วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

เพลิดเพลินกับเสียงเพลงและดนตรี


ตอนนี้เมื่อลูกน้อยของคุณได้ยินเสียงจากประสาทหูเทียมแล้ว ไม่ว่าจะข้างเดียวหรือสองข้างก็ตาม คุณคงจะตื่นเต้นที่จะได้เริ่มทำกิจกรรมที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านทักษะ การฟัง การพูดและภาษาให้กับลูก ผู้ปกครองหลายท่านมักจะถามว่า “ฉันจะทำอะไรเพื่อช่วยให้ลูกได้เรียนรู้การฟังและเพลิดเพลินกับเสียงต่างๆ ได้บ้าง?” บ้างก็ถามว่า “ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของฉันได้ยินเสียงหรือจะจำการตอบสนองของเขาได้ อย่างไร?” กิจกรรมทางดนตรี เช่น การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง ตามจังหวะ และการเล่นนิ้วมือ เป็นเกมที่สนุกสนานและเหมาะสำหรับเล่นกับลูกตั้งแต่แรกเริ่ม กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้ลูกของคุณฟัง มีส่วนร่วม เปล่งเสียงบ่อยขึ้น ให้ความสนใจ และเลียนแบบเสียงและท่าทาง

ทารกทุกคนจะเลียนแบบท่าทางจากจังหวะหรือเพลงได้ก่อนการเลียนเสียงและคำ คุณสามารถเลือกเพลงหรือกิจกรรมที่คุณจะได้จากตอนเป็นเด็กได้ตามใจชอบ ’ “’”โดยไม่ต้องกังวลว่าจะร้องเพราะหรือเปล่า ’เพราะลูกของคุณไม่สนใจเรื่องนั้นหรอก การที่คุณได้ทำกิจกรรมร่วมกันจะเป็นความสุขที่คุ้มค่าแก่ความพยายาม เปิดเพลงหรือจังหวะเดิมซ้ำๆ แล้วคุณอาจได้รู้ว่าเพลงไหนเป็นเพลงโปรดของลูกคุณ’

หลังจากที่เด็กคุ้นเคยกับเสียงเพลง จังหวะ และการเล่นนิ้วแล้ว ลองตัดท่าทางออกไปและเปิดเสียงเพลงหรือให้จังหวะอย่างเดียว ลูกของคุณแสดงท่าทางที่เหมาะสมเฉพาะเวลาได้ยินเสียงเพลงหรือการให้จังหวะ อย่างเดียวหรือเปล่า? ถ้าไม่ ให้มองตาเด็กเพื่อทำสัญญาณแสดงการฟัง ถ้าจำเป็นให้แสดงสัญญาณอีกครั้งโดยให้ท่าทางประกอบสักท่าสองท่า ทักษะนี้อาจพัฒนาได้ก่อนที่คุณจะได้ยินลูกพยายาม“ร้องตาม”เสียอีก

เกมและของเล่นที่มีเสียงหรือดนตรี เป็นอีกทางหนึ่งที่จะกระตุ้น’ทักษะการฟังและการรับรู้เสียงเบื้องต้นของลูก คุณได้ ทั้งนี้เรามีวีดิโอคลิปสั้นๆของคุณแม่ ลูกน้อยของเธอ และผู้เชี่ยวชาญการช่วยเหลือเด็กเล็กให้ชมเป็นตัวอย่าง

วีดิโอคลิป

วีดิโอคลิปสั้นๆสามเรื่องได้แก่ “แมงมุมลายตัวนั้น (Itsy Bitsy Spider)” “เพลงยามเช้า (The Morning Song)”และ “ลูกลิงห้าตัว (Five Little Monkeys)” คุณแม่รายนี้เลือกที่จะให้ลูกของเธอนั่งบนเก้าอี้สูงสำหรับเด็กเพื่อทำ กิจกรรม วิธีนี้ช่วยให้เด็กอยู่กับที่และดึงความสนใจของเด็กได้ บ้างเลือกที่จะให้ลูกนั่งบนตัก ที่โต๊ะสำหรับเด็ก’ หรือนั่งด้วยกันบนพื้น คุณแม่เลือกที่จะนั่งข้างๆ ลูกซึ่งเป็นเทคนิคการฟังที่ให้ผลดีมากกว่าการนั่งตรงข้ามกัน อย่างไรก็ตามคุณควรเลือกวิธีที่รู้สึกสบายและเป็นธรรมชาติที่สุดสำหรับคุณและลูก
การแสดงสัญญาณการฟัง เช่น การชี้ไปที่หูของลูก’ จะช่วยสร้างเสริมกิจวัตรการฟังและบอกให้ลูกรู้ว่าถึงเวลาต้องฟังแล้ว
การเว้นช่วงเพื่อรอปฏิกิริยาหรือการตอบสนองจากเด็กนับเป็นอีกกลยุทธ์ที่สำคัญในการกระตุ้นการตอบสนองให้เพิ่มขึ้น
การที่ผู้ปกครองเลีัยนแบบท่าทางหรือเสียงของเด็ก’ สามารถช่วยกระตุ้นให้ลูกแสดงพฤติกรรมที่ต้องการได้

