกระพังแมงดา
กินแล้วก็โผมา จับที่ต้นหว้าโพธิ์ทอง
ยังมีนายพราน เที่ยวเยี่ยมเยี่ยมมองมอง
ยกปืนขึ้นส่อง จ้องเอาแม่กาดำ
ตัวหนึ่งว่าจะต้ม อีกตัวหนึ่งว่าจะยำ
กินนางแม่กาดำ ค่ำวันนี้อุแม่นา
................................................

เพลงจับปูดำ

จับปูดำ ขยำปูนา จับปูม้า คว้าปูทะเล
สนุกจริงเอย แล้วเลยนอนเปล ชะโอละเห่ นอนเปลเลยหลับไป

................................................
เพลงแมงมุมลาย

แมงมุมลายตัวนั้น ฉันเห็นมันซมซานเหลือทน
วันหนึ่งมันถูกฝน ไหลหล่นจากบนหลังคา
พระอาทิตย์ส่องแสง น้ำแห้งเหือดไปลับตา
มันรีบไต่ขึ้นฟ้า หันหลังมา ทำตาลุกวาว
................................................
เพลง ช้าง ช้าง

ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง น้องเคยเห็นช้างหรือเปล่า
ช้างมันตัวโตไม่เบาจมูกย่าว ๆ เรียกว่างวง
มีเขี้ยวใต้งวงเรียกว่างา มีหูมีตาหางยาว
................................................
เอามือวางไว้บนตัก
ช่างน่ารัก น่ารักจริง ๆ
เด็กดี ไม่ดื้อ ไม่ซน
พวกเราทุกคน.ไม่ใช่ลูกลิง
................................................
เต่า เต่า เต่า เต่ามันมีสี่ขา
สี่ตีนเดินมา ทำหัวผุด ผุด โผล่ โผล่
(แล้วทำคอย่นด้วยนะ น่ารักมั่กมาก)

................................................
ฝนตกเปาะแปะมีแพะเดินมา
แปลกใจจริงหนาน้ำมาจากไหน
มองซ้ายมองขวา เอ๊ะไม่เห็นจะมีอะไร
ตกลงมาเปาะแปะ
...............................................

ดื่ม ๆ ๆ เรามาดื่ม ๆ นมกันเถอะ
ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ
ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ
ดื่มนมเยอะ ๆ ร่างกายแข็งแรง
...............................................
รถตุ๊ก ตุ๊ก ตุ๊ก บรรทุกผัก ขึ้นสะพาน ชักกะตุก ชักกะตุก

...............................................
เจี๊ยก ๆ ๆ เป็นเสียงเรียกของลิง
ลิงมันอยู่ไม่นิ่งมันชอบวิ่งกันอยู่ไปมา
เจี๊ยก ๆ ๆ มันร้องเรียกพวกมา
ครั้นพอถึงเวลาออกเที่ยวหาผลไม้กิน

...............................................
แมวเอ๋ยแมวเหมียว
แยกเขี้ยว ยิงฟัน
เจ้าหนูมันกลัวตัวสั่น
เจ้าหนูมันกลัวตัวสั่น
หนีไม่ทันถูกจับกินเอย
...............................................
ออกกำลังด้วยการร้องรำทำเพลง
ให้เสียงเพลงครื้นเครงบรรเลงจับใจ
เราร้องเรารำไม่มีหม่นหมองฤทัย
เพราะเราเพลินใจ ด้วยการร้องรำทำเพลง
นกเอยนกน้อย ๆ
บินลอยตามสายลม
ปีกหางกางสวยวม
บินตามละระเริงใจ
นกเอยนกน้อย ๆ
บินลอยตามลมไป
บอกแม่ว่าดวงใจคะนึงถึง
...............................
คนมีปัญญา สร้างบ้านไว้บนศิลา
เมื่อมีลม พายุพัดมา บ้านของเขา ก็ยังคงอยู่

คนโง่สร้างบ้าน สร้างบ้านไว้บนหาดทราย
เมื่อมีลม พายุพัดมา บ้านของเขาก็ พังทลาย
.....................................
ลูกกบตัวหน่อย ลูกกบตัวหน่อย
ส่งเสียงร้องร่าเริงยินดี
หางมันไม่มี หางมันไม่มี
ส่งเสียงร้อง กู่หวอกก็อกๆ
กู่หวอกก็อกๆ กู่หวอกก็อกๆ
กู่หวอกกู่หวอกก็อกๆ (ซ้ำ)
..................................
จิ้งจกมันอยู่ข้างฝา แมลงบินมาแลบลิ้น แผ๊บๆๆ

..................................
เจ้ากระต่ายตัวน้อยเพลิดเพลิน
มันเที่ยวเดินอยู่ในไพร มองลูกนกผกผินบินไป
เจ้ากระต่ายหัวเราะเริงร่า ฮ่าฮ้าฮ่าฮ้าฮ้า ฮ่าฮ้าฮ่าฮ้าฮ้า

...............................
รำระบำชาวเกาะ เพลงเพราะเสนาะจับใจ
เสียงน้ำหลั่งไหล เสียงน้ำหลั่งไหล
กระทบหาดทรายดัง คลื่นๆ กระทบหาดทรายดัง คลื่นๆ
................................
นกเขาบินข้ามเขา
ไม่ใช่ของเรา อย่าไปแลมอง
ตัวเมียตีปีกพั่บ พั่บ
ตัวผู้ขานรับ จุ๊กกรู จุ๊กกรู
................................
จับหัว คาง หู หัวไหล่
จับไวๆ จับจมูก จับตา
จับแขน จับขา แล้วก็จับสะดือ
.................................
พบกันใหม่ๆยกมือไหว้ สวัสดี
ดีใจที่ได้มาที่นี่ เอ้า ชื่นใจที่ได้มาที่นี่
สวัสดีแล้วปลื้มใจปลื้มใจ
...............................
เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อนเอ๋ย ค่ำแล้วจะนอนที่ตรงไหน
นอนที่ไหนก็นอนได้ ซุ่มทุมพุ่มไม้ก็เคยนอน
ลมพระพายชายพัดมาอ่อน ๆ เจ้าก็จรมานอนรังเอย.........
.........................................
กำมือขึ้นแล้วหมุน หมุน..ชูมือขึ้นโบกไปมา..
กางแขนขึ้นและลง..พับแขนมือแตะไหล่...
กางแขนขึ้นและลง...ชูมือตรงหมุนไปรอบตัว
.................................................
แตงโมผลใหญ่ๆเกิดขึ้นได้จากเม็ดแตงเล็กๆ
จำไว้นะพวกเด็กๆ เม็ดแตงเล็กๆกลายเป็นแตงผลใหญ่
................................................
แตงโมผลใหญ่ๆ เก็บเอาไว้ อยู่ในตู้เย็น
ใครๆเค้าผ่านมาเห็น ใครๆเค้าผ่านมาเห็น เปิดตู้เย็นกินน้ำแตงโม
..................................................
กระต่ายน้อย มีหางนิดเดียว
สองหูยาว สั่นกระดุ๊ก กระดิ๊ก กระดุ๊ก กระดิ๊ก
.......................................
ปั๊กเป้า ถลาเล่นลม
ชืนชมกระชั้น กระชิด
ปั๊กเป้า ส่ายหางนิด นิด
ปั๊กเป้า ส่ายหางนิด นิด
ปั๊กเป้า ตัวนี้ มีฤทธิ์มากนัก
ยัก หนึ่ง ยัก สอง ยัก หนึ่ง
ยัก กึ่ง กึ่ง มา ยัก ยัก ยัก
...................................
ม้าวิ่งกั๊บ ๆ เดี๋ยวเดียวลับตาเราไป
ม้าวิ่งเร็วไวเร็วทันใจร้องฮี่กั๊บ ๆ
ม้าวิ่งเร็วรี่ดูสิหายไป
ม้าวิ่งเร็วไวเร็ซทันใจร้องฮี่กั๊บ ๆ




แมวเอ๋ย แมวเหมียว
รูปร่าง ประเปรียว เป็นหนักหนา
ร้องเรียก เหมียวเหมียว ประเดี๋ยวก็มา
เคล้าแข้ง เคล้าขา น่าเอ็นดู
รู้จัก เอารัก เข้าต่อตั้ง
ค่ำค่ำ ซ้ำนั่ง ระวังหนู
ควรนับว่ามัน กตัญญู
พอดู อย่างไว้ ใส่ใจเอย......
...........................................

ปลา “ป ปลานั้นหายาก ต้องลำบากออกเรือไป
ขนส่งจากแดนไกล ใช้น้ำแข็งเปลืองน้ำมัน
แช่เย็นก็เสียไฟ หุงต้มไซร้แก๊สทั้งนั้น
พลังงานต้องหมดกัน โอ้ลูกหลานจำจงดี”
..............................................
กุ๊ก กุ๊ก ไก่ เลี้ยงลูกมาจนใหญ่
ไม่มีนมให้ลูกกิน ลูกร้องเจี๊ยบ ๆ
แม่ก็เลียบคุ้ยดิน ทำมาหากิน
ตามประสาไก่เอย
................................................
เด็กเอ๋ย เด็กน้อย
ความรู้ เรายังด้อย เร่งศึกษา
เมื่อเติบใหญ่ เราจะได้ มีวิชา
เป็นเครื่องหา เลี้ยงชีพ สำหรับตน
ได้ประโยชน์ หลายสถาน เพราะการเรียน
จงพากเพียร ไปเถิด จะเกิดผล
ถึงลำบาก ตรากตรำ ก็จำทน
เกิดเป็นคน ควรหมั่น ขยันเอย......
................................................
ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่
ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ
มิหลงใหลใครขอดู

จะใคร่ลงเรือใบ
ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้
มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง

บ้าใบ้ถือใยบัว
หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง
ยี่สิบม้วนจำจงดี
................................................
ฝนตกพรำๆ แม่ดำกางร่ม แกยืนก้มๆ
อยู่ข้างกำแพง ประเดี๋ยวแดดออก แกบอกพ่อแดง
ว่าไม่มีแรง หุบร่มให้ที
................................................
มดแดง กัดแข้งกัดขา
กัดเสื้อ กัดผ้า ตุ๊งแฉ่ง ตุ๊กแฉ่ง
................................................
ฝนตกจั๊กๆมือซ้ายถือปลา มือขวาถือผัก
พอถึงที่พัก วางผัก.....วางปลา
................................................
จิ้งหรีดมันอยู่ในรู เอาไม้แหย่ดูมันร้องจี๊ดๆ

