วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมการเข้าจังหวะ

กิจกรรมเข้าจังหวะ :
 
การ ใช้กิจกรรมเข้าจังหวะในการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้รับการอบรม สัมมนา ให้ความสนุกสนานรื่นเริง เป็นการจัดขึ้นในรูปแบบรวมกลุ่ม ช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์ กิจกรรมเข้าจังหวะเป็นกิจกรรมที่นิยมใช้ในช่วงเวลาของการพบปะสังสรรค์ กิจกรรมนี้จะใช้จังหวะของเพลง หรือดนตรีประกอบการเคลื่อนไหว ซึ่งช่วยสร้างทักษะพื้นฐานของการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างดี ระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อ ประกอบด้วย

 
1.  
การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ (Non - Locomotor Movements) หมายถึง การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยไม่เคลื่อนที่ไปจากจุดนั้นเลย เช่น การก้มต้น การเหวี่ยงแขนขา การเหยียดตัว การบิดตัว การดึง การสั่น การโยกตัว การเอียงตัว เป็นต้น
2.  
การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ (Locomotor Movements) หมายถึง การเคลื่อนไหวจากที่หนึ่ง หรือจุดหนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง หรืออีกจุดหนึ่ง เช่นการเต้น การวิ่ง การกระโดด เขย่ง การกระโจน การกระโดดสลับเท้า การสไลด์ การควบม้า การเดินสองก้าว การเดินโพลก้า การเดินชาติช เป็นต้น
 
เทคนิคการสอนกิจกรรมเข้าจังหวะ
 
1.
สอนรูปแบบการจับคู่และทิศทางการเคลื่อนไหว
2.
การเลือกสอนเพลงที่ง่าย สั้น และเข้าใจง่าย
3.
สอนร้องเพลง หรือฟังเพลง และปรบมือเข้าจังหวะเพลงก่อน
4.
สาธิตท่าทางประกอบเพลง
5.
ดำเนินการสอนแบบเป็นขั้น เป็นตอน ตั้งแต่ต้นจนจบเพลง
6.
ให้สมาชิกฝึกปฏิบัติและสังเกตการเรียนการสอน ดูความสนใจของสมาชิก
7.
อธิบายประโยชน์และการนำไปใช้ในขบวนการกลุ่ม
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น