การตอบสนองของทารก

โดยทั่วไปเด็กทารกมักจะเริ่มตอบสนองต่อเสียงและเรียนรู้ที่จะจดจำ เสียงบางอย่างในช่วงสองสามสัปดาห์แรกของการใช้ประสาทหูเทียม ประเภทของการตอบสนองที่อาจเกิดขึ้นได้แก่:
  • การโยกตัวตามจังหวะหรือเสียงเพลง
  • หยุดทำิกิจกรรมหรือเงียบไป
  • ตาเบิกกว้าง/ตาเป็นประกาย
  • ยิ้ม
  • ทำกิจกรรมมากขึ้น
  • จ้องตาไม่กระพริบ
  • เลียนแบบการเคลื่อนไหวบางอย่าง (ท่าทาง)
  • ออกเสียงดังขึ้น
  • เด็กใช้ “สัญญาณการฟัง” กับพ่อแม่ (ชี้ไปที่หูของเธอ)
  • เด็กแสดงอาการบ่งบอกว่าเสียงหายไปเมื่อคอยล์หลุดออกจากหู (ชี้ไปที่หู)
     
คราวนี้ลองดูวีดิโอคลิปกัน คุณเห็นการตอบสนองใดบ้าง? คุณแม่ในเรื่องทำอะไร?
คุณสังเกตเห็นอะไรอีกบ้าง?
  •  คุณแม่  ได้หยุดเว้นจังหวะให้เด็กได้ตอบสนองหรือแสดงการโต้ตอบหรือไม่?
  • คุณแม่แสดงสัญญาณว่าให้ฟังกับเด็กหรือเปล่า?
  • เด็กได้ใช้สัญญาณการฟังเพื่อบอกว่าเธอได้ยินหรือไม่?
  • เด็กให้ความสนใจดีหรือไม่?
  • เด็กเลียนแบบการเคลื่อนไหวนิ้วตามจังหวะที่ถูกต้องหรือไม่?
  • คุณเห็นปฏิกิริยาใดๆ บนใบหน้าของเด็กหรือไม่’ เช่น รอยยิ้ม?
  • เด็กแสดงท่าทางอาการว่าเธอได้ยินเสียงของเล่นหรือไม่? อย่างไร?
  • เด็กเปล่งเสียงออกมาหรือไม่?

วีดิโอ 1. "แมงมุมลายตัวนั้น"

วีดิโอ 2. "เพลงยามเช้า"

วีดิโอ 3. "ลูกลิงห้าตัว"

ตอนนี้ถึงตาคุณแล้ว ลองทำกิจกรรมสั้นๆ กับลูกของคุณ ร้องเพลงหรือให้จังหวะเดิมซ้ำๆ และคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงใน’ปฏิกิริยาและการตอบสนองของลูกน้อยเป็นระยะๆ จากนั้นจดรายการการตอบสนองต่างๆ ของลูกคุณเอาไว้ เสียงเพลงหรือจังหวะที่มีการเคลื่อนไหวนิ้วประกอบดังตัวอย่างข้างต้นจะช่วย เรียกความสนใจของเด็กที่เริ่มหัดฟังได้’ ถ้าคุณมีกล้องวีดิโออยู่ที่บ้าน จะลองอัดเทปตอนทำกิจกรรมไว้ก็ได้ แล้วคุณอาจจะได้เห็นในสิ่งที่คุณไม่ทันสังเกตระหว่างทำกิจกรรม แถมสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ จะได้มีโอกาสดูด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น