................................................
โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ว่าดึกแล้วหนอ พี่ขอลาล่วง
อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือนเอ๋ย

................................................
“ฝนตกแดดออก นกกระจอกเข้ารัง
แม่หม้ายใส่เสื้อ ถ่อเรือไปดูหนัง”
“ฝนตกแดดออก นกกระจอกเข้ารัง
ฝนสาดฝนซัด เดี๋ยวเป็นหวัดขี้มูกกรัง”
“ฝนตกแดดออก นกกระจอกเข้ารัง
หลบแดดหลบฝน ระวังชนฝาผนัง”
................................................
จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกง
ขอแหวนทองแดงผูกมือน้องข้าขอช้างขอม้าให้น้องข้าขี่
ขอเก้าอี้ให้น้องข้านั่ง ขอเตียงตั้งให้น้องข้านอน
ขอละครให้น้องข้าดู ขอยายชูเลี้ยงน้องข้าเถิด
ขอยายเกิดเลี้ยงตัวข้าเอง
................................................
โยกเยกเอย น้ำท่วมเมฆ กระต่ายลอยคอ
หมาหางงอ กอดคอโยกเยก
................................................
แมงมุม ขยุ้มหลังคา แมวกินปลา หมากัดกระพุ้งก้น
................................................
จ้ำจี้มะเขือเปราะ กะเทาะหน้าแว่น พายเรืออกแอ่น
กระแท่นต้นกุ่ม สาวสาวหนุ่มหนุ่ม อาบน้ำท่าไหน
อาบน้ำท่าวัด เอาแป้งที่ไหนผัด เอากระจกที่ไหนส่อง
เยี่ยม ๆ มองๆ นกขุนทองร้องวู้
................................................
ไก่เอ๋ยไก่ กางปีกขันไป เอ๊กอีเอ๊กเอ๊ก
หมาเอ๋ยหมา เห็นคนเดินมา มันเห่าบ๊อกบ๊อก
แมวเอ๋ยแมว คิดถึงลูกแล้ว ร้องเรียกเหมียว เหมียว
เป็ดเอ๋ยเป็ด ร้องว่าเราเอ็ด ต้องกลับ ก๊าบ ก๊าบ
................................................
วัว วัว วัว
วัว ไม่กลัวไถนา
อาหารของวัวคือหญ้า
ไถนาวัวก็ไถ่เก่ง
ยอ ยอ ยอ
พอร้อง ยอ ยอ แล้ววัวมันเกรง
มันรู้มันจึงหยุดเอง
เพราะวันมันเกรง
คำร้อง ยอ ยอ

กา กา กา
บินร้อง กา กา ออกไปหากิน
เช้าตรู่ทิ้งรังไปสิ้น
ออกไปหากินบินร้อง กา กา
เย็นย่ำค่ำแล้ว
ฝูงกาก็แน่วบินมา
กลับรังพักกายา
จงเอาเยี่ยงกาหากิน
................................................
เจ็ดวันฉันนั่งนับ อาทิตย์ลับเริ่มสีแดง
วันจันทร์นั้นเปลี่ยนแปลงเป็นสีเหลืองเรื่อเรืองตา
อังคารสีชมพูช่างงามหรูดูทีท่า วันพุธสุดโสภาเขียวขจีสีสดใส พฤหัสบดีประสานสีแสด(ส้ม)วิไล วันศุกร์ฟ้าอำไพ
เสาร์สีม่วงเด่นดวงเอย
...................................
มอญซ่อนผ้าตุ๊กกะตาอยู่ข้างหลัง
ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ
ใครเห็นใครอย่าบอก
ใครบอกคนนั้นเป็น
...................................
จิงโจ้มาโล้สำเภา หมาไล่เห่า จิงโจ้ตกใจ
หมาไล่ไปจิงโจ้วิ่งหนี จิงโจ้เจอผี จิงโจ้สิ้นใจ

...................................
นกเอ๋ย นกเอี้ยง
คนเข้าใจ ว่าเจ้าเลี้ยง ซึ่งควายเฒ่า
แต่นกเอี้ยง นั้นเลี่ยง ทำงานเบา
แม้อาหาร ก็ไปเอา บนหลังควาย
เปรียบเหมือนคน ทำตน เป็นกาฝาก
รู้มาก เอาเปรียบ คนทั้งหลาย
หนีงานหนัก คอยสมัคร งานสบาย
จึงน่าอาย เพราะเอาเยี่ยง นกเอี้ยงเอย........
..............................
น้องเอี้ยงเอ๋ย
มาเลี้ยงควายเฒ่า
ควายกินข้าว
นกเอี้ยงหัวโต
.................................
อีเอ๋ยอีกา บินมาไว ๆ
มาโผล่ต้นโพธิ์ โผมาต้นไทร
.................................
ก๊อกๆๆ ใครมาเคะที่ประตู
แปลกใจนักเปิดออกดู
ใครยืนอยู่ คุณชื่ออะไร
..........................
เรามีตาไว้ดู เรามีหูไว้ฟัง
คุณครูท่านสอนท่านสั่ง
ต้องตั้งใจฟัง ต้องตั้งใจดู
...........................
ลูกเป็ดเดินไป ลูกไก่เดินมา
ลูกแมวเที่ยวหา ลูกหมาแอบมอง
.............................
อาบน้ำแล้วสบายตัว สบายหัวหนูหมั่นสระผม
ตัดเล็บที่มันแหลมคม ปากหอมน่าชมเพราะหนูแปรงฟัน
.............................
นี่คือผม..นี่คือหน้าผาก
..นี่คือปาก..นี่คือลูกตา
..ยื่นออกมาเค้าเรียกว่าแขน..
อันแบน แบนเค้าเรียกสะโพก..
เอาไว้โยก แซมบ้า...แซมบ้า
.................................


...................................
...................................
...................................
**ตลก ฮา เกมส์ ขำ ๆ

น้ำปลา ตราหัวสิงห์ จับผู้หญิงมาทรมาน
จับผู้ชายมาทรยศ จับแม่มดมาดึงสะดือ
จับกิ้งกือ มาทำก๋วยเตี๋ยว
จับแมวเหมียวมาเต้นระบำ
จับแมวดำมาเป่ายิ้งฉุบ
................................................
ไก่ ไก่ ไก่ ซื้อไหมครับจะกลับแล้วไก่
ส่งกระดูกเอาไปชิงโชค
ไปเที่ยวรอบโลกกับคนขายไก่
...............................................
นกมีหู หนูมีปีก ฉันมีพลัง อุตตร้าโซนิค ปิดปริ้ว ปิดปริ้ว...

................................................ขึ้นรถไฟจะไปโคราช
ตัดดังป๊าดถึงราชบุรี
ตดอีกทีถึงบริษัท
บริษัท ป้ำ ๆ เป๋อ
ขอเสนอนิยายเรื่องสั้น
ป้ากับปู่ ปู้อีจู้
ป้าไม่อยู่ ปู่ไปเที่ยว
ปาดุก ปลาไหล รถไฟชนกัน

.........................
นางเงือกน้อยตบบนตบล่าง
ตบหน้า ตบหลัง ตบพร้อม ๆ กัน
เอ้า one, two ,three, four, five ,six, seven,eight, nine , ten ten ten
.....................................
ยา หย่า ย่า คุณยายซักผ้า
คุณตาสระผม ยาอมโบตัน
ยาสีฟันคอลเกต สบู่วิเศษ
ปั๊กเป้า ยิงฉุบ
................................................
โจ๋เรนเจอร์ จ๊ะ จ๊ะ โจ๋เรนเจอร์
โจ๋เรนเจอร์ จ๊ะ จ๊ะ โจ๋เรนเจอร์
พวกเราไม่ทำตามเพื่อน
พวกเราไม่ทำตามเพื่อน
ก็เพราะว่าเราเป็นโจ๋เรนเจอร์

................................................

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย

   การเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัยมีความสำคัญ เด็กจะได้พัฒนาการร่างกายในส่วนต่างๆ นั้น ครู
จำเป็นต้องจัดเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวในลักษณะของรูปแบบต่างๆ  เช่น
          การเคลื่อนไหวพื้นฐานทั้งหมด ได้แก่ การเดิน  การคลาน  การคืบ  การวิ่ง   ฯลฯ
          การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง
          การแสดงท่าทางตามคำบรรยาย  เรื่องราว
          การทำท่าทางกายบริหาร
          การเลียนแบบท่าทางสัตว์  การเลียนแบบท่าทางคน   การเล่นเลียนแบบเป็นสิ่งของ ฯลฯ
          การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
          การเคลื่อนไหวเป็นผู้นำหรือผู้ตาม
          การเคลื่อนไหวสร้างสรรค์หรือการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
          กิจกรรมที่นำเสนอดังกล่าว นอกจากทำให้เด็กได้พัฒนาการด้านร่างกายแล้ว  เด็กยังได้พัฒนาการด้านอื่นๆ พร้อมกันไปด้วย
         

Good to Know By Huggies: ตอน ส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวให้ลูกน้อย


โดย HuggiesThai ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2010
ส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวของลูกน้อย

         แต่ ละพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวที่สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงขวบปีแรกของลูกน้อยอาจดูเหมือนว่าไม่สัมพันธ์กันเลย แต่ในความเป็นจริงแล้ว พัฒนาการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับ โดยปกติแล้ว พัฒนาการจะเริ่มจากศีรษะไปจรดเท้า โดยที่เด็กจะพัฒนาทักษะการใช้ศีรษะและแขนก่อนทักษะการใช้ขาและเท้า นอกจากนี้ ความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวจะเริ่มต้นจากศูนย์กลางของร่างกาย ซึ่งหมายความว่าลูกน้อยของคุณจะสามารถควบคุมลำตัวได้ก่อนที่เขาจะสามารถควบ คุมนิ้วมือและนิ้วเท้าได้

       ต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของพัฒนาการที่สำคัญที่สุดตั้งแต่ศีรษะไปจนถึงนิ้วเท้า และคำแนะนำเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อย
การควบคุมศีรษะ
        สิ่ง แรกๆ อย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้รับการสอนนั่นคือให้พยุงศีรษะของลูก น้อย ทั้งนี้เพราะเขายังไม่สามารถพยุงศีรษะด้วยตัวเองได้จนกว่าเขาจะอายุได้ ประมาณ 3 เดือน
        เมื่อกล้ามเนื้อคอของเขาแข็งแรงขึ้น เขาจะสามารถ “ดันตัวขึ้นได้เล็กน้อย” โดยยกทั้งศีรษะและหน้าอกขึ้นจากพื้นได้
        เมื่อ ลูกน้อยอายุได้ประมาณ 7 เดือน เขาจะสามารถควบคุมศีรษะของเขาได้อย่างเต็มที่และจะสามารถตั้งคอเองได้อย่าง มั่นคงเป็นเวลานานในขณะที่นั่งอยู่บนตักของคุณแม่หรือเมื่ออุ้มเขาให้ลำตัว ตั้งตรง คุณแม่ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้เพื่อช่วยให้ลูกน้อยพัฒนาการควบคุมศีรษะได้ดี ขึ้น
  1. วางลูกนอนคว่ำบนพื้น ทำเช่นนี้วันละหลายๆ เพื่อให้เขาได้ฝึกฝน
  2. หลอกล่อให้เขายกศีรษะของเขาขึ้นเอง วางกระจกที่ตกไม่แตกหรือรูปภาพใหญ่ๆ ไว้หน้าเขา หรือคุกเข่าแล้วยื่นหน้าไปใกล้ๆ เขา
การเอื้อมมือและการคว้า
        ทารกส่วนมากจะเริ่มโบกมือหรือตีสิ่งของได้เมื่ออายุได้ 3 เดือน ซึ่งการเคลื่อนไหวมือนี้จะพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว
        เมื่อ อายุได้ 5 หรือ 6 เดือน ลูกน้อยควรจะสามารถเอื้อมมือไปในทิศทางเดียวกับที่ตามองได้ ซึ่งหมายความว่าเขาสามารถมองเห็นสิ่งของและเอื้อมมือไปคว้าได้
        เมื่อ อายุได้ 8 หรือ 9 เดือน แม้ว่าลูกน้อยกำลังเรียนรู้ที่จะจับสิ่งของด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้อยู่ แต่เขาก็สามารถหยิบสิ่งของชิ้นเล็กๆ ได้อย่างน่าประหลาดใจ ยกตัวอย่างเช่น อาหารชิ้นเล็กๆ หรืออาจจะเป็นขี้ฝุ่นเล็กๆ และสิ่งสกปรกบนพื้นก็ได้ คุณแม่จำเป็นต้องจับตาดูเขาให้ดี เพราะเขาจะพยายามลิ้มลองอะไรก็ตามที่เขาหยิบขึ้นมาได้
        ทดลองปฏิบัติตามข้อแนะนำสี่ข้อดังต่อไปนี้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการประสานมือ-สายตาของลูกน้อย
  1. แขวน ของเล่นไว้บนเตียงของเขา ซึ่งจะช่วยให้ลูกพยายามตีสิ่งของที่อยู่เหนือศีรษะเขา (เพื่อความปลอดภัย ให้ถอดของเล่นนี้ออกทันทีเมื่อเขาสามารถนั่งได้)
  2. ในขณะที่ลูกน้อย กำลังนอนหงายอยู่บนพื้น ให้แขวนของที่ดูสะดุดตาไว้เหนือตัวเขา และแกว่งให้อยู่เหนือศีรษะเขา 3 ถึง 8 นิ้ว เพื่อกระตุ้นให้เขาเอื้อมมือไปตี
  3. เพื่อช่วยให้ลูกน้อยวัย 4 เดือนได้ฝึกหัดหยิบจับสิ่งของ ให้นำของเล่นที่เขย่าแล้วมีเสียงหรือสิ่งของอื่นๆ ที่ปลอดภัยให้เขาถือ อะไรก็ตามที่เขาเขย่าแล้วมีเสียง หรือของที่มีเนื้อนุ่มๆ ไว้ให้เขากัดเล่น อาจช่วยกระตุ้นให้ลูกถือของนั้นไว้
  4. วางของเล่นหลายๆ อย่างไว้ในบริเวณที่เขาเอื้อมถึง ปล่อยให้เขาคว้านู่นคว้านี่ในขณะที่เขานอนคว่ำหน้าบนพื้น
การพลิกตัว
แม้ ว่าความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวศีรษะของลูกจะทำได้ยากและพัฒนาอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป แต่การพลิกตัวกลับเป็นพัฒนาการที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ซึ่งเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่เฝ้ารอคอยอย่างตื่นเต้น
       เมื่อ อายุได้ 4 หรือ 5 เดือน ลูกน้อยจะสามารถพลิกตัวได้เพียงทิศทางเดียว (คือพลิกหงายหรือพลิกคว่ำ) บางทีลูกอาจจะไม่สามารถพลิกตัวไปอีกทิศทางหนึ่งได้จนกระทั่งอายุ 6 หรือ 7 เดือน
คุณแม่สามารถกระตุ้นให้ลูกพลิกตัวได้โดย
  1. หาพื้นที่กว้างๆ ให้เขาและให้โอกาสเขาได้ฝึกหัด ซึ่งพื้นเหมาะที่สุด
  2. ชมเชยเขา พูดคุยกับลูกและกระตุ้นให้เขาฝึกพลิกตัว
  3. ถือ ของเล่นที่เขาสนใจไว้ข้างๆ ตัวเขา เช่น ของเล่นที่ส่งเสียงได้เมื่อเขย่าหรือกระจกสำหรับเด็ก ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจของลูกและหลอกล่อให้เขาพลิกตัวเพื่อหันไปดู
การลุกขึ้นนั่ง
        เมื่อ เด็กสามารถพลิกตัวได้แล้ว การลุกขึ้นนั่งจึงมิใช่เรื่องยาก เด็กจะเห็นโลกในมุมมองใหม่เมื่อเขาเรียนรู้การลุกขึ้นนั่งแล้ว ดังนั้น การลุกขึ้นนั่งจึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับเขาพอๆ กับที่คุณพ่อคุณแม่ตื่นเต้น!
         เมื่ออายุได้ประมาณ 4 เดือน ลูกน้อยจะสามารถนั่งได้เมื่อพยุงตัวเขา
         เมื่ออายุ 6 เดือน เขาจะสามารถนั่งบนเก้าอี้สูงได้บ้าง และก่อนอายุครบ 1 ขวบ เขาจะสามารถนั่งได้เองโดยไม่ต้องมีคนคอยช่วย
เพื่อช่วยให้ลูกน้อยได้ฝึกหัดทักษะการนั่ง คุณแม่ควรปฏิบัติดังนี้
  1. วางเขาไว้บนตักคุณ หันหน้าออกในขณะที่คุณแม่นั่งขัดสมาธิอยู่บนพื้น ท้องและขาของคุณแม่จะช่วยพยุงหลังของลูก
  2. พยุงตัวลูกน้อยไว้บนหมอนที่ได้มาตรฐานหรือหมอนรูปตัวยู ให้เขาสัมผัสกับประสบการณ์การนั่งไปโดยที่มีคุณแม่คอยควบคุมดูแล
การคลานและการเดิน
        ระหว่าง อายุ 8 และ 13 เดือน ลูกน้อยจะสามารถเคลื่อนไหวได้ในบางรูปแบบ คุณพ่อคุณแม่มักเห็นว่าการคลานได้และการเดินได้เป็นพัฒนาการทางกายภาพที่ สำคัญที่สุด แม้ว่าการคลานได้หรือเดินได้จะเป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรลืมว่าเด็กแต่ละคนมีการพัฒนาในแบบของเขาเองและแต่ละ คนจะพัฒนาเร็วช้าต่างกันออกไป หากคุณแม่กังวลใจเรื่องพัฒนาการของลูกน้อยในด้านการเคลื่อนไหว ควรไปปรึกษาเรื่องนี้กับกุมารแพทย์ แต่เด็กส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวเป็นไปตามรูปแบบ
  • ในขั้นแรก เขาจะสามารถลุกขึ้นได้ด้วยมือและเข่าของเขาเอง
  • ต่อจากนั้นเขาจะโยกตัวไปมาเพื่อพยายามเคลื่อนไปข้างหน้า
  • เขาจะพัฒนาวิธีการเคลื่อนตัวไปรอบๆ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การโยกตัว การหมุนตัว การกลิ้ง และการกระดืบ
       หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน คุณแม่จะพบว่าเขาเริ่มพัฒนาไปสู่การคลานอย่างแท้จริง
       เด็กหลายคนเรียนรู้การคลานถอยหลังก่อน แต่อีกไม่นาน เขาก็จะเรียนรู้การคลานไปในทิศทางที่ถูกต้อง
       แต่ ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะคลานแบบเดียวกันนี้ อันที่จริงแล้ว เด็กบางคนไม่ยอมคลานเลยด้วยซ้ำ แต่เรียกร้องที่จะเดินโดยมีผู้ใหญ่คอยจับมือเขาไว้แทน เด็กบางคนอาจใช้วิธีไถไปด้วยก้น กระดืบไปด้วยท้อง หรือ “เดินแบบหมี” นั่นคือคลานโดยที่เหยียดแขนและขาออก ไม่ว่าลูกน้อยของคุณจะเลือกสไตล์การเคลื่อนไหวแบบไหนก็ตาม ก็จะทำให้เขามีอิสระอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนและเป็นโอกาสที่เขาจะได้ออกสำรวจ โลกกว้าง
คุณแม่ควรพยายามกระตุ้นให้ลูกน้อยเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวด้วยเกมง่ายๆ เหล่านี้
  1. เล่น คลาน “ไล่จับ” ซึ่งเด็กที่กำลังเรียนรู้การเคลื่อนไหวจะสนุกกับเกมนี้มาก ให้คุณแม่คลานตามหลังลูก แล้วบอกเขาว่า “แม่จะจับหนูแล้วนะ!” แล้วก็คลานห่างออกไป เพื่อกระตุ้นให้เขาคลานตามไป คุณแม่อาจไปซ่อนตัวอยู่หลังเฟอร์นิเจอร์และปล่อยให้เขาหาคุณให้เจอ
  2. หาของมาวางกีดขวางเป็นอุปสรรค คุณแม่ควรหาข้าวของมาวางให้เต็มห้อง เพื่อให้เขาได้ฝึกหัดการคลานข้าม คลานลอดหรือคลานอ้อมสิ่งกีดขวาง
เคล็ดลับเพื่อความปลอดภัย
        เมื่อ เจ้าตัวน้อยเริ่มคลานไปไหนมาไหนได้เองแล้ว สิ่งสำคัญก็คือ คุณแม่ต้องหาที่ที่ปลอดภัยให้เขาเล่น คุณแม่ควรป้องกันเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยทั่วทั้งบ้านและในสนาม ซึ่งจะเป็นการป้องกันลูกน้อยจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงเป็นการป้องกันข้าวของมีค่าภายในบ้านด้วย
        ลูกน้อยจะเริ่มต้น ปีนป่ายบันไดและเฟอร์นิเจอร์ในช่วงอายุเท่านี้ แต่โชคไม่ดีที่เด็กส่วนใหญ่มักจะเรียนรู้วิธีการปีนลงบันได คุณแม่อาจลองสอนลูกน้อยถึงวิธีการคลานลงบันไดอย่างปลอดภัย (คือใช้เท้าลงก่อน แล้วค่อยตามด้วยท้อง) แต่ยังคงต้องดูแลเขาอย่างใกล้ชิด วางประตูอันหนึ่งไว้บันไดขั้นบนสุด และวางอีกอันหนึ่งไว้บนขั้นที่ 3 หรือ 4 นับจากด้านล่าง (เพื่อว่าเขาจะได้ฝึกปีนป่ายบันไดสองสามขั้นจากด้านล่างสุดได้อย่างปลอดภัย) หากช่องระหว่างราวบันไดกว้างกว่า 3 นิ้ว คุณแม่ควรติดตั้ง Plexiglas หรือตาข่ายเพื่อความปลอดภัยเพื่อว่าลูกน้อยจะได้ไม่พลัดตกลงมา
         ความ สุขใจมากที่สุดอย่างหนึ่งของคนเป็นพ่อเป็นแม่คือ การได้เฝ้าดูลูกด้วยความประหลาดใจ ด้วยความหงุดหงิดใจและด้วยความสุขในขณะที่เขาก้าวข้ามผ่านพัฒนาการในขั้น ต่างๆ โดยในแต่ละขั้นนั้นเป็นความพิเศษและเป็นสิ่งน่ามหัศจรรย์ใจ ขอให้คุณพ่อคุณแม่เพลิดเพลินและทะนุถนอมช่วงเวลาแห่งการค้นพบนี้ไปพร้อมกับ ลูกน้อย!

ดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย


          กิจกรรม ดนตรีที่เหมาะกับเด็ก ได้แก่ กิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่นการร้องเพลง เล่นเกมประกอบเพลง และบรรเลงเครื่องดนตรีอย่างง่าย เป็นต้น  เด็ก จะสนุกกับกิจกรรมที่เขาได้ออกความคิด ได้เคลื่อนไหว ได้ใช้ภาษา บรรเลงเครื่องดนตรี และร้องเพลง กิจกรรมดนตรีจะเป็นพื้นฐาน ของเด็กในการที่จะพัฒนาการดนตรีของเขาให้ดีขึ้นในอนาคต
เด็กเรียนจบชั้นอนุบาลเขาควรมีความสามารถดังนี้
         -   ใช้เสียงร้องเพลงให้แตกต่างจากเสียงพูด
         -   ร้องเพลงได้ชัดเจนไม่เพี้ยน
         -   เขารู้จักจังหวะ เร็ว - ช้า พลังเสียง ดัง - เบา
การสอนดนตรี
         การ สอนดนตรี การศึกษาพัฒนาการเด็กตามองค์ประกอบสามประการของดนตรี ได้แก่ การเคลื่อนไหว การฟัง และการร้องเพลง จะช่วยให้ครูจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมแก่เด็ก  การเคลื่อนไหว(Moving) เด็ก เริ่มเคลื่อนไหวตั้งแต่เป็นทารก หรือแม้แต่ยังอยู่ในครรภ์มารดา เดือนแรกๆ เด็กจะเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อศรีษะก่อน หลังจากนั้นจึงจะเคลื่อนไหวไหล่ แขน ลำตัว และขา การพัฒนาการเคลื่อนไหวก็เริ่มจากกล้ามเนื้อใหญ่ไปกล้ามเนื้อเล็ก การควบคุมการเคลื่อนไหว เริ่มตั้งแต่ส่วนกลางของร่างกาย แล้วขยายออกไป เด็กยกศรีษะได้ก่อนนั่ง ยืนหรือเดิน แล้วพัฒนาถึงขั้นหยิบไม้บล็อกด้วยมือทั้งมือก่อนจะสามารถหยิบด้วยนิ้วหัวแม่ มือและนิ้วชี้


คุณค่าดนตรีต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย              
     ผลจากคุณค่าของเสียงดนตรีที่มีต่อการพัฒนาทางด้านจิตใจของเด็ก นักจิตวิทยาสังคมต่างให้การยอมรับและได้กล่าวถึงคุณค่าของดนตรีไว้ว่า
          1.  ดนตรีก่อให้เกิดความสว่างแก่จิตใจ ( Enlightenment)
          2.  ดนตรีก่อให้เกิดความสุข ( Well - Being)
          3.  ดนตรีก่อให้เกิดความผูกพันรักใคร่ ( Affection)
                     ดนตรีเป็นศาสตร์ หรือวิชาที่ทำให้เด็กระดับปฐมวัยได้รับการพัฒนาทุก ๆ ด้านของการเจริญเติบโต ไม่ว่าจะเป็นความรู้    ความจำ สังคม   ค่านิยม การคิดหาเหตุผล การสร้างสรรค์ การพัฒนากล้ามเนื้อ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า    การพัฒนาตนเองให้เข้ากับกลุ่ม    หรือสภาพแวดล้อมของสังคมต่าง ๆ ดนตรีจึงน่าจะเป็นวิชาเดียวเท่านั้นที่ทำให้เด็กสนุกสนานรื่นเริงอย่างเต็มที่    ทั้งการแสดงออกทางร่างกาย    ความคิด ตลอดจนพัฒนาการทางจิตใจ อารมณ์ และนอกจากนี้ ดนตรีนอกจากนี้ ดนตรียังสามารถนำไปสัมพันธ์  เชื่อมโยงหรือบูรณาการ    กับวิชาการ องค์ความรู้ และกิจกรรมต่าง ๆ แก่เด็กปฐมวัยอย่างสำคัญทีเดียว    ประการสำคัญดนตรีเป็นตัวจักรสำคัญที่ใช้ในการเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัย ดังนี้
ดนตรีช่วยเสริมสร้างพัฒนาด้านสุขภาพและพลานามัยของเด็กปฐมวัย
           การ เล่นเครื่องดนตรีหรือการร้องเพลงของเด็กนั้น น่าจะไม่เพียงแต่นั่งร้องหรือขับร้องเท่านั้น แต่เด็กทุกคนชอบ และพอใจที่จะทำท่าทางประกอบไปด้วย เนื่องจากเด็กในระดับปฐมวัยชอบเปลี่ยนอิริยาบทชอบการเคลื่อนไหว กระโดดโลดเต้นไปตามจังหวะท่วงทำนองของเพลง ดังนั้น เพลงและดนตรีจึงสามารถใช้เป็นสิ่งเร้าเพื่อพัฒนาการเคลื่อน ไหว ทั้งการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหวเพื่อดนตรี การเคลื่อนไหวเพื่อนาฎศิลป์ หรือการเต้นรำ รวมทั้งพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก ขน ขา ลำตัว นิ้วมือ และส่วนต่างๆ ของร่างกายตามจังหวะ ดนตรี จะเป็นการช่วยพัฒนาให้เด็กมีร่างกายแข็งแรงและพลานามัยที่สมบูรณ์ อันจะเป็นผลเกี่ยวโยงไปสู่จุดมุ่งหมายทาง การศึกษาที่มุ่งให้เด็กพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะด้านอื่น ๆ ซึ่งจะช่วย ให้เด็กปฐมวัยปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้อย่างมี ความสุข
ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ - จิตใจของเด็กปฐมวัย
           เพลง และดนตรีช่วยพัฒนาอารมณ์ของเด็กในแง่การให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน สดชื่น ร่าเริง บางครั้งเด็กปฐมวัยจะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง อาจทำให้เด็กเกิดความขัดแย้งหรือสับสน จึงทำให้เด็กมีปัญหาในด้านอารมณ์และจิตใจดนตรีจะสามารถช่วยบรรเทาหรือปรับ อารมณ์เด็กได้อย่างดี ดนตรีสามารถช่วยให้เด็กได้แสดงออกตามความต้องการความรู้สึกและความสามารถ ช่วยถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกของเด็ก ช่วยให้เด็กผ่อนคลายความเครียด ดังจะเห็นได้จากการ สังเกตเวลาเด็กร้องเพลงเล่นกัน เด็กจะมีหน้าตายิ้มแย้ม เบิกบาน แม้เด็กบางคนจะมีอารมณ์หงุดหงิด แต่เมื่อได้ร้องรำทำเพลงหรือได้ฟังเพลงสักครู่ก็จะค่อยคลายความไม่สบายใจลง เพราะความไพเราะของเพลง ลีลาและท่วงทำนองเพลงจะช่วยกล่อมอารมณ์ของเด็กให้เพลิดเพลินเป็นปกติได้ อย่างดี นอกจากนี้แล้ว ดนตรียังพัฒนาอารมณ์ของเด็ก เกิดความบันเทิงใจ เพลิดเพลิน เกิดจินตนาการกว้างไกล อารมณ์เยือกเย็น สุขุม รักสวยรักงาม เห็นคุณค่าของดนตรี รักในเสียงเพลง เสียงดนตรี จากการสัมผัสดนตรีอยู่ในโลกของดนตรี ไม่เกิดความเหงา เห็นเสียงเพลงเสียงดนตรีเป็นเพื่อน เด็กจะเกิดความนุ่มนวลอ่อนโยนขึ้น ไม่แข็งกระด้าง ไม่เห็นแก่ตัว มีอารมณ์สุนทรีย์ละเอียดอ่อน การพัฒนาทางอารมณ์ของเด็กจะได้รับการกล่อมเกลาไปทีละเล็กละน้อย จนมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม อันเป็นผลพวงจากดนตรีนั่นเอง
ดนตรีช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสังคมของเด็กปฐมวัย
           เป็นที่ทราบกันดีว่า เด็กปฐมวัยเป็นเด็กที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric) เด็ก จะสนใจตนเองมากกว่า ทำให้เด็กไม่ค่อยคิดถึงผู้อื่น สิ่งที่ควรแก้ไขให้รู้จักเอาใจผู้อื่น แบ่งปันสิ่งของ ร่วมเล่นกับเพื่อน รู้จักช่วยเพื่อน ๆ รู้จักใช้ถ้อยคำและกริยาอย่างเหมาะสม รู้จักรักและชื่นชมและให้อภัยต่อกัน ซึ่งสิ่งดังกล่าวสามารถใช้ดนตรีเป็นสื่อ เพราะดนตรีมีส่วนช่วยโน้มน้าวให้เด็กอยากเรียน อยากเล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน โดยที่ไม่ต้องมีการบังคับแต่ประการใด วิธีหนึ่งที่จะให้เด็กได้พัฒนาด้านสังคม คือ ให้เด็กได้ร่วมร้องเพลงหรือทำกิจกรรมทางดนตรี แสดงบทบาทตามดนตรี จนกระทั่งเด็กเกิดความซาบซึ้งและเห็นคุณค่า เด็กจะพยายามเลียนแบบ ทั้งนี้ ครูและผู้เกี่ยวข้องต้องคอยย้ำและเตือนอยู่เสมอ จนกระทั่งเด็กได้พัฒนาพฤติกรรมทางสังคม เด็กที่ได้รับการพัฒนาทางด้านสังคมโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ ผู้เขียนคิดว่า เด็กจะเรียนรู้ถึงความเป็นไปของสังคมใกล้ตัวและสังคมรอบข้าง เด็กจะเป็นที่รักของสมาชิกและสังคม อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข สามารถปรับ
ตัว ให้เข้ากับผู้อื่นได้ รู้จักพูดจา แสดงท่าทางเหมาะแก่กาลเทศะ ทำงานและเล่นกับผู้อื่นได้ดี ยอมรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดจากการใช้ดนตรีเป็นสื่อในการพัฒนาสังคมของเด็กปฐมวัยโดย แท้
           นอก จากนี้ดนตรีทำให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านสังคม อันเป็นผลจากการที่เสียงดนตรีมีส่วนช่วยในการปรับสภาพอารมณ์ของเด็กให้เกิด ความพึงพอใจ และความสุขสบาย ฉะนั้นการที่เด็กได้ฟังเสียงดนตรีที่มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เด็กจะเกิดความรู้สึกอบอุ่น มีความไว้วางใจในสิ่งแวดล้อม มีความสุขในการเรียน การทำงาน และสามารถที่จะปรับตัวในลักษณะที่เหมาะสมเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น จะสังเกตได้จากพฤติกรรมการแสดงออก ซึ่งเด็กจะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมากขึ้น มีพฤติกรรมทางสังคมที่ดี มีความสามัคคีร่วมมือในการทำกิจกรรม ซึ่งส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้เป็น อย่างดียิ่ง
ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย
           ดนตรี จะช่วยสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจ และมโนคติกับเด็กในเรื่องต่าง ๆ เช่น ธรรมชาติศึกษา คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา ฯลฯ และเป็นการช่วยที่เด็กพอใจ เด็กเข้าใจและจดจำได้เอง โดยไม่ต้องมีการบังคับ เช่น บทเพลงที่เกี่ยวกับลม ฝน แมลง นก ขณะที่เด็กร้องเพลงและทำท่าเคลื่อนไหวเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ อาทิ ลีลาเลียนแบบท่าทางของสัตว์ ท่าทางของคน ลีลาเลียนแบบการเคลื่อนไหวของเครื่องยนต์กลไกและเครื่องเล่น ลีลา เลียนแบบปรากฎการณ์ธรรมชาติ หรือลีลาตามจินตนการ ซึ่งเด็กจะมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้เพิ่มขึ้น หรือในขณะที่เด็กร้องเพลงนับกระต่าย นับลูกแมว นับนิ้ว เด็กก็จะได้รับความคิดในเรื่องการเพิ่ม - ลดของจำนวน การเรียงลำดับที่ ฯลฯ ซึ่งพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยจะเจริญงอกงามโดยอาศัยกิจกรรม
ต่าง ๆ โดยเฉพาะกิจกรรมทางดนตรีนับเป็นกิจกรรมที่มี ความสำคัญยิ่ง
           ดนตรี เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทสำคัญและเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาทางสติปัญญา ของเด็กปฐมวัย เพราะดนตรีเป็นสิ่งเร่งที่จะช่วยจูงใจให้เด็กเกิดความสบายใจ และมีความรู้สึกในทางที่ดี ซึ่งเป็นการช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมให้มีความน่าสนใจ ทำให้เด็กเกิดความตื่นตัวในการเรียนรู้ อันส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาทางสติปัญญาเป็นอย่างดี
           ประการ สำคัญ ดนตรีจัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ขาดเสียมิได้ต่อการพัฒนาทางสติปัญญา โดยเฉพาะด้านสมาธิ เนื่องจากดนตรีช่วยทำให้เด็กเกิดสมาธิในการทำกิจกรรมและสามารถทำงานได้นาน ขึ้น ทั้งนี้เพราะเสียงดนตรี นับเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่จะช่วยปรับสภาพอารมณ์และช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิด สมาธิ สามารถสร้างระเบียบและควบคุมตนเองให้เหมาะสมและไม่เกิดความเครียดจนต้องหยุด ชะงักการทำงาน ในขณะที่เด็กทำกิจกรรมสร้าง สรรค์ กิจกรรมการเล่นตามมุม กิจกรรมกลางแจ้ง เมื่อมีดนตรีเปิดเบา ๆ เด็กจะมีความพึงพอใจในการทำกิจกรรมท่ามกลางบรรยากาศที่มีเสียงเพลง และมีความตั้งใจพยายามทำกิจกรรม อีกทั้งยังพบว่าระยะเวลาในการทำกิจกรรมแต่ละประเภทจะยาวนานขึ้น นอกจากนี้เสียงดนตรียิ่งทำให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในขณะทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยดังนี้
           จากการทดลองของ เลิศ อานันทนะ ( 2518 : 219) พบ ว่า เสียงดนตรีสามรถเสริมสร้างความคิดจินตนาการ ช่วยกระตุ้นให้มีการแสดงออกในทางสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ระหว่างประสาทหู กล้ามเนื้อมือ ให้สอดคล้องกับการใช้ความคิด
           ฉะนั้น ดนตรีจึงเป็นสื่อกลางของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาศักยภาพ คุณค่าทางสมองและสติปัญญา เพราะดนตรีเป็นเรื่องของโสตศิลป์ที่จะพาเด็กไปสู่การรับรู้และเรียนรู้ เรื่องของศาสตร์วิทยาการ ต่าง ๆ ตลอดจนความงามอย่างมีสุนทรีย์ ในที่สุดเด็กก็มีการพัฒนาการทางสติปัญญาสูงขึ้น มีคุณภาพและประสิทธิภาพนั่นเอง
ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย
           ดนตรี ช่วยให้เด็กรู้จักฟังและแยกความแตกต่างของระดับเสียง สูง ต่ำ ดัง ค่อย หนัก เบา แหลม ทุ้ม รู้จักแยกอัตราจังหวะ ช้า ปานกลาง เร็ว ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการฟังคำพูดที่ประกอบไปด้วยเสียงหนัก - เบา และเสียงวรรณยุกต์ทางภาษาที่แตกต่างกัน ดนตรีจะช่วยพัฒนาทักษะทางด้านต่าง ๆ อาทิ การเขียน การพูด การอ่านออกเสียงของเด็ก เพราะในขณะที่เด็กร้องเพลง เด็กจะต้องรู้จักควบคุมการหายใจ รู้จักควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด รู้จักจังหวะ
ของ คำพูด รู้จักรูปประโยคที่ถูกต้อง และเด็กจะชอบเล่นกับคำพูด ซึ่งเป็นบทคล้องจองที่อยู่ในเพลงนั้น เนื่องจากเพลงทุกเพลงจะต้องมีเนื้อร้องที่สัมผัสกัน เช่น นกเอยนกน้อยน้อย เจ้าค่อยค่อยเคลื่อนคล้อยมา คำว่าน้อยสัมผัสกับค่อย ลักษณะของคำที่คล้องจองกันเช่นนี้ ทำให้เด็กสามารถจำเพลงได้ง่ายขึ้น สิ่งต่าง ๆ ดังที่ผู้เขียนกล่าวมาจะยังประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะด้านภาษาให้กับเด็ก ปฐมวัยได้เป็นอย่างดี


ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาลักษณะนิสัยที่ดีของเด็กปฐมวัย
           สิ่ง ที่พึงปรารถนาของทุกฝ่ายและทุกสังคม คือ การให้ลูกหลานมีลักษณะนิสัยที่ดีในการที่จะปลูกฝังและส่งเสริมพัฒนาลักษณะ นิสัยที่ดีให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น เราสามารถใช้เพลงหรือดนตรีช่วยได้เป็นอย่างมาก ถ้าเลือกเพลงได้เหมาะสม ในปัจจุบันนี้มีบทเพลงสำหรับเด็กมากมายซึ่งมีส่วนช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัย ที่ดีให้กับเด็ก จากการทดลองจัดทำเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย ว่าด้วยเพลงเกี่ยวกับกริยามารยาท การรักษาความสะอาด เพลงเกี่ยวกับธรรมชาติ สภาพแวดล้อม ความเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เพลงเกี่ยวกับการรักษาระเบียบวินัย ความสามัคคี ฯลฯ ซึ่งได้นำมาใช้สอนนักเรียนระดับปฐมวัย ปรากฏว่านักเรียนสนุกสนาน ให้ความสนใจเป็นอย่างดี เด็ก ๆ ที่ชอบทิ้งขยะไม่เป็นที่ หรือเล่นของเล่นแล้วไม่เก็บเข้าที่ ก็จะใช้เพลง อย่าทิ้งต้องเก็บ มาร้องให้เด็กฟังและสอนให้เด็กร้องตาม ปรากฎว่าเด็ก ๆ ปฏิบัติตามเพลงเป็นอย่างดี
ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาด้านระเบียบวินัยและความพร้อมเพรียงแก่เด็กปฐมวัย
           ดนตรี สามารถเป็นสื่อที่จะให้เด็กรักษาระเบียบวินัยและความพร้อมเพรียง โดยวิธีนี้เป็นสิ่งที่ทำได้โดยง่าย ซึ่งจะทำให้ครู - อาจารย์ ผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องเหน็ดเหนื่อย หรือ เคี่ยวเข็ญบังคับ เช่น การใช้สัญญาณที่เป็นเสียงเพลงหรือดนตรีกับเด็กว่า ถ้าได้ยินเสียงสัญญาณนี้ทุกคนจะต้องมาเข้าแถว สัญญาณเสียงนี้ทุกคนจะต้องหยุดเล่น สัญญาณนอน สัญญาณรับประทานอาหาร สัญญาณดื่มน้ำ ฯลฯ ซึ่งอาจใช้สัญญาณเสียงที่เป็นเสียงดนตรีง่าย ๆ เช่น นกหวีดเป่าเป็นจังหวะ เสียงกลอง เสียงกรับ เสียงฉิ่ง - ฉับ เสียงกระดิ่งสั่น เป็นจังหวะหรือเสียงเพลงใดเพลงหนึ่ง ซึ่งถ้าเด็กเข้าใจและเคยชินกับสัญญาณเสียงทางดนตรีเหล่านี้ เด็กจะปฏิบัติทุกอย่างได้ดีมีความพร้อมเพรียงกัน โดยที่ครูหรือผู้อ่านเองไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยกับการที่จะต้องคอยตะโกนบอกเด็ก อยู่ทุกระยะ ฉะนั้นดนตรีจึงเป็นสื่อสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีส่วนช่วยพัฒนาระเบียบวินัย รวมถึงความพร้อมเพรียงของเด็กปฐมวัยได้อีกทางหนึ่ง
ดนตรีช่วยในการปลูกฝังความรักชาติบ้านเมืองของเด็กปฐมวัย
           การ ปลูกฝังให้เด็กเกิดความรักชาติบ้านเมืองเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องแรกอยู่ใน กิจกรรมต่าง ๆ สิ่งที่จะเป็นสื่อที่ดีที่สุด คือ การใช้เพลงหรือดนตรี ทำนองและจังหวะต่าง ๆ เป็นเครื่องช่วยกระตุ้น ส่งเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลงที่มีจังหวะเร้าใจ คึกคัก สนุกสนาน มีความหมายที่เกี่ยวกับความรักชาติ ความเสียสละเพื่อชาติของวีรชนบรรพบุรุษ ตลอดจนตัวอย่างที่ดีงามของผู้เสียสละ จะเป็นการกระตุ้นให้เด็กเห็นคุณค่าและความสำคัญของประเทศชาติ เห็นความสำคัญของบรรพบุรุษที่ได้ช่วยกันป้องกันประเทศชาติ สิ่งเหล่านี้ จะเป็นตัวปลูกฝังแทรกซึมความรักชาติบ้านเมือง ความภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิดต่อไปในอนาคต โดยการใช้ดนตรีเป็นสื่อนำทางได้เป็นอย่างดี
ดนตรีช่วยลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กปฐมวัย
           เพลง และดนตรีจะช่วยลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาบางอย่างของเด็กปฐมวัย เช่น เด็กที่ไม่กล้าแสดงออก ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เด็กที่ขี้อาย มีความก้าวร้าว ฯลฯ เราสามารถนำกิจกรรมทางดนตรีเข้ามาช่วยปรับ หรือแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
           จะ เห็นได้ว่าในปัจจุบันมีการนำกิจกรรมทางดนตรีมาสร้างสรรค์ บรรณาการ และประยุกต์ใช้เป็นสื่อในการพัฒนาการและช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของเด็ก จากประสบการณ์ผู้เขียนคิดว่าเด็กในระดับปฐมวัยจะมีปัญหา ข้อบกพร่องและความพิการด้านต่าง ๆ แตกต่างกันไป ซึ่งปัญหาข้อบกพร่องและความพิการทุกอย่างสามารถที่จะนำกิจกรรมทางดนตรีเข้า บำบัดแก้ไขได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มีความสนใจต่ำ เด็กที่มีสมาธิสั้น เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด มีปัญหาเกี่ยวกับทักษะในการเคลื่อนไหว การปรับตัว ความคิดและจินตนาการ สายตา การอยู่ร่วมกัน การรักษาหรือลักษณะของต่าง ๆ ความซาบซึ้ง ความสามารถ ระดับความสมหวัง ประการที่สำคัญดนตรีสามารถนำไปใช้บำบัดการที่เด็กพิการ ทั้งด้านการพูด ตา หู ร่างกาย สมอง หรือแม้กระทั่งเด็กที่มีปัญหาหรือความบกพร่องทางอารมณ์ ซึ่งผู้ที่นำกิจกรรมทางดนตรีมาใช้เชื่อกันว่า อิทธิพลหรืออำนาจของเสียงเพลงหรือดนตรีจะสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ คุณค่าและเกิดอารมณ์แก่เด็กในการที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ในตัวเด็กได้
           ประการ สำคัญในการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ดนตรีสามารถนำมาปรับพฤติกรรม หรือเสริมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งนักวิชาการทางดนตรี เรียกกันว่าดนตรีบำบัด อันเป็นวิชาการแขนงหนึ่งที่มีประโยชน์มหาศาลต่อเด็กโดยการประยุกต์กิจกรรม ทางดนตรีหรือเพลงที่เลือกสรรเป็นอย่างดีมาใช้กับเด็ก โดยมุ่งที่จะให้กิจกรรมทางดนตรีเป็นตัวช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก ช่วยแก้ไขความผิดปกติ ความบกพร่องของเด็กในระหว่างที่มารับการบำบัดหรือศึกษาฟื้นฟู พัฒนาสมรรถภาพ ซึ่งเด็กเหล่านี้อาจเป็นเด็กปัญญาเลิศ เด็กที่มีปัญหาทางการอ่าน เด็กปัญญาอ่อน เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ เด็กที่มีความบกพร่องด้านต่าง ๆ เด็กพิการ หรือเด็กพิเศษ ฯลฯ โดยการบำบัดด้วยดนตรีเป็นการเริ่มที่ตัวเด็กไม่ได้เริ่มจากดนตรี โดยการใช้เด็กเป็นศูนย์กลางของการบำบัด นักดนตรี นักดนตรีบำบัดจะวินิจฉัยปัญหาของเด็ก แล้วจึงวางแผนจัดกิจกรรมทางดนตรีให้สอดคล้องกับความต้องการ ความบกพร่องหรือปัญหาของเด็กแต่ละคนเป็นราย ๆ ไป การบำบัดด้วยดนตรีของเด็กพิเศษเหล่านี้ อาจทำเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เด็กมีพัฒนาการที่พึงประสงค์ สิ่งสำคัญของการบำบัดดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย จะเน้นการบำบัดดนตรีเป็นรายบุคคล ซึ่งจะเริ่มที่ปัญหาและสภาพข้อบกพร่อง ความต้องการพิเศษของเด็กแต่ละคนๆ การบำบัดด้วยดนตรีนี้มีจุดมุ่งหมายคล้ายกับการบำบัดรักษาด้วยวิธีการหรือ เครื่องมืออื่นๆ โดยมุ่งที่จะใช้กิจกรรมทางดนตรีเป็นสื่อกระตุ้นหรือเร้าให้เด็กได้มี พัฒนาการ ประสบความสำเร็จในการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งยังส่งเสริมให้เด็กเกิดพฤติกรรมใหม่ อันเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ เป็นสิ่งปกติในชีวิตและวัยของเด็กแต่ละช่วงให้คงอยู่แลพัฒนาการต่อไป


ดนตรีเป็นสื่อสร้างเสริมพัฒนาการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย
           วิธี การหรือสื่อหนึ่ง ที่จะมีส่วนทำให้เด็กในระดับปฐมวัยเกิดความสนใจ สนุกสนาน เห็นคุณค่าตั้งใจและติดตามการเรียนการสอนวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นสาระเนื้อหาตามแผนการจัดประสบการณ์ ทั้งกิจกรรมที่ปรากฎในตารางกิจกรรมประจำวันอันประกอบด้วย การเคลื่อนไหวและจังหวะกิจกรรมสร้างสรรค์ (ศิลปศึกษา) การเล่นตามมุม กิจกรรมในวงกลม การเล่นกลางแจ้ง เกมการศึกษา กิจกรรมที่ไม่ปรากฎในตารางกิจกรรมประจำวัน อาทิ การเล่านิทานการร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง การจัดทัศนศึกษา การปฏิบัติการทดลอง การเตรียมเด็กให้สงบ ( การเก็บเด็ก) รวมทั้งแผนการจัดประสบการณ์ทั้ง 16 สัปดาห์ ในระดับปฐมวัยศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ( กระทรวงศึกษาธิการ. 2536 : 335 หน้า) ซึ่งเราสามารถนำกิจกรรมดนตรี เข้าแทรกหรือบูรณาการแผนการจัดประสบการณ์ดังกล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดี
           การ นำดนตรีมาใช้เป็นส่วนประกอบในกิจกรรมการเรียนการสอน บทประพันธ์เพลงที่มีความไพเราะ มีรูปแบบทำนองลีลาสมบูรณ์ จะให้ความซาบซึ้งและดำรงไว้ซึ่งคุณค่าทางอารมณ์ สามารถจินตนาการเป็นภาพที่มีความหมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เด็กในแง่ที่จะพัฒนาจิตใจให้ละเอียดอ่อน ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ เรื่องของการเรียนไม่ว่าจะเป็นการเรียนวิชาดนตรีหรือวิชาอื่น ๆ ก็ตาม การเรียนรู้ที่สมบูรณ์นั้น ควรจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันได้ในรายวิชาต่าง
ๆ ปกติคนเราจะมีพื้นฐานดนตรีประทับในใจอยู่แล้วเป็นทุน จากสิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติ ดังนั้น จึงสามารถใช้ดนตรีเป็นสื่อเชื่อมโยงได้ โครงสร้างของวิชาดนตรีกับวิชาอื่น ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกัน จะเป็นส่วนช่วยให้สามารถจัดระบบที่เหมาะสม
           การ นำกิจกรรมดนตรีมาใช้ประกอบการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับบทเรียนสำหรับเด็ก ปฐมวัยนั้น มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เด็กเรียนด้วยความสนุกเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายวิชาที่เรียน เพราะเป็นการได้รับความรู้จากบทเรียน คละเคล้าไปกับการเล่นโดยไม่รู้ตัว และจะช่วยส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ความจำของเด็กได้ดีขึ้น กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ดนตรีอาจทำได้ดังนี้
          1. ใช้ ดนตรีเป็นเนื้อหาในการเรียนแล้วโยงไปหาวิชาอื่น ๆ เช่น ถ้าเพลงใดมีเนื้อหาที่บอกเรื่องราวต่าง ๆ สมบูรณ์ในตัว ก็นำเพลงนั้นมาให้เด็กร้องและอธิบายข้อความตามเนื้อเพลง แล้วจึงโยงไปถึงการเล่น การเล่าเรื่อง การเล่นนิทาน การฝึกทักษะด้านอื่น ๆ
          2. ใช้ ดนตรีเป็นส่วนประกอบให้สัมพันธ์กับบทเรียน คือ เรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วนำเพลงที่สัมพันธ์กับบทเรียนเข้ามาแทรก ซึ่งการแทรกนี้อาจทำได้หลายทาง เช่น ใช้ดนตรีเป็นการนำบทเรียน เพื่อที่จะเร้าให้เด็กเกิดความสนใจและกระตือรือร้นอยากที่จะเรียน ควรใช้เพลงที่เกี่ยวกับการให้เด็กคิดหรือให้ทาย เป็นต้นใช้ดนตรีแทรกตอนกลางบทเรียน บางครั้งบทเรียนที่ค่อนข้างยาวเกินไป อาจทำให้เด็กเบื่อและมีสมาธิสั้น อาจใช้เพลงแทรกเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ และเพื่อให้ เด็กเรียนด้วยความสนุกสนานยิ่งขึ้น ซึ่งเพลงที่จะนำมาร้องแทรกตอนกลางของบทเรียนนี้ ควรเป็นเพลงที่เด็กร้องเป็นมาก่อน หรือเคยได้ฟังมาบ้างและเป็นเพลงที่ร้องง่าย ๆ ฉะนั้น ครูจะต้องเริ่มสอนร้องเพลงใหม่ ทำให้ความสนใจของเด็กมาอยู่ที่ดนตรีหมด โดยที่ยังสอนบทเรียนไม่จบ นอกจากนี้ การนำดนตรีมาแทรกในบทเรียนยังช่วยได้มากในกรณีที่ครูต้องการเน้นเนื้อหาให้ เด็กเข้าใจ และเห็นความสำคัญยิ่งขึ้น
          3. ใช้ ดนตรีหรือเพลงร้องภายหลังบทเรียน ซึ่งเป็นการทบทวนบทเรียนไปด้วย เช่น เมื่อเด็กเรียนธรรมชาติศึกษาเรื่องสัตว์ต่าง ๆ ได้หัดฟังและเลียนสียงร้องของสัตว์และชนิดของสัตว์ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้ว เพื่อเป็นการทบทวนความจำให้แม่นยำยิ่งขึ้นว่าสัตว์ใดร้องอย่างใด ก็นำกิจกรรมทางดนตรีมาให้เด็กร้องหรือเล่นเป็นการสรุปบทเรียนได้อีกทางหนึ่ง
การ นำกิจกรรมทางดนตรีมาประกอบการเรียนการสอนเพื่อเป็นสื่อสร้างเสริมพัฒนาการ เรียนการสอนของเด็กปฐมวัย สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงรายวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปศึกษา ธรรมชาติ ฯลฯ การใช้ดนตรีเข้าช่วยจะทำให้เด็กเกิดความสุกสนาน สร้างเสริมคุณค่าและพัฒนาการทางอารมณ์ สามารถอำนวยประโยชน์ในกิจกรรมการเรียนการสอน และเป็นประโยชน์สำหรับเด็กปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้อง


ดนตรีกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย             
                เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 5 ครึ่ง 6 ปี ถึง 6 ปี เด็กในช่วงวัยนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเริ่มต้นพัฒนารากฐานทางสมอง ให้มีศักยภาพสูงสุด ถือเป็นโอกาสทองที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ เพื่อให้พวกเขามีความเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
                หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มุ่งส่งเสริมให้เด็กที่มีอายุแรกเกิดถึง 5 ปี มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย เด็กอายุ 3-5 ปี ให้มีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ 10 ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 หลัก สูตรเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาและเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์แก่ผู้ เรียน โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่เป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ดังนี้     
       1.  ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
       2.  กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว ประสานสัมพันธ์กัน
       3.  มีสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุข
       4.  มีคุณธรรมและจริยธรรม
       5.  ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
       6.  ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะกับวัย
       7.  รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม 8.อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
        9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะกับวัย
       10. มีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
       11. มีจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์
       12.  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีทักษะในการแสวงหาความรู้
                จะ เห็นได้ว่าในปัจจุบันมีการนำกิจกรรมทางดนตรีมาสร้างสรรค์ บรรณาการและประยุกต์ใช้เป็นสื่อในการพัฒนาการและช่วยแก้ ไขข้อบกพร่องของเด็ก จากประสบการณ์ผู้เขียนคิดว่าเด็กในระดับปฐมวัยจะมีปัญหา ข้อบกพร่องและความพิการด้านต่างๆแตกต่างกันไป ซึ่งข้อบกพร่องและความพิการทุกอย่างสามารถที่จะนำกิจกรรมทางดนตรีเข้ามา บำบัด แก้ไขได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มีความสนใจต่ำ เด็กที่มีสมาธิสั้น เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด ปัญหาทักษะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การปรับตัว ความคิดและจินตนาการ สายตา การอยู่ร่วมกัน ความสามารถ ประการสำคัญดนตรีสามารถนำไปใช้บำบัดเด็กพิการด้านการพูด ตา หู ร่างกาย สมองหรือแม้กระทั่งเด็กที่มีปัญหาหรือความบกพร่องทางอารมณ์ ซึ่งผู้ที่นำกิจกรรมทางดนตรีมาใช้เชื่อว่าอิทธิพลหรืออำนาจของเสียงบทเพลง หรือดนตรี สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ คุณค่าและเกิดอารมณ์แก่เด็กในการที่จะแก้ปัญหาต่างๆในตัวเด็กได้
                ประการ สำคัญในการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ดนตรีสามารถนำมาปรับพฤติกรรมหรือเสริมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการ พิเศษ ซึ่งนักวิชาการทางดนตรี เรียกว่า ดนตรีบำบัด อันเป็นวิชาการแขนงหนึ่งที่มีประโยชน์มหาศาลต่อเด็ก โดยการประยุกต์กิจกรรมทางดนตรีเป็นตัวช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆของ เด็ก ช่วยแก้ไขความผิดปกติ ความบกพร่องของเด็ก ในระหว่างการมารับการบำบัดหรือฟื้นฟู พัฒนาสมรรถภาพ ซึ่งเด็กเหล่านี้อาจเป็นเด็กปัญญาเลิศ เด็กที่มีปัญหาทางการอ่าน เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่างๆ เด็กพิการหรือเด็กพิการซ้อน โดยการบำบัดด้วยดนตรีเป็นการเริ่มที่ตัวเด็กไม่ใช่ดนตรี โดยการใช้เด็กเป็นศูนย์กลางของการบำบัด นักดนตรี นักดนตรีบำบัด จะวินิจฉัยปัญหาของเด็ก แล้วจึงวางแผนจัดกิจกรรมทางดนตรี ให้สอดคล้องกับความต้องการ ความบกพร่องหรือปัญหาของเด็กแต่ละคนเป็นรายๆไป การบำบัดด้วยดนตรีของเด็กพิเศษเหล่านี้ อาจทำเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่พึงประสงค์ สิ่งสำคัญของการบำบัดดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย จะเป็นการบำบัดเป็นรายบุคคล ซึ่งจะเริ่มที่ปัญหาและสภาพข้อบกพร่อง  ความต้องการ พิเศษของเด็กแต่ละคน การบำบัดด้วยดนตรีนี้มีจุดมุ่งหมายคล้ายกับการบัดรักษาด้วยวิธีการหรือ เครื่องมืออื่นๆ โดยมุ่งที่จะใช้กิจกรรมทางดนตรี เป็นสิ่งกระตุ้นให้เด็กได้มีพัฒนาการ ประสบความสำเร็จในการปรับพฤติกรรมต่างๆ ทั้งยังส่งเสริมให้เด็กเกิดพฤติกรรมใหม่ อันเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ เป็นสิ่งปกติในชีวิตและวัยของเด็กแต่ละชีวิตให้คงอยู่และพัฒนาการต่อไป
                การ นำกิจกรรมดนตรีมาใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับบทเรียน สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กเรียนด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายวิชาที่เรียนเพราะเป็นการได้รับความรู้จากบทเรียน คละเคล้าไปกับการเล่น โดยไม่รู้ตัว และจะช่วยส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ความจำของเด็กได้ดีขึ้น กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ดนตรีอาจทำได้ดังนี้
                                1. ใช้ ดนตรีเป็นเนื้อหาในการเรียนแล้วโยงไปหาวิชาอื่นๆ เช่น ถ้าเพลงใดมีเนื้อหาที่บอกเรื่องราวต่างๆ สมบูรณ์ในตัว ก็นำเพลงนั้นมาให้เด็กร้องและอธิบายข้อความตามเนื้อเพลง แล้วจึงโยงไปถึงการเล่น การเล่าเรื่อง การเล่านิทาน การฝึกทักษะด้านต่างๆ
                                2. ใช้ ดนตรีเป็นสื่อประกอบให้สัมพันธ์กับบทเรียน คือ เรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วนำเพลงที่สัมพันธ์กับบทเรียนเข้ามาแทรก ซึ่งการแทรกนี้อาจทำได้หลายทาง เช่น ใช้ดนตรีเป็นการนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อที่จะเร้าให้เด็กเกิดความสนใจและ กระตือรือร้นอยากที่จะเรียน ควรใช้เพลงที่เกี่ยวกับการให้เด็กเกิดความคิดหรือให้ทายเป็นต้น ใช้ดนตรีแทรกตอนกลางบทเรียน บางครั้งบทเรียนที่ค่อนข้างยาวเกินไป อาจทำให้เด็กเบื่อและมีสมาธิสั้น อาจใช้เพลง  แทรก เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ และเพื่อให้เด็กเรียนด้วยความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นครูจะต้องเริ่มสอนร้องเพลงใหม่ ทำให้ความสนใจของเด็กมาอยู่ที่ดนตรี การนำดนตรีมาแทรกในบทเรียนยังช่วยได้มากในกรณีที่ครูต้องการเน้นเนื้อหาให้ เด็กเข้าใจและเกินความสำคัญยิ่งขึ้น
                                3. ใช้ ดนตรีหรือเพลงร้องหลังบทเรียน ซึ่งเป็นการทบทวนบทเรียนไปด้วย เช่น เมื่อเด็กเรียนธรรมชาติศึกษาเรื่องสัตว์ต่างๆ ให้หัดฟังและเลียนเลียนเสียงร้องของสัตว์และชนิดของสัตว์ซึ่งแตกต่างกันไป แล้ว เพื่อเป็นการทบทวนความจำให้แม่นยำยิ่งขึ้นว่าสัตว์ใดร้องอย่างไร ก็นำกิจกรรมทางดนตรีมาให้เด็กร้องหรือเล่นเป็นการสรุปบทเรียนได้อีกทางหนึ่ง
                การ นำกิจกรรมทางดนตรีมาประกอบการเรียนการสอนเพื่อเป็นสื่อสร้างเสริมพัฒนาการ เรียนการสอนของเด็กปฐมวัย สามารถสร้างความสัมพันธ์ เชื่อมโยงราชวิชาต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาษา สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปศึกษา ธรรมชาติ ฯลฯ การใช้ดนตรีเข้าช่วยจะทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน สร้างเสริมคุณค่าและพัฒนาการทางอารมณ์ สามารถอำนวยประโยชน์ในกิจกรรมการเรียนการสอนและเป็นประโยชน์สำหรับเด็ก ปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้อง
                                                 
       ดนตรี มีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนเมื่อเติบโตขึ้นถึงวัยเข้าเรียนในระหว่างที่อยู่โรงเรียน ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาวิชาที่เรียน และ เป็นส่วนประกอบของกิจกรรมต่างๆ
ดนตรี สำหรับปฐมวัยนั้น มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากดนตรีในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา เพราะดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง ดนตรีที่เด็กแสดงออกตามความพร้อม การรับรู้และ ความสนใจของเด็กแต่ละคน การแสดงออกของเด็กจะอาศัยสื่อบางอย่างได้แก่ เสียงร้อง อุปกรณ์เครื่องดนตรี หรือ การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งการแสดงออกทางดนตรีของเด็กจะแสดงออกหลายรูปแบบเช่น การร้องเพลง การเคลื่อนไหวตามจังหวะตามทำนอง และตามเนื้อร้องของเพลง รวมทั้งการเล่นอุปกรณ์เครื่องดนตรี และการสร้างสรรค์ทางดนตรี ครูเป็นบุคคลสำคัญและมีอิทธิพลในการช่วยเหลือเด็กให้เกิดความรักทางด้าน ดนตรีมีประสบการณ์ทางด้านดนตรีมีความเจริญงอกงามทางดนตรี มีการพัฒนาการทางดนตรีและมีพฤติกรรมใหม่เกิดขึ้น
อันเป็นผลจากการเรียนรู้ ซึ่งผลการเรียนรู้นี้ช่วยให้เด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆคือ
        1.  มีทักษะทางด้านดนตรี
        2.  มีความชื่นชมและรักในดนตรี
        3.  มีความรู้สึกกล้าอยากทดลองสิ่งใหม่
       การที่เด็กสามารถพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านดนตรี ขึ้นอยู่กับ สติปัญญา อารมณ์ และ วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคน ซึ่งมีความแตกต่างกันไป  ครูต้องนำกระบวนการเรียนรู้มาใช้ คือ
        1.  ครูควรเสริมแรงให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจเมื่อเด็กประสบความสำเร็จทางดนตรี เพราะจะทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในการกระทำครั้ง ต่อไป
        2.  ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กแสดงอารมณ์ผ่านทางเสียงดนตรี และ เพลง ให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี
        3.  ครูควรใช้เทคนิคการสอนแบบต่างๆ และนำอุปกรณ์สร้างสรรค์ต่างๆ เช่น หุ่นมือ หุ่นชัก และอุปกรณ์ดนตรีหลากหลายมาใช้เป็นตัวช่วยให้
เด็กเกิดการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีมากขึ้น
วุฒิภาวะของเด็ก
ในการจัดการเรียนการสอนดนตรีแก่เด็กสิ่งที่สำคัญที่ครูต้องคำนึงถึงคือวุฒิภาวะของเด็กด้านต่างๆ คือ
        1. ด้านร่างกาย
        2. ด้านอารมณ์
        3. ด้านสังคม
        4. ด้านสติปัญญา
          ดังนั้นดนตรีเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของเด็กให้มีการพัฒนาทั้ง 4 ด้านดีขึ้น
รูปแบบของกิจกรรมดนตรีที่ผู้ปกครอง ครู ควรจัดให้เด็กได้มีโอกาสปฏิบัติ คือ
       1. ประสบการณ์ด้านการฟังเพลงให้เด็กได้มีโอกาสฟังเพลงรอบๆตัว อย่าให้ดังไปหรือเบาไป เช่น การตักน้ำ เปิดขวด เทน้ำลงถัง เป็นต้น
       2. ประสบการณ์ด้านการร้องเพลง ทำให้เด็กเกิดความสนใจ เกิดเจตคติที่ดีต่อดนตรี เพลงที่เด็กฟังต้องมีการเชิญชวนไม่กดดัน และเด็กมีส่วนร่วม
       3. ประสบการณ์ด้านการเคลื่อนไหวและจังหวะต้องค่อยๆสอนให้เด็กรู้จังหวะ การเคาะจังหวะช้า,เร็ว การเดินประกอบจังหวะช้า,เร็ว
      4. ประสบการณ์ด้านการดนตรี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สอนในห้องเรียนและสอนตัวต่อตัว
      5. ประสบการณ์ด้านการสร้างสรรค์ดนตรี สำรวจเสียงในห้องเรียน เปรียบเทียบเครื่องดนตรี
      6. ประสบการณ์ด้านการอ่านสัญลักษณ์ทางดนตรีหรือโน้ตเพลง กิจกรรมไม่ต้องชี้ให้จำแต่สอนไปเรื่อยๆประมาณ 7-8 ครั้ง เด็กจะจำจังหวะและ ตัวโน๊ตได้
หลักการสอนดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย ควรครอบคลุมถึงสิ่งต่อไปนี้
      1. ครูควรสอนเพลงที่หลากหลายแก่เด็กเพลงที่มีความหมายที่ดีเช่นเพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงชาติ
      2. ครูควรสอนเด็กๆให้รู้จักจังหวะที่ถูกต้อง เช่น ช้า, เร็ว , ปรบมือ, เคาะจังหวะ
      3. ให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในลักษณะผู้นำ - ผู้ตาม
     4. เด็กเข้าใจลักษณะองค์ประกอบดนตรี ทำนอง
      5. เด็กสามารถแยกแยะเสียงสูงต่ำ
      6. เด็กมีประสบการณ์สร้างสรรค์ดนตรีมากที่สุด
      7. เด็กมีความสุขในการเรียนดนตรี


การปลูกฝังทัศนคติดนตรีกับเด็กปฐมวัย
        การ จัดกิจกรรมดนตรีในระดับปฐมวัยนั้น ตัวเด็กเองจะได้พัฒนาทางทัศนคติที่ดีควบคู่ไปด้วย และกระบวนการเรียนการสอน เมื่อเด็กเริ่มการเรียนรู้สาระดนตรี เด็กจะเริ่มสะสมประสบการณ์ต่างๆ รวมทั้งทัศนคติซึ่งเป็นเรื่องทางจิตใจ ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่ผู้สอนควรมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอนและ จัดการเรียนการสอนให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่พึงพอใจเพื่อเด็กเกิดความสนใจ ความชอบ ความรักในดนตรี สำหลับเด็กวัยนี้ควรปลูกฝังทัศนคติที่จัดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มเรียนดนตรี ถ้าเด็กมีทัศนคติต่อดนตรีแล้ว ในการศึกษาดนตรีต่อๆไป เด็กย่อมจะมีความสนใจอยากศึกษาด้านสาระดนตรี ดังนั้นครูผู้สอนจึงพยายามทำให้เด็กเพลิดเพลิน สนุกสนานไปกับดนตรีเสมอ